 |
เห็ดที่เราพบเห็นกันโดยทั่วไป ทราบกันหรือไม่ว่า คือราขนาดใหญ่นั่นเอง การเจริญเติบโตก็อาศัยการงอกของสปอร์ จนได้กลุ่มของเส้นใย อัดแน่นจนเป็นก้อนกลมเจริญในแนวตั้งฉากกับพื้นที่งอกออกมาเป็นดอกเห็ด นักจุลชีววิทยาแบ่งกลุ่มเห็ดออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีรูปร่างกลม แบนไม่มีมีส่วนก้าน หรือหมวกเห็ด เรียกว่า กลุ่มแอสโคมัยซีส (Ascomycete) เห็ดกลุ่มนี้ได้แก่ เห็ดหูหนู เห็ดกระบอง เห็ดถ้วย เป็นต้นจากรูป เป็นเห็ดกระบอง (Xyraria sp.) พบที่อุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์
|
ส่วนเห็ดอีกกลุ่มหนึ่ง คือเห็ดที่เราพบเห็นโดยทั่วไป มีส่วนของ ก้าน หมวกเห็ด เราเรียกเห็ดกลุ่มนี้ว่า กลุ่มแบสิดิโอมัยซีส (Basidiomycete) เห็ดในกลุ่มนี้ได้แก่ เห็ดโคน เห็ดฟาง เห็ดระโงก เห็ดนางรม เป็นต้น จากรูปเป็นเห็ดใน จีนัส ไมซีนา(Mycena sp.) ไม่มีชื่อภาษาไทยเรียก พบที่อุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์ เห็ดนี้มีลักษณะหมวกบางในจนมองเห็นร่องของครีบจากด้านบน ก้านเล็กคล้ายลวด สีแดง พบในฤดูฝน |
 |
เรารู้จักเห็ดในแง่ของอาหาร ในป่าโดยเฉพาะป่าเบญจพรรณในฤดูฝน จะพบเห็ดที่กินได้หลายชนิด เช่น เห็ดระโงก เห็ดเผาะหรือบางจังหวัดเรียกว่าเห็ดถอบ เห็ดโคน แต่เห็ดบางชนิดก็มีพิษชาวบ้านมีวิธีสังเกตง่าย คือเห็ดที่มีพิษ มักมีสีสันสดใส มีเกล็ดบนหมวกเห็ด หรือมีวงแหวนรอบก้าน หรือมีส่วนคล้ายร่างแหคลุมดอก
|