ทำไมปลาจึงมีเกล็ด
 
            ในทะเลนั้นมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่มากมาย สัตว์น้ำเหล่านั้นจะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นๆได้ ในการปรับตัวเพื่อรักษาสมดุลนั้นก็มีวิธีแตกต่างกันไป แล้วแต่สภาพพื้นที่และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งการสร้างเกล็ดของปลาก็เป็นกรณีหนึ่ง เกล็ดของปลามีหน้าที่สำคัญ คือ การป้องกันการซึมผ่านของแร่ธาตุที่มีความเข้มข้นมากในน้ำทะเลเข้าสู่ร่างกายเกินไปจนก่อให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะภายใน การซึมผ่านของแร่ธาตุนี้เราเรียกว่า “ การแพร่ ” ซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้
             การแพร่ ( Diffusion) คือ การที่ของโมเลกุลของสารเคลอื่นที่จากจุดที่มีความเข้มข้นสูงกว่า ไปยังที่ที่มีความเข้มข้นต่ำกว่า การเคลื่อนที่นี้เป็นไปในลักษณะทุกทาง โดยไม่มีทิศทางที่แน่นอน ผลจากการเคลื่อนที่อันนี้ทำให้ความเข้มข้นของโมเลกุลของสารในภาชนะที่มีเนื้อที่นั้นมีความเข้มข้นเท่ากันหมด ตัวอย่างเช่น การแพร่ของเกลือในน้ำ การแพร่ของน้ำหอมในอากาศ ทั้งนี้การแพร่จะเป็นไปได้มากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับปัจจัยของสิ่งสิ่งแวดล้อมด้วย คือ
1. อุณหภูมิ ในขณะที่อุณหภูมิ โมเลกุลเหล่านี้เคลื่อนที่ได้เร็วกว่า เมื่ออุณหภูมิต่ำ การแพร่จึงเกิดขึ้นได้เร็ว
2. ความแตกต่างของความเข้มข้น ถ้าหากมีความเข้มข้นของสารสองบริเวณแตกต่างกันมากจะแพร่ได้เร็ว
3. ขนาดของโมเลกุล สารที่มีโมเลกุลเล็กจะเกิดการแพร่ได้เร็วกว่าสารที่มีโมเลกุลใหญ่ เนื่องสารโมเลกุลที่มีขนาดเล็กจะสามารแทรกไประหว่างโมเลกุลของตัวกลางได้ดีกวาสารโมเลกุลใหญ่
4. ความเข้มข้นของสารตัวกลาง สารตัวกลางที่มีความเข้มข้นสูงจะมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของตัวกลางมาก ทำให้โมเลกุลของสารเคลื่อนที่ไปได้อยาก แต่หากสารตัวกลางเข้มข้นน้อยจะทำให้การแพร่เป็นไปได้เร็วขึ้น

เกล็ดของปลาจะหนาและแข็งเพื่อป้องกันการซึมผ่านของแร่ธาตุ

ที่มา : หนังสือเรียนวิชาชีววีทยา เล่ม 1 ว442 หนังสือชีววิทยา ม.4 เล่ม 1 และ เล่ม 2 โดย อ. ประสงค์ หลำสะอาด

โดย : นาย สฤษฎ์ เชี่ยวชาญกิจการ, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 8 กันยายน 2545