กำเนิดฝนเทียม

กำเนิดฝนเทียม

ในปี ค.ศ. 1946 วินเซนต์ เชฟเฟอร์ และเออร์วิง ลองมัวร์ เริ่มงานที่ห้องปฏิบัติการวิจัยของบริษัทเจเนรัล อิเล็กทริก เมืองสกิเนกทาดี รัฐนิวยอร์ก เขาพิสูจน์ได้ว่าเราอาจกระตุ้นเมฆฝนให้ผลิตละอองฝนได้โดยวิธีวิทยาศาสตร์
เมฆเกิดจากอนุภาคน้ำเล็กหลายล้านอนุภาคที่เล็กเกินกว่าที่จะกลั่นตัวเป็นฝนได้ อนุภาคเหล่านี้จะตกโปรยเม็ดลงก็ต่อเมื่อมันใหญ่จนมีขนาดประมาณ ¼ มม. หรือ มากกว่า หยดน้ำขนาดเล็กจะระเหยก่อนที่จะตกถึงดินด้วยซ้ำไป
หยดน้ำขนาดจิ๋วจะใหญ่ขึ้นเมื่อมันเย็นจัดจนกลายเป็นอนุภาคน้ำแข็ง ในเมฆซึ่งมีอนุภาคน้ำแข็ง และหยดน้ำจิ๋วอยู่ อนุภาคน้ำแข็งจะใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่หยดน้ำจิ๋วระเหย และไอระเหยเปลี่ยนเป็นน้ำแข็ง อุณหภูมิของเมฆมักต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง หยดน้ำเล็กๆจึงแข็งตัวง่าย แต่น้ำอาจเย็นกว่าจุดเยือกแข็งได้ถึง 10-20 องศาเซลเซียส (ซูเปอร์คูล)โดยไม่แข็งเลยก็ได้ น้ำในเมฆไม่แข็งตัวก็เพราะมันบริสุทธิ์ปราศจากสิ่งเจือปนซึ่งจะรวมตัวเป็นศูนย์กลางของผลึกน้ำแข็ง ถ้ามีการเติมอนุภาคเล็กๆเข้าไปในหยดน้ำ มันก็จะแข็งตัวอย่างรวดเร็วจนใหญ่พอที่จะร่วงหล่น เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นหยดน้ำแข็งจะละลายกลายเป็นฝนตกสู่พื้นดิน
เชฟเฟอร์ และลองมัวร์พิสูจน์ว่า ถ้าเติมซิลเวอร์ไอโอไดด์ (silver iodide) ซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กให้เมฆที่เย็นเหนือจุดเยือกแข็ง มันจะเร่งให้ผลึกน้ำแข็งใหญ่ขึ้น เขาจะโปรยอนุภาคนี้จากเรือบินจรวด หรือปล่อยที่พื้นดินให้กระแสลมหอบขึ้นไป
ในสหภาพโซเวียต มีการใช้ปืนขนาด 70 มม. ยิงซิลเวอร์ไอโอไดด์เข้าไปให้ระเบิดในเมฆเพื่อกระจายสารเคมีออกไป วิธีนี้จะเพิ่มปริมาณฝนอีกถึง 1 ใน 5 แต่ผู้คนยังสงสัยว่า วิธีนี้คุ้มค่าหรือไม่ เพราะยังไม่สามารถรู้ได้ว่าฝนจะตกมากเท่าไร
จาก Reader Digest “รู้รอบ ตอบได้”



โดย : นาย ชินรัตน์ หงษ์หยก, -, วันที่ 23 พฤศจิกายน 2544