รู้ได้ไงตัวทำละลาย-ตัวถูกละลาย


เกณฑ์ในการพิจารณาว่าสารใดเป็นตัวทำละลาย และสารใดเป็นตัวถูกละลาย ดูได้จาก
1. สถานะ ถ้าสาร 2 ชนิด ที่นำมาผสมกันมีสถานะต่างกัน สารที่มีสถานะเดียวกับสารละลายจะเป็นตัวทำละลาย ส่วนสารที่มีสถานะต่างกับสารละลายเป็นตัวถูกละลาย เช่น
สารละลายน้ำเกลือ = น้ำ + เกลือ
(ของเหลว) (ของเหลว) (ของแข็ง)


ดังนั้น น้ำ เป็นของเหลวซึ่งมีสถานะเดียวกับสารละลายน้ำเกลือ น้ำจึงเป็นตัวทำละลายละลาย ส่วน เกลือ เป็นของแข็ง จึงเป็นตัวถูกละลาย
2. ปริมาณ ถ้าสาร 2 ชนิด ที่นำมาผสมกันมีสถานะเดียวกัน สารที่มีปริมาณมากกว่าเป็นตัวทำละลาย ส่วนสารที่มีปริมาณน้อยกว่าจะเป็นตัวถูกละลาย เช่น
ทองเหลือง = ทองแดง 75 % + สังกะสี 25%
(ของแข็ง) (ของแข็ง) (ของแข็ง)
ดังนั้น ทองแดงและสังกะสีต่างก็เป็นของแข็ง เมื่อนำมาหลอมรวมกันกลายเป็นทองเหลือง ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งเหมือนกัน ทองแดงมีปริมาณมากกว่าจึงเป็นตัวทำละลาย ส่วนสังกะสีเป็นตัวถูกละลายเพราะมีปริมาณน้อยกว่า

3. ถ้าสารมีสถานะเดียวกัน และมีปริมาณเท่ากัน ให้สารตัวใดตัวหนึ่งเป็นตัวทำละลาย หรือตัวถูกละลายก็ได้


โดย : นาง กมลทิน พรมประไพ, ร.ร.อุตรดิตถ์ดรุณี, วันที่ 10 มิถุนายน 2545