การระบุความเข้มข้นของสารละลาย

คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ

                                       การระบุความเข้มข้นของสารละลาย
1.ระบุเป็นร้อยละหรือเปอร์เซนต์ ดังนี้
    1.1ระบุเป็นร้อยละโดยมวล/มวล (wt/wt) เป็นการระบุให้ทราบว่าในสารละลาย 100 หน่วยมวล มีตัวถูกละลายอยู่กี่หน่วยมวลเดียวกัน
               

             ตัวถูกละลาย A   10 g               ตัวทำละลาย      90 g
              สารละลาย A   100 g               สารละลาย A เข้มข้น 10% wt/wt
   1.2ระบุเป็นร้อยละโดยปริมาตร (V/V) เป็นการระบุให้ทราบว่าในสารละลาย 100 หน่วยปริมาตร มีตัวถูกละลายอยู่กี่หน่วยปริมาตรเดียวกัน 

                 

      ตัวถูกละลาย B  10  cm3        ตัวทำละลาย 90 cm3
      สารละลาย B 100 cm3         สารละลาย B เข้มข้น 10% V/V
   1.3ระบุเป็นร้อยละโดยมวล/ปริมาตร (Wt/V) เป็นการระบุให้ทราบว่าในสารละลาย 100 หน่วยปริมาตร มีตัวถูกละลายอยู่กี่หน่วยมวล

        ตัวถูกละลาย C 10 g                  ตัวทำละลาย   ? cm3        
      สารละลาย C 100 cm3            สารละลาย C เข้มข้น 10% Wt/V
2.ระบุเป็น molality หรือ molal (m) เป็นการระบุให้ทราบว่ามีตัวถูกละลายอยู่กี่โมล (mol) ในตัวทำละลาย 1,000 g

     ตัวถูกละลาย D 10 mol   ตัวทำละลาย 1000 g
สารละลาย D เข้มข้น 10 molal    

ปริมาตรสารละลาย    อาจมากหรือน้อย     กว่า 1000 cm3 ขึ้นกับความหนาแน่นของตัวทำละลาย    

3.ระบุเป็น molarity (M)  หรือ mol/l  หรือ mol/dm3 เป็นการระบุว่ามีตัวทำละลายอยู่กี่โมลในสารละลาย 1 ลิตร หรือ 1,000 cm3 หรือ 1 dm3 หรือ 1,000 ml    หรือ 1,000 cc

             

ตัวถูกละลาย E  10 mol     ตัวทำละลาย ? dm3 ปริมาตรสารละลาย   ? dm3               สารละลาย E เข้มข้น 10 mol/ dm3           
4.ระบุเป็น formality  (F) เป็นการระบุจำนวนกรัมที่ได้จากน้ำหนักสูตรของตัวถูกละลายในสารละลาย 1 ลิตร หรือ 1 dm3 เช่น MgSO4เข้มข้น 1 F หมายความว่าสารละลาย มี MgSO4ละลายอยู่ 1 mol(24 + 32 + 64)   = 120 g
5.นอร์มาลิตี (normality) (N) คือจำนวนสมมูล (equivalent) ของตัวถูกละลายในสารละลาย 1 ลิตร
จำนวนสมมูลของสารคือน้ำหนักเป็นกรัมของสารหารด้วยน้ำหนักสมมูลของสารนั้น
สำหรับกรด-เบส น้ำหนักสมมูลของกรด คือน้ำหนักโมเลกุลของกรดหารด้วยจำนวนไฮโดรเจนไอออนของกรดนั้น
ในทำนองเดียวกัน น้ำหนักสมมูลของเบส คือน้ำหนักโมเลกุลของเบสหารด้วยจำนวนไฮดรอกไซด์ไอออนของเบสนั้น
6.ระบุเป็น past per millions(p.p.m.) หรือ past per billions(p.p.b.) เป็นการระบุหน่วยความเข้มข้นที่ใช้กับสารละลายที่เจือจางมากๆ ซึ่งสารละลายที่เจือจางมากๆจะมีปริมาณตัวถูกละลายอยู่น้อยมาก หรืออาจใช้แสดงสารเจือปนที่มีอยู่ในสารเคมีที่บริสุทธิ์ต่างๆ
 1 p.p.m.  คือ 1 ส่วนของตัวถูกละลายต่อ 1 ล้านส่วนของตัวทำละลาย
   คือ 1 ส่วนในล้านส่วน             คือ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร
 1 p.p.b.   คือ 1 ส่วนของตัวถูกละลายต่อ 1 พันล้านส่วนของตัวถูกละลาย   คือ 1 ส่วนในพันล้านส่วน
6.ระบุเป็นเศษส่วนโมล (mole fraction) ใช้อักษร X เป็นหน่วยความเข้มข้นที่บ่งบอกถึงจำนวนเศษส่วน (fraction) ของส่วนประกอบต่างๆ ที่มีอยู่ในสารละลาย
 mole fraction (X) =   จำนวนโมลของสารนั้น หารด้วย    จำนวนโมลทั้งหมดในสารละลาย
7.เศษส่วนโดยน้ำหนัก (weight fraction) เป็นการระบุน้ำหนักของตัวถูกละลายเป็นเศษส่วนของน้ำหนักของสารละลาย ในบางกรณีอาจระบุความเข้มข้นเป็นร้อยละโดยน้ำหนัก (percent by weight) ซึ่งเท่ากับเศษส่วนโดยน้ำหนัก x 100 เช่นสารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วย น้ำ 25.0 กรัม และเอทานอล 75.0 กรัม เศษส่วนโดยน้ำหนักของน้ำและเอทานอลเป็นดังนี้
  WH2O  =   25.0 กรัมของน้ำ หารด้วย(25.0 กรัมของน้ำ +      75.0   กรัม  ของเอทานอล)
                =  0.250

 


คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

โดย : นาย พิบูลย์ สุใจ, โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์, วันที่ 26 กรกฎาคม 2545