header


ในแต่ละวันสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติได้ถูกทำลายทั้งโดยธรรมชาติและจากกิจกรรม

ของมนุษย์ อาทิ พายุ การจับสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว การทิ้งสิ่งปฎิกูลและศัตรูจำพวกปลาดาวหนาม หอยสังข์หนาม ฯลฯ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์บริเวณแนวปะการัง ให้มีสภาพเสื่อมโทรมสูญเสียสมดุลทั้งยัง ทำให้สัตว์น้ำหลายชนิดที่มีคุณค่าต้องถูกทำลายและสูญพันธุ์ ดังนั้นเพื่ออนุรักษ์และคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ บริเวณแนวปะการัง ให้สามารถเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำนานาชนิดอย่างอุดมสมบูรณ์อัน จะสร้างเสริมความงดงามของธรรมชาติ และเป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำตามความสมดุลในธรรมชาติอย่างถาวร อัน จะช่วยให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากท้องทะเล เพื่อเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม ตลอดไป

คำนิยาม"ปะการัง"

ปะการังเป็นทรัพยากรธรรมชาติ จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มิกระดูกสันหลังมีโครงสร้างภายนอกเป็นหินปูน ที่ตัวปะการังสามารถสร้างขึ้นมาเองโดยอาศัยแคลเซียมจากทะเล มีความเปราะบาง













ประโยชน์ของปะการัง

ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาว 2,696 กิโลเมตรอยู่ในพื้นที่ 22 จังหวัดซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับทะเลและมีแนวปะการังตามชายฝั่งเกาะต่าง ๆ ที่มีความงดงามติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก

ประโยชน์ของปะการังมีดังนี้

1. เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำเศรษฐกิจหลายชนิด สัตว์น้ำที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ 2. เป็นกำแพงป้องกันชายฝั่งพังทลายจากคลื่นลม กระแสน้ำและพายุ 3. เป็นแหล่งท่องเที่ยวและนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจโดยดำน้ำและถ่ายภาพธรรมชาติใต้น้ำ 4. เป็นแหล่งกำเนิดทรายให้ชายหาดโดยการสึกกร่อนของแนวโครงสร้างหินปูน 5.เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ โดยจะมีสัตว์น้ำเศรษฐกิจหลายชนิดมาอาศัยและแพร่ขยายพันธุ์6.เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านระบบนิเวศวิทยาชายฝั่งและด้านการแพทย์เช่น การสกัดสารทำยาต่อ

ต้านมะเร็งจุลชีพ น้ำยาป้องกันการตกผลึกนอกจากนี้ในแนวปะการังยังมีสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อาศัยอยู่อีกด้วย



การสืบพันธุ์

ปะการังมีการสืบพันธุ์ 2 แบบ ดังนี้

1.การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

ซึ่งตัวอ่อนที่เกิดจากไข่เมื่อถูกผสมแล้วจะล่องลอยไปในน้ำเพื่อหาที่เกาะในแหล่งใหม่



2.การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

โดยวิธีการแตกหน่อขยายออกไปจากตัวเดิมทำให้ก้อนปะการังมีขนาดใหญ่ขึ้น และลงเกาะทับถมกันเป็นเวลานานนับร้อย ๆ ปี เป็นแนวหินปูนใต้น้ำเรียกว่า "แนวปะการัง"



แนวปะการัง

เป็นที่อยู่อาศัยหลบภัยและเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด ได้แก่ สาหร่ายเซลล์เดียว หญ้าทะเล ฟองน้ำ ปะการัง กัลปังหา ดอกไม้ทะเล หนอนทะเล หอย หมึก กุ้ง ปู ปลา ฯลฯ แนวปะการังจึงเป็นระบบนิเวศน์ที่มีความสำคัญและมีความสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำอีกระบบหนึ่งของระบบนิเวศชายฝั่งทะเล

สาหร่ายเซลล์เดียว

เป็นผู้ช่วยสร้างอาหารและโครงสร้างหินปูนให้แก่ตัวปะการัง โดยกระบวนการทางสังเคราะห์แสง โดยใช้หนวดจับสัตว์เล็ก ๆ



การทำลายปะการัง

ปะการังถูกทำลายและเสื่อมสลายโดยธรรมชาติ และฝีมือมนุษย์โดยธรรมชาติ

1.พายุ กระแสน้ำ และคลื่นลม



2.สิ่งมีชีวิตอื่น ได้แก่ หอยบางชนิด เพรียง หอยเม่น ปลานกแก้ว ปลาผีเสื้อ ฯลฯ



3.สัตว์ที่กินปะการัง ได้แก่ ปลาดาวหนาม หรือดาวมงกุฎหนาม หอยสังข์หนามโดยมนุษย์ ซึ่งมีผลต่อการทำลายปะการังทันที1.การจับสัตว์น้ำในแนวปะการังเป็นการจับสัตว์น้ำด้วยวิธีที่ผิดกฎหมายว่าด้วยการประมง อาทิ การใช้ระเบิดสารเคมี ใช้ลอบ ฉมวก ยิงปลา จับกุ้ง หอย และปลา ฯลฯ ทำให้ระบบนิเวศน์บริเวณแนวปะการังขาดสมดุล



2.ผลกระทบจากการท่องเที่ยวอันเนื่องมาจากการเดิน ยืน เก็บ ทิ้ง และถอนสมอเรือ ทำให้ปะการังหักพัง



3.การขุดร่องน้ำ และก่อสร้างอาคารยื่นล้ำชายหาด ทำให้ทรายถูกพัดพาไปทับถมปะการัง



4.การทิ้งของเสีย และสิ่งปฏกูลในบริเวณแนวปะการังทำให้ระบบนิเวศน์ขาดสมดุล



5.การขุดทำเหมืองแร่และน้ำล้างแร่ ซึ่งมีกากตะกอนมากเกินกว่าการปรับตัวตามธรรมชาติและน้ำขาดออกซิเจนทำให้ปะการังต้องตาย



ชนิดของปะการัง

ปะการังมีประมาณ 400 ชนิดแบ่งตามลักษณะที่เห็นภายนอกได้ 7 กลุ่มดังนี้



1.ปะการังเขากวาง มีลักษณะคล้ายเขากวาง บริเวณกึ่งมีตุ่มรอบ ๆ ตุ่ม



2.ปะการังแผ่นมีลักษณะการขยายตัวออกเป็นแผ่นในแนวราบคล้ายโต๊ะ



3.ปะการังเคลือบ มีลักษณะการขยายตัวหุ้มฐานพื้นที่ที่ปะการังติดอยู่



4.ปะการังก้อน มีลักษณะเป็นก้อนตันคล้ายก้อนหินเป็นส่วนมาก



5.ปะการังกึ่งก้อนมีลักษณะการเติบโตรวมกันเป็นกระจุกค่อนข้างแน่น



6.ปะการังเห็ดมีลัการอนุรักษ์ปะการัง

ปะการังเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เปราะบาง และต้องใช้เวลายาวนานในการเติบโตที่เรียกว่า " แนวปะการัง " เป็นโครงสร้างหินปูน (โพลิป) ซึ่งเปรียบเสมือนกำแพงธรรมชาติบรรเทาคลื่นลมกระแสน้ำโครงสร้างปะการังถูกกัดกร่อนด้วยกระแสคลื่นพัดเข้าสู่ฝั่งเป็นเม็ดทรายที่ขาวสะอาดให้กับชายหาดในปริมาณ 1 ตัน/ไร่/ปี นอกจากนี้บริเวณดังกล่าวยังเป็นที่อาศัยของสัตว์ทะเลนานาชนิดดังนั้นการอนุรักษ์ปะการัง เพื่อธำรงรักษาสภาพแวดล้อมโดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนภาครัฐบาล เอกชน และองค์การต่าง ๆ ดังนี้



1.สงวนคุ้มครองแนวปะการังที่ยังไม่ถูกทำลาย โดยประกาศเขตคุ้มครอง



2.ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้มีความตระหนักถึงคุณประโยชน์ปะการัง



3.มาตรการการจัดการที่เหมาะสมเช่นการออกกฎหมายเพิ่มโทษแก่ผู้ทำลายปะการัง การจัดฝึกอบรมและสัมมนาการจัดแทรกหลักสูตรการศึกษา



4.การติดตั้งทุ่นผูกเรือ เพื่อมิให้มีการทอดสมอเรือในแนวปะการัง



5.ลดการใช้ประโยชน์แนวปะการังให้น้อยที่สุดเช่น การจับสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปลาสวยงาม การเก็บปะการัง การยืนและเดินบนปะการังของนักดำน้ำ ฯลฯ



6.รักษาสมดุลและระบบนิเวศชายฝั่งทะเลให้เอื้ออำนวยต่อการอาศัยและเติบโตแพร่พันธุ์ของปะการัง



7.สร้างความตระหนักและจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญ คุณค่าและประโยชน์ปะการังที่มีต่อมวลมนุษย์ โดยงดการทิ้งของเสียและสิ่งปฏิกูลลงทะเลโดยตรง



8.กระตุ้นการประสานความร่วมมือของทุกคนทุกฝ่ายอย่างใกล้ชิดเพื่อฟื้นฟูและรักษาแนวปะการัง ให้มีความงดงามตามธรรมชาติ

ผลผลิตยั่งยืน

จะเห็นได้ว่าปะการังมีคุณประโยชน์แก่มนุษย์พืชและสัตว์ทะเลอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดสีสันความสวยงาม ซึ่งธรรมชาติสร้างสรรค์ให้อย่างวิจิตรงดงามเป็นแหล่งที่ให้ความเพลิดเพลิน และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำทะเลที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนานาชนิดนับเป็นแหล่งธรรมชาติที่ทุก ๆ คนจักต้องตระหนักถึงความสำคัญ และให้ความร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ให้เป็นชลสมบัติ ที่สามารถให้ผลผลิตที่ยั่งยืนต่อเนื่องตลอดไป

มาตรการอนุรักษ์

กรมประมงได้กำหนดมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำดังต่อไปนี้



@ ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงปะการัง หรือหินปะการังทุกชนิด ทุกขนาดไม่ว่าวิธีใด ๆ ในทะเล หรืออ่าวในท้องที่จังหวัดชายทะเลทุกจังหวัด มีความผิดต้องโทษปรับตั้งแต่ 5000-10000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ



@ ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงโดยใช้กระแสไฟฟ้า วัตถุระเบิด สารเคมี ยาเบื่อเมา มีความผิดต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10000-100000 บาท และริบของกลางทั้งสิ้น



@ ผู้ฝ่าฝืนส่งปะการัง ซากส่วนหนึ่งส่วนใด ผลิตภัณฑ์จากปะการังและปลาสวยงามออกนอกประเทศ มีความผิดต้องโทษปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้า จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับและริบของกลางรวมทั้งสิ่งที่บรรจุและพาหนะใด ๆ ที่ใช้เพื่อการบรรทุกสินค้าซึ่งเกี่ยวเนื่องด้วยความผิด



@ ผู้ฝ่าฝืนมีหินปะการัง กัลปังหา เต่าทะเล กระและผลิตภัณฑ์ไว้ในครอบครองเพื่อการค้า มีความผิดต้องโทษปรับไม่เกิน 20000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ



@ ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงในเขตรักษาพืชพันธุ์ มีความผิดต้องโทษปรับ 10000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ





ใต้ทะเลสีคราม งดงามล้ำคุณค่า

โปรดช่วยกันรักษา ปะการังสวยสดเอยกษณะการเติบโตแผ่ออกคล้ายดอกเห็ด



7.ปะการังกิ่งก้าน มีลักษณะการเติบโตเป็นกิ่งก้านแตกแขนง



8.ปะการังอ่อน มีลักษณะสวยงาม อ่อนไหวตามกระแสคลื่นลม



(http://www.prachuabwit.ac.th/2540/nopphorn/paka2.htm)





โดย : เด็กชาย อลงกรณ์ ไร่นากิจ, โรงเรียนถิ่นโอภาสวิทยา, วันที่ 21 มีนาคม 2545