บทคัดย่อ.. รัฐบาลอิเล็คทรอนิคส์ และกระทรวงไอที
หลักการของการทำ E-Government นั้นเป็นหลักการสากลทั่วโลก คือ ทำรัฐบาลมีความคล่องตัวมากขึ้น เรียกกันว่า Mobility หรือความเร็วในการดำเนินการด้านต่างๆ สูงขึ้น ยุคต่อไปนี้จะต้องพูดถึง Speed หรือ Velocity คือ จะต้องมองกันว่าใครเร็วกว่ากัน ไม่ใช่ว่าใครปราณีตกว่าใคร ปราณีตเป็นอีกเรื่ องหนึ่งที่ต้องมีอยู่แล้ว แต่มันแพ้ชนะกันด้วยความเร็วไม่ใช่เพราะความสวยงาม ความเร็วจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น โดยเฉพาะความเร็วนั้นจะต้องนำอิเล็คทรอนิคส์เข้ามาช่วยด้านต่างๆ เช่น เอกสาร และต้องมีการปรับปรุงกระบวนการใหม่เรียกว่า BPR หรือ BPI
BPR คือ Business Process Improvement
BPI คือ Business Process Reengineering
ในการปรับเปลี่ยนจะต้องมองทั้งสองด้าน คือ
ด้าน I = Information, และ ด้าน T = Technology ไม่ใช่ว่ามีแต่ Technology หรือ Information เพียงอย่างเดียว
การทำ E-Government นอกจากเป็นการปรับปรุงกระบวนงานแล้ว ต้องปรับปรุงการให้บริการประชาชน ด้วย Computer เช่น การรวมบัตร Multi-application บัตรใบเดียวใช้ได้หลายๆ อย่าง เช่น เป็นบัตรประชาชน บัตรประกันสังคม บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร โดยสามารถติดต่อที่ทำการที่ใดในภาครัฐก็ได้เป็นแบบ One-Stop Service และทางบริการด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น การติดต่อทะเบียนประวัติ กระบวนการทางยุติธรรมทางระบบคอมพิวเตอร์ต้องมีการปรับปรุงให้รวดเร็ว เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนข้อมูลต่างๆ ส่วนใหญ่จะดำเนินการบน Internet รัฐบาลจะต้องขยายบริการให้ประชาชนในการป้อนข้อมูลให้มากขึ้น อาจได้โดยจากธุรกิจเอกชนด้านต่างๆ นั่นคือภาพรวมของความพร้อม ตอนนี้อยู่ในเกณฑ์การให้บริการเชิงอิเล็กทรอนิคส์ที่รัฐบาลทำได้ โดยปัจจัยในความสำเร็จของการทำ E-Governmett คงเป็นเรื่องของภาวะผู้นำ หรือ Leader-Ship ของรัฐบาลเอง เพราะผู้นำจะสามารถผลักดันได้เต็มที่ ผู้นำต้องมีความชัดเจนของวิสัยทัศน์ด้าน IT โดยจะเห็นได้จากการที่จะตั้งกระทรวงไอที เป็นกระทรวงที่ 20 อีกอย่างหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่งคือ ระบบรักษาความปลอดภัยบน Internet และในบางหน่วยงานทางด้าน GIS ( Geographical Information System ) แต่เดิมอยู่ในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็จะต้องถ่ายโอนมาสังกัดในกระทรวงไอทีด้วย ทางด้าน NECTEC จะต้องทำการตกลงกับทาง กพ.และกระทรวงวิทยาศาตร์ฯ ว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไรอีกครั้งหนึ่ง
ดร.วุฒิพงษ์ พงษ์สุวรรณ. e-ECONOMY=บูรณาการความรู้สำหรับศตวรรษที่ 21, ปีที่ 2, ฉบับที่ 1, มีนาคม 2545 น.94-97
ISSN 1685-3407.
|