ผีเสื้อ

ผีเสื้อแพนซี่มยุรา ของ เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์

ผีเสื้อ (Butterfly) เป็นสัตว์จำพวกแมลง จัดอยู่ใน

ไฟลั่ม อาร์โทรโปดา ( Phylum Arthropoda )

อันดับ เลพิดอปเทอร์ร่า ( Order Lepidoptera )

ชั้น อินเซ็คต้า ( Class Insecta )

เป็นแมลงที่สวยงาม มีกำเนิดเมื่อ 300 ล้านปีมาแล้ว ลำตัวแบ่งออกได้ 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง

หัวประกอบด้วยปาก มีลักษณะเป็นท่อเหมือนงวง เอาไว้ดูดน้ำหวาน มีหนวด 1 คู่ มีดวงตาเดี่ยวและตาประกอบอีก 1 คู่

ส่วนอกมีขา 3 คู่ ปีก 2 คู่

ส่วนท้อง แบ่งเป็นปล้องๆ 10 ปล้อง มีอวัยวะในการหายใจ ขับถ่ายและอวัยวะสืบพันธุ์

ผีเสื้อแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ

    1. กลุ่มผีเสื้อกลางวัน ( Butterfly ) มีราว 10 % ของผีเสื้อทั้งหมด พวกนี้จะออกหากินกลางวัน
    2. กลุ่มผีเสื้อกลางคืน ( Moth ) มีมากกว่าผีเสื้อกลางวัน จะออกหากินตอนกลางคืน

วงจรชีวิตของผีเสื้อ

ผีเสื้อจะผสมพันธุ์แล้ววางไข่บนพืชอาหาร คือพืชที่ตัวอ่อนกินเป็นอาหาร จะไม่ไข่ลงบนพืชที่ไม่ใช่อาหารเด็ดขาด จากนั้นจะฟักเป็นตัวหนอนซึ่งเป็นระยะที่ 2 กินใบพืชเป็นอาหาร ระยะนี้จะเป็นศัตรูกับเกษตรกรผู้ปลูกพืชอย่างยิ่ง ต่อมาก็จะกลายเป็นดักแด้ หรือระยะที่ 3 ซึ่งจะพักตัว ไม่เคลื่อนที่ ไม่กินอาหาร จากนั้นจึงลอกคราบเป็นระยะที่ 4 หรือตัวเต็มวัย มีปีกออกบินกินน้ำหวานจากดอกไม้หรือผลไม้


โดย : นาย เหรียญทอง เรืองรอง, ร.ร.วัดหลักสองราษฎร์บำรุง ต.หลักสอง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร, วันที่ 27 สิงหาคม 2545