มลพิษทางเสียง

มลพิษทางเสียง ( noise pollution )

มลพิษทางเสียง หมายถึง อันตรายที่เกิดจากการได้รับฟังเสียงดังเป็นเวลานาน ๆซึ่งอาจส่งผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ

แหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงมีมากมาย สามารถแบ่งได้ดังนี้

1. เสียงจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ซึ่งควรมีความเงียบสงบแต่ในบางครั้งอาจมีเสียงรบกวนจากสัตว์เลี้ยง โทรทัศน์ วิทยุ และอื่น ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญให้กับเพื่อนบ้านใกล้เคียง

2. เสียงจากโรงงานอุตสาหกรรม เกิดจากเสียงเครื่องจักรขณะกำลังทำงาน

3. เสียงจากยานพาหนะ ในบางครั้งเกิดจากการดัดแปลงท่อไอเสียเพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจ

ตารางแสดงระดับความเข้มของเสียงประเภทต่าง ๆ

ประเภทของเสียง

ความเข้มเสียง ( dB ) *

ใบไม้ไหว

เสียงกระซิบ ( ระยะห่าง 2 เมตร )

เสียงพิมพ์ดีด

เสียงสนทนาทั่ว

เสียงจราจรตามปกติ

เครื่องเจาะถนน

ฟ้าร้อง

ฟ้าผ่า

เสียงเครื่องไอพ่น

10

30

50

60

80

90

100

120

140

       * ระดับความเข้มเสียง คือ ความเปรียบเทียบระหว่างความเข้มของเสียงทั่วไปกับความเข้มเสียงที่เบาที่สุดซึ่งหูมนุษย์ปกติสามรถได้ยิน มีหน่วยเป็น เดซิเบล ( dB )

คณะกรรมการสิ่งแวดแห่งชาติได้กำหนดค่าระดับเสียงในย่านที่อยู่อาศัยในเวลากลางวันไม่เกิน 60 เดซิเบล และในเวลากลางคืนไม่เกิน 55 เดซิเบล สำหรับชุมชนที่อยู่ติดถนนทั่วไปนั้นไม่เกิน 85 เดซิเบล

        และจากการสำรวจชุมชนที่อยู่ติดถนนนั้นมีระดับความเข้มเสียงเกินกว่ามาตรฐานหรือไม่ โดยทำการสำรวจการจราจรบริเวณหน้าโรงเรียนพนัสพิทยาคาร อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 โดยเฉลี่ยผลการสำรวจได้ดังนี้

วัน

ช่วงเวลา

ระดับความเข้มเสียงที่วัดได้โดยเฉลี่ย ( dB )

จันทร์

7.30 - 7.35

12.30 - 12.35

17.30 - 17.35

22.30 - 22.35

87

85

80

76

อังคาร

7.30 - 7.35

12.30 - 12.35

17.30 - 17.35

22.30 - 22.35

86

85

81

75

พุธ

7.30 - 7.35

12.30 - 12.35

17.30 - 17.35

22.30 - 22.35

88

84

80

76

พฤหัสบดี

7.30 - 7.35

12.30 - 12.35

17.30 - 17.35

22.30 - 22.35

87

85

81

76

ศุกร์

7.30 - 7.35

12.30 - 12.35

17.30 - 17.35

22.30 - 22.35

86

84

79

76

เสาร์

7.30 - 7.35

12.30 - 12.35

17.30 - 17.35

22.30 - 22.35

87

83

80

72

อาทิตย์

7.30 - 7.35

12.30 - 12.35

17.30 - 17.35

22.30 - 22.35

78

75

73

70

          จากตารางสามารถสรุปผลได้ว่า ในชั่วโมงเร่งด่วนซึ่งเป็นช่วงที่มีการจราจรหนาแน่น คือ ช่วงเช้า กลางวัน และช่วงเย็นของวันทำงาน มีระดับความเข้มเสียงที่สูงกว่าที่มาตราฐานกำหนด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อผู้ที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นได้

           เนื่องจากมลพิษทางเสียงสามารถเกิดขึ้นได้ทุกแห่ง วิธีป้องกันหรือแก้ปัญหาที่ถูกต้อง คือ

    1. ออกกฎหมายควบคุมแหล่งกำเนิดเสียงไม่ให้เกินขีดจำกัดที่กำหนดไว้
    2. ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องจักร เครื่องยนต์ต่าง ๆ อย่างจริงจัง
    3. ให้ความรู้แก่ประชาชนถึงภัยที่รับจากการฟังเสียงดังเป็นเวลานาน ๆ
    4. ใช้เครื่องป้องกันเสียงสำหรับผู้ที่ต้องทำงานกับเครื่องจักรที่มีเสียงดัง
    5. ปราบปรามผู้ที่แต่งหรือดัดแปลงท่อไอเสียที่ทำให้เกิดเสียงดัง

ที่มา : หนังสือวิทยาศาสตร์ ม. 3 ว 306 , หนังสือชีววิทยา ม. 4 เล่ม 1 ว 441 , www.pcd.go.th

โดย : นางสาว ชัชฎาพรรณ โพธิ์ทอง, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 1 กันยายน 2545