ปลากัด

ปลากัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Betta splendens
ถิ่นอาศัย เคยพบตามแหล่งน้ำนิ่งและไหลเอื่อย ๆ ในแถบภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และบางแห่งในภาคเหนือ
ขนาด ถัวเฉลี่ยประมาณ 5 ซม.
ลักษณะ ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นเป็นแนวยาวจรดหาง หางมน
กลมมีอวัยวะช่วยในการหายใจเหนือผิวน้ำโดยใช้ปากหุบอากาศโดยตรงโดยไม่ต้องกรอง
ผ่านช่องเหงือก
อุปนิสัย ก้าวร้าวดุร้ายมาก ชอบกัดทำร้ายกันเองเสมอ แม้แต่ปลาตัวผู้และตัวเมียเมื่อเจอกันก็
จะกัดกัน ปกติจะว่ายลอยคออยู่ในระดับผิวน้ำ ครีบและหางจะลู่ แต่เมื่อเจอศัตรูครีบ
และหางก็จะเบ่งบานสวยงามมาก
การแพร่พันธุ์ แพร่พันธุ์โดยการวางไข่ก่อหวอดตามบริเวณผิวน้ำวางไข่ครั้งละประมาณ 500-600 ฟอง
ไข่จะฟักเป็นตัวภายในไม่เกิน 2 วัน การเพาะพันธุ์ที่ถูกวิธี คือ ให้นำปลาตัวผู้และตัว
เมียมาวางเทียบกันแต่อย่าปล่อยให้อยู่รวมกัน เพราะจะกัดทำร้ายกันจนถึงตาย โดยปล่อย
ให้ปลาจ้องกันเป็นเวลา 7 – 14 วัน

สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวช ปลาไทย. กรุงเทพฯ : บ. เอม ซัพพลายจำกัด , 2542



โดย : นางสาว ราตรี อิ่งมั่น, ripw.klongluang pathumthanee 13180, วันที่ 20 เมษายน 2545