ปลาซ่า

ลักษณะทั่วไป ปลาซ่าที่พบเห็นในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 7- 8 ชนิด และมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน คือลำตัวด้านข้างกลมยาว มีครีบหลังเป็นแผงยาวกว่าสกุลอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เหนือครีบหูมักมีแต้มเป็นจุดสีดำรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน แต่ปลาซ่าจะมีลายดำเป็นเส้นเล็กๆ ประมาณ 7 – 8 เส้น พาดไปตามความยาวของลำตัว และจะมีจุดดำที่โคนหางอีกหนึ่งจุด ในอดีตปลาเหล่านี้มีอยู่อย่างชุกชุม มักจับกลุ่มอยู่รวมกันเป็นฝูง เมื่อปลาซ่าตกใจจะกระโดดขึ้นจากผิวน้ำพร้อมๆ กัน จะทำให้เกิดเสียงดังซ่า จึงเรียกชื่อเป็น “ปลาซ่า” ถิ่นอาศัย ชอบอยู่ในแม่น้ำลำคลอง และหนองบึง มีอยู่ทุกภาคของประเทศไทย อาหาร ส่วนใหญ่ได้แก่ แพลงก์ตอนจำพวกพืช ตะไคร้น้ำ และไรน้ำ ขนาด ความยาวลำตัวโดยทั่วไป 12 – 14 ซม. ประโยชน์ เป็นอาหาร โดยนำมาแปรรูปหมักเกลือทำปลาแห้งและน้ำปลา

กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2535.



โดย : นางสาว จุฑาวรรณ เกตุมณี, ripw.klongluang pathumthani 13180, วันที่ 27 เมษายน 2545