สุริยจักรวาล

ระบบสุริยจักรวาล
ธรรมชาติของจักรวาล
ดาราศาสตร์ เป็นวิชาที่กล่าวถึงเทหฟากฟ้าที่อยู่ในสภาวะเหนือบรรยากาศของโลก
เทหวัตถุเหล่านั้นได้แก่ ดวงอาทิตย์ (Sun) ดาวพระเคราะห์น้อย (Asteriods) ดวงจันทร์ (Moon) เนบิวลา (Nebula) เอกภาพ (Universe)
ระบบระบบสุริยะ เป็นระบบที่ประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและมีดาวเคราะห์เป็นบริวาร นอกจากนั้นยังมีดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกาบาต อยู่ในระบบสุริยะอีกด้วย
ดาวเคราะห์ (Planets)
ดาวเคราะห์ แบ่งเป็นพวกใหญ่ๆ ได้ 2 พวก คือ
1. ดาวเคราะห์วงใน (Inferior Planets) คือ ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์
ดาวพุธ (Mercury) พื้นผิวเต็มไปด้วยหลุม (Crater) ซึ่งสันนิฐานว่าเกิดจากการชนของอุกาบาตบนพื้นผิวดาวพุธปรากฎหน้าผายาวนับร้อยกิโลเมตรเรียกว่า สคาพ ซึ่งปรากฎเด่นชัดบริเวณใกล้ขั้วใต้ของดาวพุธ และมีสนามแม่เหล็กห่อหุ้ม ดาวพุธไม่มีดวงจันท์เป็นบริวาร
ดาวศุกร์ (Venus) พื้นผิวของดาวศุกร์มีอุณหภูมิ 750 K พบว่ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก เราสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้ด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นจุดขาวใสในเวลากลางวัน หรือเมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดูในขณะที่ดาวศุกร์ปรากฎในตอนเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า ดาวประกายพรึก หรือ ดาวรุ่ง แต่ถ้าเห็นพลบค่ำในทิศตะวันตก เรียกว่า ดาวประจำเมือง ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร
โลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ได้แก่ พืชและสัตว์ พื้นผิวโลกประกอบไปด้วยบรรยากาศ น้ำ อาหาร และสนามแม่เหล็กโลกซึ่งเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต โลกมีลักษณะสัณฐานกลมคล้ายผลส้ม โดยมีขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้แบนและป่องตรงกลางคือทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
2. ดาวเคราะห์วงนอก (Superior Planets) คือ ดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวอังคารดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวเนปจูน ดาวพลูโต
ดาวอังคาร (Mars) เมื่อมองด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นสีส้มแดง ดาวอังคารมีแรงดึงดูดที่ผิวน้อยกว่าโลกมาก เมื่อยานสำรวจมาริเนอร์ 9 ได้ถ่ายภาพมา ปรากฎเห็นเป็นการไหลของหินละลาย สันเขาที่คดเคี้ยวหลุมอุกกาบาต ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่เหล่านี้เคยถูกปกคลุมด้วยหินละลายในยุคดึกดำบรรพ์ต้นๆ พื้นดินบนดาวอังคารเป็นแร่ที่มีเหล็กซัลเฟตและคาร์บอเนตปริมาณสูง เมื่อเอาดินมาอบให้ร้อนจะมีทั้งไอน้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ แต่บริเวณขั้วดาวอังคารเป็นน้ำแข็ง ดาวอังคารมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2 ดวง คือ
โฟบอส (Phobos) และไดมอส (Deimos)
ดาวพฤหัส (Jupiter) เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ บรรยากาศประกอบด้วยก๊าซมีเทน (CH ) และแอมโมเนีย (NH ) และไฮโดรเจน จากการศึกษาพบว่าดาวพฤหัสมีวงแหวนซึ่งเหมือนกับดาวเสาร์ ซึ่งประกอบด้วยก้อนน้ำแข็ง และก้อนเทหวัตถุขนาดต่างๆ มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 16 ดวง
ดาวเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รองมาจากดาวพฤหัส เป็นดาวเคราะห์ประหลาดเพราะมีวงแหวนล้อมรอบซึ่งวงแหวนของดาวเสาร์ประกอบด้วยวัตถุชิ้นเล็กๆ กลุ่มก๊าซซึ่งโคจรรอบดาวเสาร์ ดาวเสาร์มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 20 ดวง
ดาวยูเรนัส (Uranus) บรรยากาศที่ห่อหุ้มดาวยูเรนัสค่อนข้างโปร่ง แสงอาทิตย์สามารถส่องลึกลงไปในบรรยากาศได้และเชื่อว่าดาวเคราะห์นี้มีก๊าซฮีเลียมอยู่ด้วย ดาวยูเรนัสมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 15 ดวง
ดาวเนปจูน (Neptune) บรรยากาศประกอบด้วยก๊าซมีเทน และอุณหภูมิพื้นผิวต่ำมาก มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 8 ดวง
ดาวพลูโต (Pluto) เชื่อกันว่าไม่มีบรรยากาศปกคลุม มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1ดวง
ดาวเคราะห์น้อย (Minor Planets) คือ เทหวัตถุจำนวนมากที่เข้าสู่วงโคจรระหว่างดาวอังคาร และดาวพฤหัสแต่บางดวงแตกฝูงออกไปไกลถึงวงโคจรของดาวเสาร์
ดวงจันทร์ (Moon) เป็นวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และจัดว่าเป็นบริวารของโลก บนดวงจันทร์มีกลางวันและกลางคืนเช่นเดียวกับโลกเพราะดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองด้วยโดยใช้เวลา 1 เดือน แสดงว่าวันในดวงจันทร์จะเป็นเวลากลางวัน 15 วัน และกลางคืน 15 วัน การสำรวจดวงจันทร์มนุษย์ได้มีการศึกษาโดยใช้กล้องโทรทัศน์ เรดาร์ หรือดาวเทียม แต่ได้มีการสำรวจอย่างจริงจังโดยนักบินอวกาศของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2512โดยใช้ยานอพอลโล 11 ซึ่งมีนักบินอวกาศ คือ นีล อาร์มสตรองและ แอดวิน อี แอลดรีน จูเนียร์ โดยใช้ยานอีเกิล ลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ ซึ่งมี ไมเคิล คอลลินซ์ ขับยานโคลัมเบียวนอยู่รอบๆ

*****************************



โดย : นาย สุธีร์ วิชาพร, โรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์, วันที่ 12 เมษายน 2545