การหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ

การหามวลของวัตถุ
มวล (mass) หมายถึง ปริมาณอนุภาคของเนื้อสารที่มีอยู่ในวัตถุนั้น ซึ่งจะมีค่าคงที่เสมอ มวลมีหน่วยเป็น กิโลกรัม (kg)
น้ำหนัก (weigth) หมายถึง แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุ ซึ่งหาได้จากผลคูณระหว่างมวลกับความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง ณ ตำแหน่งของวัตถุ น้ำหนักมีหน่วยเป็น นิวตัน (N)
เครื่องมือที่ใช้ในการหามวลของวัตถุ โดยใช้ เครื่องชั่ง ซึ่งมีหลายชนิด หลายขนาดและความละเอียดต่าง ๆ กัน

วิธีใช้เครื่องชั่ง
1. ต้องทำการชั่งบนพื้นราบ และไม่เกินพิกัดของเครื่องชั่ง
2. เลื่อนตุ้มน้ำหนักทุกอันให้อยู่ที่ขีด 0 แล้วปรับเข็มชี้ให้อยู่ที่ขีดศูนย์ โดยหมุนปุ่มปรับศูนย์
3. วางวัตถุลงในจาน เลื่อนตุ้มน้ำหนักต่าง ๆ ดังนี้
3.1 ถ้าเข็มชี้อยู่เหนือศูนย์ ให้เลื่อนตุ้มน้ำหนักไปทางขวา
3.2 ถ้าเข็มชี้อยู่ใต้ขีดศูนย์ ให้เลื่อนตุ้มน้ำหนักไปทางซ้าย
4. เมื่อเข็มชี้ที่ศูนย์พอดี อ่านค่ามวลจากตำแหน่งของตุ้มน้ำหนักจากตุ้มใหญ่ไปยังตุ้มอันเล็กที่สุด ค่ามวลจากแต่ละคานรวมกัน คือค่ามวลของสิ่งที่ต้องการชั่ง
5. ถ้าใช้ภาชนะรองรับวัตถุที่ต้องการทราบมวล ต้องนำค่ามวลของภาชนะหักออกจากค่าที่ชั่งได้
6. เมื่อเลิกใช้เครื่องชั่ง ต้องเลื่อนตุ้มน้ำหนักมาที่ตำแหน่งศูนย์ ใช้ลูกยางรองรับไม่ให้คานแกว่ง แล้วเก็บเครื่องชั่งให้พ้นห่างไกลจากสารเคมี





การวัดปริมาตรของสาร
ปริมาตร (volume) หมายถึง จำนวนที่บอกขนาดของรูป 3 มิติ ในทางคณิตศาสตร์โดยทั่วไปมักจะกล่าวถึงปริมาตรของของแข็งที่มีรูปทรงเรขาคณิต ส่วนปริมาตรของของเหลวจะวัดต้องอาศัยภาชนะในการตวง ปริมาตรมีหน่วยเป็น ลูกบาศก์เมตร (m3) เช่น ช้อนตักสาร หลอดหยด หลอดฉีดยา กระบอกตวง บิกเกอร์

วิธีใช้อุปกรณ์วัดปริมาตร
1. ช้อนตักสาร ใช้ตักสารที่เป็นของแข็ง
- ห้ามตักสารที่ยังร้อน
- ไม่กดสารในช้อน และปาดปากข้อนเพียงครั้งเดียว
- ตักสารแล้วทำความสะอาด ทำให้แห้งก่อนตักสารอื่น
2. หลอดหยด ใช้วัดปริมาตรของของเหลว
- นับจำนวนหยดของเหลวต่อปริมาตร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
- ใช้หลอดหยดดูดของเหลวปริมาณใกล้เคียงกับที่ต้องการ
- ห้ามหงายหลอดหยด บีบจุกยางให้ของเหลวหยดทีละหยดอย่างสม่ำเสมอ
- ใช้เสร็จแล้วให้ถอดจุกยางออก ล้างให้สะอาด วางไว้ให้แห้ง
3. หลอดฉีดยา ใช้วัดปริมาตรของของเหลว
- เลือกขนาดหลอดฉีดยาให้เหมาะสมกับปริมาตรของของเหลวที่ต้องการใช้
- ไล่อากาศออกจาหลอดให้หมด
- จุ่มปลายหลอดลงในของเหลว ดึงก้านหลอดขึ้นจนส่วนโค้งต่ำสุดของลูกยางตรง กับขีดปริมาตรที่ต้องการ
- ใช้เสร็จแล้วแยกแต่ละส่วนออกล้างให้สะอาดวางให้แห้งนำมาสวมกลับเข้าตามเดิม
4. กระบอกตวง ใช้วัดปริมาตรของของเหลว
- ใช้กระบอกตวงที่เหมาะสมกับปริมาตรของเหลวที่จะวัด
- อ่านปริมาตรต้องให้ขีดบอกปริมาตรและส่วนโค้งต่ำสุดหรือสูงสุดอยู่ในระดับสายตา
- ใช้เสร็จแล้วล้างให้สะอาดระวังการล้มแตก
5. บีกเกอร์
- ปกติใช้ตวงของเหลวเพื่อใช้ในการเตรียมสารละลาย
- มีขนาดตั้งแต่ 50 ลูกบาศก์เซนติเมตรจนถึง 2 ลิตร



การหาปริมาตรของของแข็ง มีวิธีการหา 2 วิธี ดังนี้
1. วัตถุที่มีรูปทรงเรขาคณิต หาได้จากการวัดส่วนต่าง ๆ แล้วนำมาคำนวณหาโดยการ
ใช้สูตร ดังนี้
ปริมาตรรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก = กว้าง x ยาว x สูง
ปริมาตรรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ = ด้าน x ด้าน x ด้าน
ปริมาตรรูปทรงกระบอก = r2h (r = รัศมี, h = ความสูง)
ปริมาตรรูปทรงกลม = 4r3
2. วัตถุไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิต ทำได้โดยนำวัตถุชนิดนั้นไปแทนที่น้ำในถ้วยยูรีกา แล้วตวงหาปริมาตรของน้ำที่ล้นออกมา ซึ่งจะมีค่าเท่ากับปริมาตรของวัตถุนั้นตามหลักของอาร์คีมีดิส



โดย : นาง กมลทิน พรมประไพ, ร.ร.อุตรดิตถ์ดรุณี, วันที่ 10 มิถุนายน 2545