ปลาสวยงามของไทย


 

 

 

ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจาย

พบทั่วไปในประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตามธรรมชาติมักจะอยู่ในแหล่งน้ำไหลเช่น ในแม่น้ำ ลำคลองต่างๆ ในประเทศไทยพบตาม แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำทุกภาค

รูปร่างลักษณะ

ปลาตะเพียนทอง มีลำตัวแบนด้านข้างและกว้าง มีสีเงินเหลือบทอง ครีบหลังมีกระโดงสีแดง อมส้ม ปลายครีบมีสีดำขอบขาว ครีบหางมีสีเหลืองขอบสีแดงส้ม ครีบท้องมีสีแดงหรือสีเหลืองส้ม

ชีววิทยา

ปลาตะเพียนทอง เป็นปลาที่แข็งแรงว่ายน้ำว่องไว และตื้นตกใจง่าย เป็นปลาที่โตเร็ว ขนาดใหญ่สุดจะยาวประมาณ 34 เซนติเมตร ชอบอยู่ในน้ำที่ค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย pH ประมาณ 6-6.5 อุณหภูมิของน้ำประมาณ 21-25 องศาเซลเซียส เป็นปลาที่หากินทั้ง 3 ระดับ อาหารของมัน ได้แก่ ลูกปลาขนาดเล็ก และพืชน้ำชนิดต่างๆ

การผสมพันธุ์และวางไข่เหมือนกับปลาตะเพียนขาว เมื่อนำมาเลี้ยงในตู้ควรให้แสงน้อย เพราะมันไม่ชอบแสงสว่างมากพื้นก้นตู้ควรเป็นทราย หรือพื้นที่อ่อนนุ่ม ต้นไม้น้ำที่ปลูกไว้ในตู้ควรเป็นชนิดที่มีความแข็งแรงทนทาน เพราะปลาตะเพียนทองชอบกัดกินใบของพืชน้ำ


ที่มา : นางภาสินี ลังประเสริฐ.เอกสารประกอบการสอนวิชา ช 0143 การเลี้ยงปลาสวยงาม

โดย : นาง ภาสินี ลังประเสริฐ, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 499 ถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง กทม.10250, วันที่ 20 กรกฎาคม 2545