กระดังงา

กระดังงา

“…เดินทางตามหว่างสิงขร
พระสี่กรชมพรรณพฤกษา
ประดู่ดอกดก ดาษดา
กระดังงา จำปาแกมกัน…”

วรรณคดี : “รามเกียรติ์”
ผู้ประพันธ์ : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Cananga odorata, Hook. F.&Th.
ชื่อสามัญ : llang – ilang, Perfume Tree
ชื่อวงศ์ : Annonaceae

กระดังงาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ออกดอกตลอดปี ชอบอยู่กลางแจ้ง โคนต้นมีปุ่มบ้าง มีกิ่งก้านห้อยย้อย เปลือกมีผิวค่อนข้างเรียบ สีเทาปนดำหรือน้ำตาล เปลือกลอกเป็นชั้น ๆ ได้ มีกลิ่นเหม็นเขียว เพราะมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ทั่วไป
ใบเป็นใบเดี่ยว ขึ้นเรียบสลับกันไปตามกิ่ง ใบมนรี ปลายแหลงโคนใบมน ริมใบเรียบเกลี้ยง ยางประมาณ 6 – 7 นิ้ว
ดอกมีสีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง โคนก้านใบ กลีบดอกเรียวยาวประมาณ 4 นิ้ว กลีบบิด ดอกหนึ่งมีกลีบ 6 กลีบ เรียงกันเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบชั้นนอกใหญ่ และยาวกว่ากลีบชั้นใน ก้านเกสรตัวผู้สั้นมาก เมื่อดอกโรยจะติดผล
ดอกกระดังงานิยมใช้อบทำน้ำเชื่อม หรือใช้ปรุงขนมหวาน
การขยายพันธุ์ใช้วิธีเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง


วิชิต สุวรรณปรีชา. พฤกษาในวรรณคดี เล่ม2. กรุงเทพฯ :บริษัท อักหราพิพัฒน์จำกัด,มปป.






โดย : นางสาว duangjai natrsodkig, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 28 เมษายน 2545