ทาก


ท่านผู้รักการ เดินป่าทุกท่าน คงเคยมีปัญหากับสัตว์โลกชนิดหนึ่ง ซึ่ง มีเรื่องที่น่าสนใจมากนั่น ก็คือ “ทาก” (Haemadipsa sylvestris) อสรพิษ ติดเขี้ยวรายนี้ สามารถพบได้ตามป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั่วไป และนักวิทยาศาสตร์ ได้นำสัตว์ชนิดนี้มาเป็นตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ของป่าด้วย
ทากดูดเลือดเป็นสัตวืกลุ่มหนึ่งที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวไส้เดือนดินในไฟลัมแอนนีลิดา(Phylum annelida)หรือพวกแอนเนลิด ความหมายมาจาก annual แปลว่า วงแหวน ซึ่ง แสดงให้เห็นว่าสัตว์ในกลุ่มนี้มีลำตัวเป็นปล้องๆ คล้ายวงแหวนมาต่อกัน แต่ไส้เดือนดินก็ได้ถูกแยกออกจากพวกทาก ในระดับClass สัตว์ที่พอจะเห็นภาพและใกล้ชิดกับมันที่สุดก็เห็นจะเป็น “ปลิง” ทั้งปลิงและทากถูกจัดให้อยู่ในClassเดียวกัน คือ Hirudinae
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าลำตัวของทากนั้นเป็นปล้องๆดูคล้ายวงแหวนมาต่อกัน หากพิจรณาอย่างถี่ถ้วนแล้วจะพบว่าปล้องทางด้านส่วงหัวจะมีขนาดเล็กที่สุดและจะใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆโดยส่วนที่ใหญ่ที่สุดของลำตัวค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว รูปร่างของมันนั้นเรียวยาวทางด้านหลังจะโค้งนูนเล็กน้อย ด้านท้องจะเรียบ มันมีอุปกรณ์สำคัญในการเกาะให้ติดกับลำตัวคือ แว่นดูด (Sucker)อยู่ทางด้านหัวและด้านท้าย แต่มันสามารถดูดเลือดได้จากแว่นหน้าแต่เพียงด้านเดียว หลายคนเข้าใจผิดว่ามันจะดูดเลือดเราจากแว่นทั้งสองข้าง แว่นด้านท้ายทำหน้าที่เกาะอย่างนุ่มนวลโดยที่เราไม่รู้สึกอะไรเลย นั่นเป็นเหตุผลให้ส่วนใหญ่เราจะโดนทางดูดโดยที่ตัวเองไม่รู้สึกเลยว่ามันได้คืบคลานขึ้นมาบนร่างของเราแล้ว
จากการศึกษาพบว่าทากรับรู้ว่าเหยื่อของมันอยู่ที่ไหนได้จากแรงสั่นสะเทือนขณะที่สัตว์หรือคนเดินมา โดยมันจะเกาะไปตามขาด้วยแว่นดังกล่าว ปากของมันซึ่งตั้งอยู่ทางหัวเท่านั้นหากเราสามารถมองเห็นแว่นดูดของมันเราก็จะพบว่าภายในมีขากรรไกรที่มีลักษณะเป็น3แฉก แต่ละแฉกก็จะมีฟันเล็กๆอยู่มากและขากรรไกรของมันที่ทำให้แผลของเรามีรูปร่าง3แฉก คล้าย ตรารถเบนซ์
ความแยบยลในการดูดอยู่ที่สารที่ทากปล่อยเข้าสู่แผล ขณะที่มันฝังเขี้ยวลงบนผิวของเหยื่อ ทากบางชนิดก็มีสารคล้ายยาชาทำให้สัตว์นั้นไม่รู้สึกตัว เวลากัดก็ไม่ผลีผลามค่อยๆเจาะ จากที่มีผู้ศึกษาไว้พบว่ามันจะใช้เวลาเจาะจนเริ่มดูดเลือดประมาณ 80-90วินาที ในช่วงนั้นหากเราดึงออกก็จะไม่มีเลือดไหลเพราะว่ามันยังเจาะไม่ได้ลึก สาเหตุของเลือดที่ไหลไม่หยุดก็เนื่องจากขณะที่ทากเจาะลงไปบนเนื้อของเหยื่อ มันจะปล่อยสารสำคัญๆอยู่2ตัว คือ สารตัวแรกเป็นสารที่มีคุณสมบัติและองค์ประกอบคล้ายกับ สารฮิสตามีน (Histamine)ที่จะกระตุ้นให้หลอดเลือดของเหยื่อขยายตัว สารที่สองมีชื่อว่า สารฮีรูดิน (Hirudin) มีสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด เป็นเหตุผลว่าทำไมเมื่อโดนกัดแล้ว เลือดไม่หยุดไหล หรือไม่ก็นานจนน่ากลัว วิธีหยุดเลือดก็มีมากมายหลายขนานแล้วแต่เคล็ดลับของแต่ละคน ซึ่งก็ได้แก่ ผงชูรส ใบสาบเสือ ยาเส้น หรือยาฉุน
ใช่ว่าทากจะมีแต่โทษอย่างเดียวในวงการแพทย์ ในสมัยโบราณ ได้นำทากมาดูดพิษ หรือเลือดเสียออกจากร่ายกาย แต่ในปัจจุบันมีการนำมาทำให้เส้นเลือดในร่างกายไม่อุดตัน โดยเฉพาะเส้นเลือดหัวใจ หรือนำมาช่วยให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนได้ดีขึ้น



โดย : นาย เก็ตกาญจน์ สกุลทัพ, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 19 พฤศจิกายน 2544