กะทือ

กะทือ

(Ginger)
Zingiber zerumbet Smith.

ชื่ออื่น ทือ หัวทือ กระทือป่า กะแวน กระแอน แฮวดำ เฮียงแดง (ภาคเหนือ)
ลักษณะ
กะทือเป็นพืชล้มลุกจำพวกขิงข่าป่าชนิดหนึ่ง ในฤดูแล้วจะลงหัว ลำต้นและใบเฉาแห้งพอถึงฤดูฝนจะงอกขึ้นมาใหม่ หัว (เหง้า) มีขนาดใหญ่ สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุน ลำต้นเหนือดินสูงประมาณ 2 เมตร ลักษณะลำต้นและใบเหมือนกับข่าแต่มีขนาดโตกว่าเกือบเท่าตัว ดอกเป็นช่อก้านยาวแข็งชูขึ้นมาจากพื้นดิน ปลายก้านดอกจะกลมคล้ายฟองไข่ เป็นเกล็ดเล็ก ๆ คล้ายเกล็ดปลาสีแดง มีดอกย่อยสีขาวหรือเหลืองอ่อน แทรกอยู่ตามเกล็ด
แหล่งที่พบ
กะทือพบขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าผสมผลัดใบ และบริเวณข้างลำธาร ลำห้วย และตามสวน
การขยายพันธุ์
ปลูกโดยใช้หัว (เหง้า) ใต้ดิน แยกมาปลูกในที่มีความชื้นสูง
การบริโภคและสรรพคุณ
หน่ออ่อน เนื้ออ่อนในลำต้น (ลอกกาบออก) และช่อดอกอ่อน นิยมนำมาแกงเผ็ด แกงไตปลา ต้มจิ้มน้ำพริก ผัด เนื้อในมีรสขม และขื่นเล็กน้อยต้องหั่นและขยำกับน้ำเกลือนาน ๆ กระทือมีรสชาติเผ็ดร้อนเล็กน้อยและกลิ่นค่อนข้างฉุนหัวกระทือถ้ากินมากเกินไปจะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน
กระทือมีสรรพคุณคล้ายกับขิง สามารถใช้แทนกันได้ กระทือมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรรักษาได้หลายโรค เช่น เบื่ออาหาร บิด ขับลม แก้ท้องอืด เป็นต้น
ข้อระวังในการบริโภค หัวกระทือถ้ากินจำนวนมากเกินไปจะทำให้คลื่นไส้อาเจียน
การตลาด
ยอดอ่อนและเหง้ามีขายในตลาดกำละประมาณ 3 บาท


ลั่นทม ดอนจวบทรง. ผักพื้นบ้าน(ภาคใต้). ทางเลือกในการผลิตและการบริโภค. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก,2537.




โดย : นางสาว duangjai natrsodkig, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 28 เมษายน 2545