ชิงชัน

ชิงชัน
ชื่อพื้นเมือง ชิงชัน ประดู่ชิงชัน (ภาคกลาง) ดู่สะแดน (เหนือ)
ชื่อสามัญ Rosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia oliveri Gamble
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15-25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทาล่อนเป็นแว่นๆ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อย 11-17ใบเรียงสลับ
ดอก ขนาดเล็ก สีขาวแกมม่วง
ผล เป็นฝักแบนๆ รูปหอก หัวท้ายแหลม แต่ละฝักมี 3 เมล็ด
แหล่งที่พบ ขึ้นอยู่ตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไปเว้นภาคใต้ สูงจากระดับน้ำ
ทะเล 100-500 เมตร
การออกดอก ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม
การปลูกและบำรุงรักษา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพ
ดินแทบทุกชนิด ขึ้นได้ในดินลูกรัง แต่ชอบดินร่วนซุย
ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้ แข็งเหนียว มีความทนทานมาก ใช้ทำเครื่องเรือนส่วนประกอบของ
เกวียน พานท้ายปืน รำมะนาด กรับ ขาฆ้องวง
ประโยชน์ทางยา แก่น บำรุงโลหิตสตรี
วิธีใช้ทางยา เป็นยาสมานรักษาแผล นำเปลือกที่แห้งแล้วมาบดให้เป็นผงละเอียด จาก
นั้นนำมาโรยบริเวณที่เป็น ใช้ยาเรื่อยๆจนกว่าแผลจะหาย
ชิงชันเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดหนองคาย

สุทัศน์ จูงพงศ์. สมุนไพรพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัด.
กรุงเทพฯ: มติชน,2543



โดย : นาย thawat hongsaton, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 20 เมษายน 2545