เรือแล่นเข้ารับลมได้อย่างไร

เรือแล่นเข้ารับลมได้อย่างไร

พลังที่ผลักดันให้เรือเข้าสู่กระแสลมนั้น คือ พลังดูดของกระแสลม
ใบเรือจะทำงานคล้ายปีกเครื่องบิน ส่วนโค้งด้านนอกจะปะทะกับกระแสลมทำให้อากาศไหลเวียนไปรอบใบเรือ การปะทะนี้ทำให้เกิดกำลังมหาศาลซึ่งจะดูดใบเรือให้เข้าสู่กระแสลมนั้น หลักการเดียวกันนี้นำมาใช้กับเครื่องบินซึ่งยกเครื่องขึ้นได้เนื่องจากแรงดูดจากด้านบนของปีก
แรงดูดเกิดขึ้นตามกฎการเคลื่อนที่ของอากาศ อากาศที่เคลื่อนที่ไปรอบส่วนโค้งของใบเรือจะอัดตัวเมื่อปะทะใบเรือ ขณะลำอากาศอัดตัว ความเร็วลมก็เพิ่มขึ้น ลมที่ดูดให้ประตูปิดอย่างแรงก็เกิดจากสาเหตุเดียวกันนี้ เมื่อความเร็วลมเพิ่มขึ้นความดันอากาศจะหายไป เพราะอากาศซึ่งเคลื่อนที่เร็วขึ้นทำให้จำนวนโมเลกุลในบริเวณนั้นลดลง
บริเวณความกดดันต่ำทางด้านที่ลมปะทะจะดึงใบเรือเข้ามาหาด้วยกำลังเป็น 2 เท่าของกำลังลมที่ผลักใบเรือทางด้านเหนือลม
ดังนั้นแรงลมก็จะบังคับให้เรือไปทางข้างๆ แต่กระดูกงูเรือ หรือครีบกลางลำของเรือจะต้านการเคลื่อนที่ไปทางด้านข้างนี้เอาไว้ แรงลมส่วนหนึ่งจะเปลี่ยนไปทำให้เรือเคลื่อนไปข้างหน้า และอีกส่วนหนึ่งจะทำให้เรือตะแคงต้านลม เป็นเหตุให้นักแล่นเรือใบต้องต้านแรงนี้ด้วยการโหนตัวถ่วงอยู่ที่กราบเรือด้านตรงข้าม เรือที่แล่นใกล้กระแสลมจึงทะยานเคลื่อนไปทางข้างๆ เรียกว่า แล่นไปตามกระแสลม (leeway) คนถือท้ายเรือต้องแก้ไขให้เรือแล่นไปตามเส้นทางที่ต้องการ
ไม่มีเรือใบลำใดแล่นตรงลิ่วเข้าสู่กระแสลมได้ เรือยอชต์ขนาด 12 ม. จะแล่นทำมุมกับกระแสลมได้เพียง 12 – 15 องศาเท่านั้น ในการแล่นเข้าสู่ทิศทางลม เรือต้องแล่นสลับเป็นฟันปลา หรือเปลี่ยนทิศทางของเรือไปมาเป็นระยะๆ ยิ่งแล่นใกล้ลมเข้าไปเท่าใด ความเร็วของเรือก็ยิ่งลดลง คนถือท้ายเรือจะแก้ไขให้แล่นเร็วขึ้นได้ด้วยการวิ่งสลับฟันปลากว้างๆ เพื่อทำมุมกว้างกับทิศทางลม แต่การแล่นเช่นนี้เป็นการเพิ่มระยะทางการเดินเรือเช่นกัน
จาก Reader Digest “รู้รอบ ตอบได้”




โดย : นาย ชินรัตน์ หงษ์หยก, -, วันที่ 23 พฤศจิกายน 2544