สัตว์

ความรู้ที่น่าสนใจในเรื่องสัตว์

สัตว์แต่ละชนิดที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ มีลักษณะโครงสร้างภายนอกและภายในแตกต่างกันทำให้เราสามารถจำแนกประเภทของสัตว์ออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ

สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตเพราะเคลื่อนที่ได้ กินอาหารได้ หายใจได้ ขัยถ่ายได้ และสามารถขยายพันธุ์ออกลูกออกหลานได้ ทำให้สัตว์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในโลกของเรามีสัตว์จำนวนมากมายหลายชนิด สัตว์แต่ละชนิดมีธรรมชาติและมีการดำรงชีวิตแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างภายนอกและลักษณะโครงสร้างภายในของสัตว์นั้น


ประเภทของสัตว์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง

เป็นสัตว์ที่มีกระดูกต่อกันเป็นข้อ ๆ กระดูกเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นแกนของร่างกาย ตัวอย่างสัตว์มีกระดุกสันหลัง

ปลา เป็นสัตว์น้ำ อาศัยอยู่ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลามีรูปร่างเรียวยาว เพื่อให้สะดวกในการเคลื่อนที่ในน้ำ ลำตัวของปลามีเกล็ดหรือเมือกปกคลุม ปลายหายใจโดยใช้เหงือกปลาส่วนใหญ่ออกลูกเป็นไข่ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาทู เป็นต้น แต่ปลาบางชนิดออกลูกเป็นตัวเช่น ปลาหางนกยูง ปลาเข็ม ปลาสอด ปลาฉลาม (บางพันธุ์) ครีบหางและครีบข้างลำตัวปลาช่วยให้ปลาเคลื่อนที่ไปในแนวต่าง ๆ ได้

กบ อึ่งอ่า คางคก เขียด เป็นสัตว์ ครึ่งน้ำครึ่งบก ตอนเป็นไข่อยู่ในน้ำต่อมาไข่เจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนที่เรียกว่า “ลูกอ๊อด” ซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำและหายใจโดยใช้เหงือก ขณะลูกอ๊อดอยู่ในน้ำเคลื่อนที่โดยใช้หางว่ายน้ำ เมื่อลูกอ๊อดเจริญเติบโตขึ้น ส่วนหางจะหายไปและมีขา 4 ขา เกิดขึ้น รูปร่างเหมือนตัวแม่โดยทั่วไป แต่มีขนาดเล็กและขึ้นมาอาศัยบนบก สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกเมื่อเติบโตเต็มที่แล้วจะหายใจโดยใช้ปอดและผิวหนัง

จระเข้ เต่า งู จิ้งจก เป็นสัตว์เลื้อยคลานอาศัยอยู่บนบก มีหนังปกคลุมลำตัวเป็นเกล็ดแข็งและแห้ง หายใจโดยใช้ปอด สัตว์เหล่านี้ออกลูกเป็นไข่ ซึงมีเปลือกแข็ง หรือเปลือกเหนียวนิ่มหุ้ม

นก เป็ด ไก่ ห่าน เป็นสัตว์ปีก อาศัยอยู่บนบก มีขา 2 ขา และมีปีก 2 ปีก เพื่อให้บิน ลำตัวปกคลุมด้วยขนที่มีก้านหายใจโดยใช้ปอด สัตว์เหล่านี้ออกลูกเป็นไข่ ที่มีเปลือกแข็งหุ้ม

มนุษย์ ลิง สุนัข ค้างคาว วาฬ โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพราะสัตว์ตัวเมียจะมีต่อมสร้างน้ำนม สำหรับเลี้ยงลูก ลำตัวปกคลุมด้วยขนที่เป็นเส้น หายใจโดยใช้ปอด สัตว์เหล่านี้ออกลูกเป็นตัว ลักษณะโครงกระดูกของลิง คล้ายโครงกระดุกของมนุษย์

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกเป็นแกนของร่างกาย สัตว์บางชนิดจึงสร้างเปลือกแข็งขึ้นมาห่อหุ้มร่างกาย เพื่อป้องกันอันตราย

ตัวอย่างสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังคือ

พยาธิ เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวยาวรูปร่าง กลม หรือ แบน พยาธิส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ต่าง ๆ และดูดเลือดจากสัตว์เหล่านั้นเป็นอาหาร

กุ้ง กั้ง ปู เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีสารเป็นเปลือกแข็งหุ้มลำตัว ลำตัวแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนหัว และส่วนท้อง ที่ส่วนหัวมีตา 1 คู่ มีขนาดมีส่วนท้อง มีขาที่มีลักษณะต่อกันเป็นข้อสำหรับใชดิน ว่ายน้ำ หรือช่วยในการกินอาหาร

แมลง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีสารเป็นเปลือกแข็งหุ้มลำตัว เช่นเดียวกับพวกกุ้ง กั้ง ปู แต่ลำตัวของแมลงแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ที่ส่วนหัวมีตา 1 คู่ มีหนวดที่ส่วนอกมีขาต่อกันเป็นข้อ ๆ จำนวน 3 คู่ (6 ขา) สำหรับ เดิน วิ่ง กระโดด หรือจับอาหารกิน

หอย จัดเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม มีสารจำพวกหินปูน เป็นเปลือกแข็งหุ้มลำตัว หอยส่วนใหญ่อาศัย อยู่ในน้ำ หอยที่ อาศัยอยู่ในน้ำจืด เช่นหอยกาบ หอยโข่ง หอยขม หอยที่อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม เช่นหอยแครง หอยแมลงภู่ หอยกะพง เป็นต้นส่วนหอยบางชนิดอาศัยอยู่บนบก เช่น หอยทาก

ปลาหมึกทะเล เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีลำตัว อ่อนนุ่ม รูปร่างเรียวยาว ส่วนท้ายของลำตัวมีหนวดสำหรับว่ายน้ำ ในลำตัวของหมึกทะเล อาจมีแผ่นแข็ง ๆ เรียกว่าลิ้นทะเล ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกายหมึก

ลิ้นทะเลคือ กระดองหมึกชนิดหนึ่ง สำหรับใช้ทำยาขัดสิ่งของ

สัตว์ในโลกแบ่งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สัตวืเหล่านี้อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยแตกต่างกันสัตว์บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำ สัตว์บางชนิดอาศัยอยู่บนบก สัตว์บางชนิดอาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ สัตว์เหล่านี้เมื่อเกิดและมีชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำอย่างอิสระตามธรรมชาติ เราจัดเป็น สัตว์ป่า ส่วนสัตว์บ้านหรือสัตว์ป่าที่คนนำมาเลี้ยงจนเชื่อง เราเรียกว่า สัตว์เลี้ยง

สัตว์เลี้ยงมีหลายชนิด สัตว์แต่ละชนิดมีประโยชน์ต่อมนุษย์หลายด้านแตกต่างกันไป เราสามารถจำแนกสัตว์ต่าง ๆ โดยใช้ประโยชน์ของสัตว์เป็นเกณฑ์ คือ

1.สัตว์เลี้ยงสำหรับใช้แรงงาน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย

2.สัตว์เลี้ยงที่ใช้เนื้อเป็นอาหาร เช่น หมู เป็ด ไก่ กุ้ง ปลา

ม้าเป็นสัตว์ที่แข็งแรง สะอาด และสามารถเจาะเลือดได้ที่ละมาก ๆ ดังนั้นเราจึงใช้ร่างกายของม้าสร้างเซรุ่มแก้พิษงูได้

สัตว์เลี้ยงเพื่อความสวยงามและความเพลิดเพลินเช่น นก ปลา สุนัข กระต่าย

สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการทดลองวิทยาศาสตร์ เช่น หนู กระต่าย งู ม้า

การปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยง

1.จัดที่อยู่ให้เหมาะสมกับสภาพของสัตว์ และคอยดูแลและทำความสะอาดที่อยู่ของสัตว์อย่างสม่ำเสมอ

2.ให้น้ำสะอาดและอาหารที่เหมาะสมกับธรรมชาติของสัตว์

3.เมื่อสัตว์มีอาการผิดปกติ เช่น ซึม เบื่ออาหาร ส่งเสียงร้องผิดปกติต้องรีบดูแล และให้การรักษาพยาบาลทันที ถ้าสัตว์มีอาการผิดปกติมาก ต้องรีบให้สัตวแพทย์ดูแลรักษา

สัตว์เลี้ยงด้วยความรักและเมตตา

ประโยชน์ของสัตว์

สัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่ามีประโยชน์ต่อมนุษย์คือ

1.ด้านการเกษตร

ใช้แรงงานจากสัตว์ในการทำการเกษตร เช่น วัว ควายใช้ไถนา ช้างใช้ลากซุง ลิงเก็บมะพร้าว

ใช้เป็นพาหนะ โดยเฉพาะในชนบทที่ห่างไกลจากเส้นทางคมนาคมจะใช้สัตว์เป็นพาหนะ เช่น วัว ควาย ใช้เทียมเกวียนบรรทุกของ ช้างม้าใช้ขี่

ช่วยในการผสมเกสรดอกไม้ ทำให้เกิดเป็นผลใช้รับประทานและช่วยแพร่พันธุ์พืช เช่นผีเสื้อ ผึ้ง มิ้ม ต่อ แตน

ใช้ทำปุ๋ย เช่น ปุ๋ยดอกไม้มาจากมูลของสัตว์ซึ่งจัดเป็นปุ๋ยธรรมชาติช่วยบำรุงดิน ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงาม

2.ด้านการแพทย์

ใช้ศึกษาโครงสร้างระบบการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายสิ่งมีชีวิต เช่น ปลา กบ หนู กระต่าย ลิง

ใช้ผลิตวัคซีน เซรุ่ม เพื่อสร้างภูมิต้านทานโรค เช่นม้า งู

ใช้เป็นสัตว์ทดลองเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เมื่อได้รับวัคซีน เซรุ่ม หรือสารอื่น ๆ ที่ผลิตขึ้นมาใหม่ เช่น หนู กระต่าย ลิง

3.ด้านการบริโภคและอุปโภค

ใช้เป็นอาหารเช่น หมู วัว ควาย เป็ด ไก่ ปลา กุ้ง หอย

ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม เช่น หนังของสัตว์บางชนิด เราสามารถนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มหรือ เครื่องใช้ เช่น กระเป๋า เข็มขัด ถุงมือ รองเท้า

ใช้ทำเครื่องใช้ โดยเอาส่วนต่าง ๆ ของสัตว์มาทำ เช่น เขาควาย ใช้ทำด้ามมีด

สัตว์มีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย แต่ขระเดียวกันก็มีสัตว์บางชนิดที่เป็นโทษแก่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ ที่เป็นพาหนะใน การนำโรคติดต่อ เช่น ยุง แมลงวัน หรือสัตว์บางชนิดก็มีพิษที่สามารถทำอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ เช่น งู แมงป่อง ตะขาบ ดังนั้นเราจึงต้องระมัดระวังไม่เข้าใกล้สัตว์มีพิษเหล่านั้น

การคุ้มครองและสงวนรักษาพันธุ์สัตว์

การทำลายสัตว์ก่อให้เกิดผลเสียอย่างมากมาย ปัจจุบันรัฐบาลจึงได้ออกกฎหมาย เมื่อคุ้มครองสัตว์ป่า เรียกว่า พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และมีผลบังคับ ใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535

สัตว์ป่า หมายถึง สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสัตว์บกสัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลงหรือแมง ซึ่งเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ รวมทั้งไข่ของสัตว์ป่า

สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากมีจำนวน 15 ชนิด

1.นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ลำตัวสีดำ มีเหลืองสีน้ำเงินเข้ม สะโพกขาวหางสั้นกลม

2.แรด เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดใหญ่ ตาเล็ก หูตั้ง หนังหนา ประสาทดมกลิ่น และการได้ยินดีมาก

3.กระซู่ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ มีพับหนังข้ามตรงส่วนหลังของไหล่เพียงพับเดียว ผิวหนังไม่มีเม็ดนูน มีขนลำตัว ตัวผู้มีเขาขนาดใหญ่

4.กูปรี หรือโคไพร เป็นวัวป่าขนาดใหญ่ ตัวสีดำ ตัวผู้มีเขาขนาดใหญ่ ส่วนปลายเขาบิดชี้ขึ้นข้างบน ปลายแตกเป็นเส้น ๆ มองเห็นเป็นพู่ ส่วนตัวเมียมีเขาเล็กกว่า ปลายไม่แตกเป็นพู่

5.ควายป่า ลักษณะเหมือนควายบ้านแต่มีขนาดใหญ่ เขายาว โคนเขาหนา วงเขากว้าง เท้าทั้งสี่มีมีขาวคล้ายใส่ถุงเท้า ใต้คอมีลายขาวเป็นตัววี

6.ละอง หรือ ละมั่ง เป็นกวางขนาดกลาง ตัวสีน้ำตาลอ่อน คอยาวกว่า กวางชนิดอื่น ตัวผู้เขาโค้งปลายชี้มาด้านข้าง ตัวเมียไม่มีเขา

7.สมันหรือเนื้อสมัน เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดหนึ่งมีขนาดเล็กกว่ากวางป่า ขนสีน้ำตาล หางสั้น เขาแตกแขนงมากกว่ากวางชนิดอื่น

8.เลียงผา หรือเยือง หรือโครำ เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้าย แพะ ขนสีดำ ขายาวและแข็งแรง มีต่อมน้ำมันตรงส่วนหน้าของตาทั้ง 2 ข้าง มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย

9. กวางผา เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดหนึ่ง สีน้ำตาลแกมเทาแกมแดง

10. นกแต้วแล้วทองดำ เป็นนกที่มีลักษณะลำตัวอ้วนป้อม คอสั้น มีขาและจะงอยปากที่แข็งแรง บินได้เก่ง แต่ไม่ชอบบิน ตัวผู้มีหัวสีดำ และท้ายทอยสีน้ำเงินแกมฟ้า ตัวเมียมีหัวสีน้ำตาลแกมเหลือง

11.นกกระเรียน เป็นนกขนาดใหญ่มีคอยาวปีกกว้าง หางกว้างแต่สั้น

12.แมวลายหินอ่อน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตัวโตกว่าแมวบ้านลายคล้ายเสือลายเมฆ แต่เป็นริ้วถี่ที่หางมีลายเป็นจุดดำ ๆ

13.สมเสร็จ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลำตัวตอนกลางสีขาว ส่วนหัวและท้ายสีดำ ขอบหูสีขาว จมูกและริมฝีปากบนยื่นยาวออกมาคล้ายงวงยืดหดเข้าออกได้หางสั้น

14. เก้งหม้อ เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง ขนสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ที่หัวมีขนลักษณะคล้ายจุกสีเหลืองแซมดำ

15.พะยูน หรือหมูน้ำ หรือดุหยง เป็นสัตว์เลี้ยงลุกด้วยนม ลำตัวอ้วนกลม มีขนเฉพาะที่บริเวณใกล้ปาก มีรยางค์หน้า 1 คู่ เป็นแผ่นคล้ายใบพาย หางแผ่เป็นแฉกกกว้างแบนลง

สัตว์ป่าสงวน 15 ชนิด ของไทย บางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว เช่นสมัน บางชนิดก็มีอยู่น้อยมาก ดังนั้นพวกเราทุกคนต้องช่วยกันสงวนรักษาไว้เพื่อให้สัตว์เหล่านี้มีชีวิตอยู่รอดและแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนมากขึ้น

สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าตามที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

จากพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ห้ามมิให้ผู้ใดล่าและมีไว้ในครอบครองทั้งสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง ยกเว้น

1.เพื่อการสำรวจ

2.เพื่อการศึกษา และการวิจัยทางวิชาการ

3.เพื่อการเพาะพันธุ์

4.เพื่อการสงวนสาธารณะของทางราชการ และต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี กรมป่าไม้ หรือถ้าเกี่ยวกับสัตว์น้ำต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง นอกจากนี้ ยังห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้รับอนุญาตในการจัดตั้งและดำเนินการสวนสัตว์สาธารณะแต่ต้องได้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์จากอธิบดีกรมป่าไม้

เกร็ดน่ารู้ จดจำ

สัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหารจะมีลำไส้สั้น แต่สัตว์ที่กินหญ้าเป็นอาหารจะมีลำไส้ยาว

ผู้ทดลองผสมเทียมได้สำเร็จเป็นคนแรก คือ สปอลลาชานี นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี

โดยเขาได้ผสมเทียมสุนัขจนสำเร็จ

สัตว์ที่สายตาสั้นแต่ดุร้ายที่สุดในโลก คือแรด

ผู้ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการว่าด้วยการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ คือ ชาร์ล ดาร์วิน นักชีววิทยาชาวอังกฤษ

สัตว์บกที่วิ่งเร็วที่สุดในโลกคือ เสือชีต้า

นกที่บินได้เร็วที่สุดในโลกคือ นกอินทรี


โดย : นาย วรพงษ์ โพธิพิทักษ์, ร.ร.พิทักษ์ศิษย์วิทยา, วันที่ 28 สิงหาคม 2545