เอเจ้นท์

บทคัดย่อ .. เอเจ้นท์ ( Agent ) หรือ ซอฟต์แวร์ตัวแทน
เอเจ้นท์ ( Agent ) หรือ ซอฟต์แวร์ตัวแทน เป็นแนวคิดในการสร้างโปรแกรมแบบหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจจากนัวิจัยและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพราะการสร้างเอเจ้นท์ มาใช้งานมีส่วนทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการติตต่อสื่อสารทางเครือข่ายลดลงได้ เช่น การค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต การทำพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ปัจจุบันวิธีพื้นฐานในการทำทรานแซ็คชั่น ( Transaction ) คือ การส่งข้อความ ( Message ) โต้ตอบระหว่างเครื่องแม่ ( Server ) กับเครื่องลูก ( Client ) ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของเครือข่ายลดลง จะต้องมีการเปลี่ยนวิธีการทำทรานแซ็คชั่นใหม่ โดยอาศัยเอเจ้นท์เข้ามาช่วยทำงาน โดยเครื่องแม่จะสร้างเอเจ้นท์ขึ้นแล้วส่งไปยังเครื่องลูก เอเจ้นท์ตัวนี้จะทำตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายมา ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแม่เมื่อทำงานเสร็จ เอเจ้นท์ก็จะเดินทางกลับมาหาเครื่องแม่ จะทำให้ปัญหาของช่องสัญญาณเครือข่ายบรรเทาลง การสร้างเอเจ้นท์เป็นเรื่องท้าทายอย่างแท้จริง นักพัฒนาเอเจ้นท์จำเป้นต้องมีความรู้ความชำนาญในศาสตร์หลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรมวัตถุซอฟต์แวร์แบบกระจาย ( Distributed Object Architecture ) ระบบปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ ( Adaptive Learning System ) การรักษาความปลอดภัยในเครือข่าย ( Network. Security ) และการสร้างสภาพแวดล้อมต่อการประสานการทำงาน ( Collaborative Online Environment ) เอเจ้นท์หมายถึง ซอฟต์แวร์หน่วยเล็กๆ มีลักษณะการทำงานดังนี้
1.เป็นตัวแทนของบางสิ่งบางอย่าง ( Representative )
2.ร่วมกับเอเจ้นท์ตัวอื่น ( Collaborative )
3. ทำตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ( Goal Oriented )
4. ทำงานอัตโนมัติ ( Automatic )
5. คิดและสั่งตัวเอง ( Active )
6. เดินทางไปมาภายในเครือข่าย ( Mobile )
7. เรียนรู้และปรับปรุงตัวเองได้ ( Adaptive )
เอเจ้นท์มีทั้งส่วนที่เหมือนและต่างกันกับวัตถุซอฟต์แวร์แบบกระจาย ทั้งสองอย่างมีฐานมาจากเทคโนโลยีเชิงวัตถุ ( Object-Oriented Technology ) จึงมีโครงสร้างคล้ายคลึงกันมาก หรืออาจกล่าวได้ว่า เอเจ้นท์คือวัตถุซอฟต์แวร์แบบกระจายชนิดหนึ่งด้วย เอเจ้นท์เข้ามาทำงานแทนมนุษย์ในด้านต่างๆ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเอเจ้นท์ จึงได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมากจากบริษัทต่างๆ มากมาย อย่างไรก็ตามก็ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น เอเจ้นท์จึงยังต้องมีการสร้างสรรค์มีมากมาย.



สมศักดิ์ ภัทรศุกล. e-ECONOMY=บูรณาการความรู้สำหรับศตวรรษที่ 21, ปีที่ 2, ฉบับที่ 1, มีนาคม 2545 น.21-24
ISSN 1685-3407.



โดย : นาย โอฬาร จิรชีวะ, สนามบินดอนเมือง, วันที่ 13 เมษายน 2545