สารละลายอิ่มตัว


สารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกละลายอยู่เต็มที่ จนไม่สามารถละลายต่อไปได้อีกแล้ว ณ อุณหภูมิขณะนั้น
สารละลายไม่อิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่ตัวถูกละลายสามารถจะละลายในตัวทำละลายได้อีก
การละลายของสารชนิดใดชนิดหนึ่งจะละลายในตัวทำละลายได้มากหรือน้อยเพียงใดย่อม
ขึ้นอยู่กับ
1. สมบัติของตัวทำละลาย เช่น น้ำสามารถละลายน้ำตาลได้ แต่ไม่สามารถละลาย
ในแนพธาลีน (ลูกเหม็นได้)
2. สมบัติของตัวถูกละลาย เช่น เกลือแกงละลายได้ดีในน้ำ หินปูนไม่ละลายไม่น้ำ
3. อุณหภูมิของสารละลาย โดยเมื่อสารละลายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ตัวถูกละลายบางชนิดจะ
ละลายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น เมื่อนำสารละลายอิ่มตัวไปทำให้ร้อน ตัวถูกละลายที่เป็นของแข็งจะละลายได้มากขึ้น และถ้าปล่อยให้สารละลายอิ่มตัวที่อุณหภูมิสูงเย็นลง ตัวถูกละลายที่เป็นของแข็งจะแยกตัวออกจาสารละลาย ของแข็งที่แยกออกมาได้นั้นมีรูปทรงเรขาคณิต มีเหลี่ยม มีมุมเฉพาะตัว เรียกว่า ผลึก และเรียกปรากฏการณ์ที่ของแข็งที่เป็นตัวถูกละลายแยกตัวออกมาจากสารละลายอิ่มตัวว่า การตกผลึก
4. ความดัน ความดันมีผลต่อการละลายของสาร ในกรณีของก๊าซที่ละลายในของเหลว
ความดันจะมีผลต่อการละลาย เช่น เมื่อความดันเพิ่มมากขึ้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะละลายในน้ำได้มากขึ้น แต่เมื่อลดความดันลง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะละลายได้น้อยลง

หมายเหตุ ก๊าซออกซิเจนจะละลายในน้ำได้น้อยลงเมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น



โดย : นาง กมลทิน พรมประไพ, ร.ร.อุตรดิตถ์ดรุณี, วันที่ 9 มิถุนายน 2545