ปลายี่สก

ปลายี่สก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Probarbus jullieni
ถิ่นอาศัย แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำโขง และแม่น้ำ
น่าน นอกจากนี้ยังพบในประเทศลาว มาเลเซีย เขมร และเวียดนาม
ลักษณะ ลำตัวเพรียวยาว พื้นลำตัวสีเหลืองนวลหรือเหลืองทอง ส่วนหัวสีเหลืองอมเขียว มี
แถบเส้นสีดำคาดตามความยาวลำตัว ตาสีแดง ครีบทุกครีบสีชมพู เยื่อครีบและ
หางสีดำจาง ๆ มีหนวดสั้น ๆ อยู่ที่ขากรรไกรบน 1 คู่
การแพร่พันธุ์ แพร่พันธุ์โดยการวางไข่ในฤดูหนาว ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม – กุมภาพันธุ์
ปัจจุบันใช้วิธีผสมเทียมเนื่องจากให้ผลผลิตเร็วกว่า

การเลี้ยง สามารถเลี้ยงรวมกับปลาทุกชนิดที่มีขนาดไล่เลี่ยกันหรือเล็กกว่าไม่มาก ชอบจับกลุ่ม
รวมกันอออยู่ที่ก้นตู้ ควรเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่ และมีการไหลเวียนของน้ำตลอดเวลา
ตู้ควรมีฝาครอบปิดมิดชิด เพื่อกันปลาโดดออกจากตู้

สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวช ปลาไทย. กรุงเทพฯ : บ. เอม ซัพพลายจำกัด , 2542



โดย : นางสาว ราตรี อิ่งมั่น, ripw.klongluang pathumthanee 13180, วันที่ 20 เมษายน 2545