ลมสุริยะ

ปรากฏการณ์ลมสุริยะ แท้จริงเป็นพฤติกรรมทั่วไปของดวงอาทิตย์ และมีผลต่อโลกอยู่บ้าง เช่น ทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือแสงใต้ที่ขั้วโลก หรือรบกวนการทำงานของดาวเทียม ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องอัศจรรย์ที่การเกิดลมสุริยะรุนแรงครั้งต่อไปมาตก




ในช่วงเปลี่ยนสหัสวรรษพอดี แต่ก็ไม่เกี่ยวข้องกับการล่มสลายของอารยธรรม การล่มสลายของโลกแต่อย่างใด แท้ที่จริงกลับเป็นสิ่งที่เราคาดการณ์ได้ และเหตุการณ์นี้ก็จะวนกลับมาเกิดอีกในทุก ๆ ประมาณ 11 ปี


ลมสุริยะนั้นพุ่งออกจากดวงอาทิตย์ในทุก ๆ ทิศทาง ด้วยความเร็วเฉลี่ย 400 กิโลเมตรต่อวินาที แหล่งกำเนิดลมสุริยะก็คือบรรยากาศร้อนชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์เอง อุณหภูมิที่นี่จะสูงมากเสียจนแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ไม่สามารถดึงชั้นบรรยากาศเอาไว้ได้ ถึงแม้เราจะรู้ว่าทำไมจึงมีสิ่งนี้เกิดขึ้น แต่เราก็ไม่เข้าใจในรายละเอียดว่า ก๊าซชั้นโคโรลาถูกเร่งให้มีความเร็วได้อย่างไร และที่จุดไหน
องค์ประกอบของลมสุริยะนั้น 95 เปอร์เซ็นต์เป็นโปรตอน (ไฮโดรเจน) 4 เปอร์เซ็นต์เป็นอนุภาคอัลฟ่า (ฮีเลียม) และอีก 1 เปอร์เซ็นต์เป็นประจุย่อย ๆ ของ คาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน นีออน แมกนีเซียม ซิลิคอน และเหล็ก ความเร็วของลมสุริยะที่วัดในระนาบโคจร มีค่าอยู่ระหว่าง 300 ถึง 600 กิโลเมตรต่อวินาที แต่ในบางโอกาสก็มีความเร็วมากกว่า 1,000 กิโลเมตรต่อวินาที ความหนาแน่นของลมสุริยะมีค่าประมาณ 1-10 อนุภาคต่อเซนติเมตร
ลมสุริยะนั้นพุ่งออกจากดวงอาทิตย์ในทุกทิศทาง แต่ก็ไม่สม่ำเสมอนัก ลมสุริยะมีความผันแปรในเรื่องความเร็ว และเมฆแม่เหล็กที่มันพัดเอาออกมาด้วย ลมสุริยะที่มีความเร็วสูงอาจจะปะทะกับลมสุริยะที่มีความเร็วต่ำ ซึ่งจะเกิดเป็นพื้นที่อันมีปฏิกิริยาต่อกัน (interaction region) และจะพัดออกมา พัดผ่านโลกไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการหมุนของดวงอาทิตย์เอง ลมสุริยะที่ความเร็วแปรปรวนนี้อาจจะปะทะเข้ากับบรรยากาศชั้นแม่เหล็กของโลก และทำให้เกิดพายุขึ้นในบรรยากาศชั้นแมกนีโทสเฟียร์
สนามแม่เหล็กบนท้องฟ้าก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่ผิวโลก โดยทั่วไปก็เป็นระดับเล็ก ๆ แต่จะมีผลมากกับสายไฟฟ้าแรงสูง อันจะทำให้เกิดปัญหากับการไฟฟ้า หรือบริษัทที่ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ หรือพูดว่าอาจมีผลทำให้ไฟฟ้าดับได้ เหตุการณ์ไฟฟ้าดับขนานใหญ่นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปีพ.ศ. 2532 ที่ชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา และในแคว้นควิเบกของประเทศแคนาดา
การแผ่รังสีจากการลุกจ้าของดวงอาทิตย์ยังมีผลต่อบรรดาผู้โดยสารบนเครื่องบินด้วย นั่นคือทำให้ผู้โดยสารรับรังสีในปริมาณที่พอ ๆ กับการไปรับการฉายรังสีเอกซ์หนึ่งครั้ง
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์กำลังหาหนทางเรียนรู้ คาดการณ์ ทำนายพฤติกรรมของดวงอาทิตย์โดยเฉพาะลมสุริยะที่จะมีผลกับโลก และเมื่อเรารู้ว่าอะไรกำลังรอเราอยู่ เราก็คงจะเตรียมตัวรับสถานการณ์ได้ดีและสมบูรณ์พร้อมที่สุดเท่าที่เราจะทำได้




โดย : นาย อรรถพล อ่ำทอง, โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์, วันที่ 23 พฤศจิกายน 2544