เซลล์

 


     จุดประสงค์                                                                  

     บอกความแตกต่างระหว่างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้

 

น้ำฝน : นิทรรศการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ สนุก             

และได้ความรู้ดีนะคะ                           

อาธร : ใช่พี่ชอบมากเลย                                                  

น้ำฝน อุ้ย! ไปดูทางโน้นดีกว่า                               

อาธร : ไปซิจ๊ะ  เอ! เขากำลังใช้กล้อง                   

ส่องดูอะไรกันนะ                          

น้ำฝน : นี่ไง  เขาติดป้ายว่าเป็นเซลล์เยื่อหอม        

พี่อาธร ลองดูซิคะ                       

 

 อาธร : (คิด)  นี่ไง เซลล์เยื่อหอม                            

น้ำฝน : เห็นไหมคะพี่                                                   

 

 อาธร: เห็นจ้ะ...น้องดูไหม                                 

น้ำฝน : ดูซิคะ                                                        

 

น้ำฝน : โอ้โฮ! ชัดแจ๋วเลย                          

                           แต่เอ๊ะ!...เซลล์คืออะไรคะพี่                         

 

   อาธร : เอ! ...(คิด)รู้แต่ว่าเซลล์เป็นสิ่งเล็กๆ

                         แต่จะอธิบายให้น้ำฝนเข้าใจได้อย่างไรดีนะ

อาจารย์สุดา : เซลล์ คือ หน่วยที่เล็กที่สุด

         ของสิ่งมีชีวิตไงจ๊ะ

 

   น้ำฝน : อุ้ย! อาจารย์สุดา สวัสดีค่ะ            

  อาธร : สวัสดีครับ...อาจารย์มาทันเวลา  

พอดีเลยครับ          

อาจารย์สุดา :   สวัสดีจ้ะ...น้ำฝน อาธร

                   ครูมายืนข้างหลังเธอตั้งนานแล้วจ้ะ

น้ำฝน : อาจารย์คะ  แสดงว่าไม่ว่าจะเป็น

                 พืชหรือสัตว์ประกอบด้วยหน่วยที่เล็ก

      ที่สุดซึ่งก็คือ เซลล์ ใช่ไหมคะ

อาจารย์สุดา :   ใช่แล้วจ๊ะ                       

  อาธร : ร่างกายคนเราก็ประกอบด้วยเซลล์

  จำนวนมากมายใช่ไหมครับ

อาจารย์สุดา :   ถูกต้องแล้วจ๊ะ                 

น้ำฝน :  นี่หรือคะรูปเซลล์พืช กับเซลล์สัตว์

       อาจารย์สุดา :   เซลล์พืชประกอบด้วยส่วนสำคัญ

                           คือผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาสซึม

      นิวเคลียส และคลอโรพลาสต์

 

อาจารย์สุดา :   เซลล์สัตว์ มีเยื่อหุ้มเซลล์

ไซโทพลาสซึม และนิวเคลียส

                 อาธร :   อ๋อ! เซลล์พืชมีผนังเซลล์ และคลอโรพลาสต์

แต่เซลล์สัตว์ไม่มีใช่ไหมครับ

          อาจารย์สุดา :   ใช่ค่ะ  เก่งมาก...คราวนี้อยากทราบ

อะไรกันอีกหรือเปล่าจ๊ะ       

  น้ำฝน :   เซลล์ในแต่ละส่วนของร่างกายสัตว์

                     คงมีรูปร่างลักษณะเหมือนกันใช่ไหมคะ

อาจารย์สุดา :   ไม่ใช่ค่ะ...เซลล์ไม่ว่าจะเป็น

                    เซลล์พืชหรือเซลล์สัตว์จะมีขนาดและ

              รูปร่างแตกต่างกันไปตามชนิดและ

หน้าที่ของเซลล์               

 

       อาจารย์สุดา :   เช่น เซลล์ประสาท และเซลล์

              กล้ามเนื้อมีลักษณะเป็นเส้นยาว

 

 

        อาจารย์สุดา :   ส่วนเซลล์เม็ดเลือดแดงของกบ

                      มีลักษณะเป็นรูปไข่มีนิวเคลียสใหญ่อยู่

                      ตรงกลาง   แต่เซลล์เม็ดเลือดแดงของ

                            สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะมีลักษณะกลม       

และไม่มีนิวเคลียส         

 

     น้ำฝน : อาจารย์คะ เซลล์มีการขยายขนาดได้

หรือเปล่าคะ                     

        อาจารย์สุดา :  ได้ซิจ๊ะ  มีทั้งการขยายขนาดและ

เพิ่มจำนวนมากขึ้นด้วย  

     อาธร :   โอโฮ!...ถ้าเซลล์มีการขยายขนาดและ

                เพิ่มจำนวนก็จะทำให้สัตว์มีร่างกาย

โตขึ้นด้วยซิครับ             

 

              อาจารย์สุดา :  ใช่จ้ะ...เขาเรียกว่ามีการเจริญเติบโต

           น้ำฝน :  ก็แสดงว่าในการเจริญเติบโตของสัตว์ต้อง

                          มีการขยายขนาดและเพิ่มจำนวนของเซลล์   

             อาจารย์สุดา :   อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะ

       ของร่างกายที่ซับซ้อนได้ด้วยจ้ะ

 

           อาธร :   ขอบคุณอาจารย์มากเลยครับที่ให้ความรู้

   เรื่องเซลล์แก่ผมและน้ำฝน

      น้ำฝน :   ขอบคุณค่ะ                                                  

     อาจารย์สุดา :  ไม่เป็นไรจ้ะ                                   

 

น้ำฝน :    พี่คะ...เดี๋ยวเราไปดูที่อื่นต่อนะคะ

     อาธร :   ไปซิจ๊ะยังดูไมทั่วงานเลย                 

             อาจารย์สุดา :  ดีจ้ะ...พยายามหาความรู้ใส่ตัวมากๆ

   จะได้เป็นคนเก่ง                    

 

      น้ำฝน :   กลับไปบ้าน น้องจะนำเรื่องเซลล์ไปคุย

     อวดคุณพ่อคุณแม่ด้วยหล่ะพี่ 

อาธร :  เชิญเลยจ้ะ  แม่น้องสาวคนเก่ง       

 

       น้ำฝน :  เป็นไงเจ้าปุย...คิดถึงฉันหรือเปล่าจ๊ะหนู  

อาธร :  เจ้าตัวนี้มันช่างประจบเสียจริง          

 

 

[ถัดไป>>] 

โดย : นาง บุญเรือน ชุณหะเพศย์, ร.ร.สายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์, วันที่ 12 สิงหาคม 2545