สารบริสุทธิ์


สารบริสุทธิ์ คือ สารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียวสมบัติต่าง ๆ จะคงที่ และเป็นสมบัติเฉพาะตัว สารบริสุทธิ์มีสมบัติที่สำคัญคือ มีจุดเดือด และจุดหลอมเหลวคงที่
สมบัติของสารบริสุทธิ์
1. สารบริสุทธิ์ที่เป็นของเหลวมีจุดเดือดคงที่เสมอ เช่น จุดเดือดของน้ำบริสุทธิ์ เท่ากับ 100 ํC ณ ความดันบรรยากาศปกติ (ความดัน 1 บรรยากาศ หรือ 760 มิลลิเมตรของปรอท)
2. จุดเยือกแข็งของสารบริสุทธิ์จะคงที่เสมอ เช่น จุดเยือกแข็งของน้ำบริสุทธิ์เท่ากับ 0 ํC
หมายเหตุ ถ้าความดันบรรยากาศเปลี่ยนไป จุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไป เช่น จุดเดือดของน้ำจะเปลี่ยนไปเมื่อความดันบรรยากาศเปลี่ยนไป ดังนี้

ความดันบรรยากาศ (mm.ของปรอท) จุดเดือดของน้ำ ( ํC)
752 99.70
756 99.85
760 100.00 *จุดเดือดปกติของน้ำ
764 100.15
768 100.29

3. จุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์เป็นของแข็งจะคงที่
4. สารบริสุทธิ์ชนิดหนึ่งๆ มีความสามารถในการละลายเฉพาะตัวในตัวทำละลายแต่ละชนิด
5. ความหนาแน่นเป็นสมบัติเฉพาะตัวของสารบริสุทธิ์แต่ละชนิด ดังนี้
สารบริสุทธิ์ ความหนาแน่น (g/cm3)
แนพธาลีน 1.02
น้ำตาล 1.58
โพแทสเซียมเปอร์มังกาเนต 2.17

สรุปข้อแตกต่างระหว่างสารบริสุทธิ์กับสารละลาย
สิ่งเปรียบเทียบ สารบริสุทธิ์ สารละลาย
1. จำนวนชนิดของสาร มีสารเพียงชนิดเดียว มีสารมากกว่า 1 ชนิด
2. จุดเดือด คงที่ ไม่คงที่
3. จุดหลอมเหลว คงที่ ไม่คงที่
4. จุดเยือกแข็ง คงที่ ไม่คงที่
5. ความหนาแน่น คงที่ แปรเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารละลาย
6. ความสามารถในการละลาย คงที่ ณ อุณหภูมิและความดันหนึ่ง ๆ ไม่คงที่




โดย : นาง กมลทิน พรมประไพ, ร.ร.อุตรดิตถ์ดรุณี, วันที่ 10 มิถุนายน 2545