ปลาฉลามหางไหม้

ปลาฉลามหางไหม้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bolantiocheilus melanopterus
ถิ่นอาศัย เคยพบในเขตภาคกลางในแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ปัจจุบันเข้าใจว่าได้สูญ พันธุ์จากแหล่ง
ธรรมชาติไปแล้ว นอกจากนี้ยังพบในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซียและเขมร
ลักษณะ ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง พื้นลำตัวสีเงิน ครีบสีเหลืองนวล ขอบปลายครีบทุก
ครีบยกเว้นครีบอกมีแถบสีดำขนาดใหญ่คาดลักษณะคล้ายรอยไหม้
ด้วยเหตุนี้จึงได้รับการตั้งชื่อว่าฉลามหางไหม้ ปากขนาดเล็กยืดหดได้ เกล็ดแวววาว
ระยิบระยับ ปลายหางเป็นแฉกเว้าลึกตรงกลาง
การแพร่พันธุ์ แพร่พันธุ์โดยการวางไข่จมอยู่ตามพื้น ปลาหนัก 155 กรัม สามารถวางไข่ได้
6,000 – 7,000 ฟอง ไข่ฟักเป็นตัวในเวลา 12 ชั่วโมง ปัจจุบันปลาที่นำมาขายเกิด
จากการผสมเทียม

สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวช ปลาไทย. กรุงเทพฯ : บ. เอม ซัพพลายจำกัด , 2542



โดย : นางสาว ราตรี อิ่งมั่น, ripw.klongluang pathumthanee 13180, วันที่ 20 เมษายน 2545