ผีเสื้อนางพญากอดเฟรย์

ผีเสื้อนางพญากอดเฟรย์ (Stichophthalma godfreyi)
จัดเป็นผีเสื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งในประเทศไทย ปีกทั้งสองข้างจะแผ่กว้างออกได้ถึง 14-15 เซนติเมตร ขอบด้านหน้าของปีกคู่หน้าจะพบมีจุดรูปสามเหลี่ยมสีขาวขนาดใหญ่ถัดลงมาเป็นจุดและลายสีขาว 3 ชุด เรียงขนานกันไปตามขอบปีกดูคล้ายกับแถวลูกศรสีขาว ด้านต้ปีกสีน้ำตาลเหลือมีจุดดวงตากลมสีน้ำตาลแดงและลายสีคล้ำดูกลมกลืนกับสีของพื้นป่าา ฤดูการออกบิน เดือนมีนาคมจนถึงเดือนพฤษภาคม ชอบกินผลไม้สุกที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นป่าและชอบเกาะชุกตัวอยู่ในดงทึบที่มีหวายและปาล์มหนาแน่น พบอาศัยอยู่ในป่าดงดิบที่ค่อนข้างทึบและมพืชจำพวกหวายขึ้นอยู่หนาแน่น นอกจากจะพบในประเทศไทยแล้วยังพบในบริเวณใกล้เคียงกันและพม่าตอนใต้ เป็นผีเสื้อที่นักสะสมพยายามแสวงหากันมากตัวที่มีปีกสมบูรณ์จะมีราคาในประเทศสูงถึง 1000 บาท พบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ 2457 บริเวณป่าดงดิบในจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดรันอง สุราษฎร์ธานี ผีเสื้อชนิดนี้กำลังจะสูญพันธุ์หมดไป เนื่องจากการล่าผีเสื้อเพื่อส่งขายเป็นการค้า และการทำลายป่าดิบชื้น ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยที่มีผีเสื้อหายากชนิดนี้ยังหลงเหลืออยู่
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.พืชและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2540.



โดย : นางสาว yaowaret chaleekron, ripw klong luang patumtani 13180, วันที่ 24 มีนาคม 2545