รัง

รัง
ชื่อพื้นเมือง เปา เปาดอกแดง (ภาคเหนือ) รัง (ภาคกลาง) เรียง เรียงพนม (เขมร-
สุรินทร์) ฮัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อสามัญ Burmese sal, Ingyin
ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea sismensis Miq
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15-20 เมตรเปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตาม
ความยาวลำต้น
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ กว้าง 7-12 ซ.ม. ยาว 10-20 ซ.ม.
ดอก สีเหลืองกลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อ
ผล รูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
แหล่งที่พบ ขึ้นในป่าเบญจพรรณแล้งและป่าแดงทั่วไป ปะปนกับไม้เต็ง ซึ่งอยู่สูงจาก
ระดับน้ำทะเล 500-1,000 เมตร มีความทนทานต่อความแห้งแล้ง ทนไฟได้
ดีมาก
การออกดอก ระหว่างเดือนมีนาคม –เดือนเมษายน และเป็นผลระหว่างเดือน
กุมภาพันธ์-เดือนเมษายน
การปลูกและบำรุงรักษา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีใน
สภาพดินรวนปนกรวดและดินทราย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้ ค่อนข้างแข็ง ใช้ก่อสร้างในส่วนที่ต้องการความแข็งแรง ทำเครื่องมือ
การเกษตร ฯลฯ
รังเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี

สุทัศน์ จูงพงศ์. สมุนไพรพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัด.
กรุงเทพฯ: มติชน,2543



โดย : นาย thawat hongsaton, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 20 เมษายน 2545