ดาวเคราะห์ "ยักษ์"


ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่และมีมวลมากที่สุด ในระบบสุริยะ
ดาวพฤหัสใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองเร็วมากคือ 9.50 ชั่วโมง
จึงเกิดแรงหนีศูนย์กลาง ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ถึงเกิบ 10 % ของแรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว มีผลทำให้ บริเวณศูนย์สูตรป่องออก ที่ขั้วจะแบนลง และยังทำให้เกิดกระแสลมแรง องค์ประกอบส่วนใหญ่ของดาว พฤหัส เป็นธาตุไฮดรเจน และ ฮีเลี่ยม
บรรยากาศของดาวพฤหัสประกอบด้วยสิ่งที่คล้ายเมฆหนาทึบ บนแถบเมฆปรากฎ เมฆสว่างบ้าง มืดบ้าง กระจัดกระจายอยู่ และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่รูปลักษณะที่สำคัญและค่อนข้างคงตัว ซึ่งสังเกตุได้ชัดโดยกล้องโทรทรรศน์ ก็คือ จุดแดงยักษ์ ซึ่งธรรมชาติของจุดแดงยักษ์นี้เป็นอย่างไรยังไม่มีผู้ให้คำอธิบายได้ชัดเจน
นอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังได้พบโมเลกุลอินทรีย์ที่ซัยบซ้อนมากในบรรยากาศการเคลื่อนตัวของระบบเมฆที่ก่อให้เกิดการคายของประจุไฟฟ้าและการเกิดปฎิกิริยาทางเคมีในบรรยากาศซึ่งเป็นแนวทางในการค้นหากระบวนการ ทำให้เกิดอินทรียชีวิตในสภาพที่ เป็นอยู่ในดาวพฤหัสบดี เพื่อหาหลักฐานให้ได้ชัดว่าชีวิตเกิอขึ้นมาได้อย่างไรในจักรวาลเหมือนกับที่เกิดขึนมาแล้วในโลคของเรา


โดย : นางสาว พริ้มเพรา แก้วทุ่ง, ศรีสำโรงชนูปถัมภ์, วันที่ 19 พฤศจิกายน 2544