header


ประวัติความเป็นมาของว่านหางจระเข้



ว่านหางจระเข้เป็นต้นพืชที่มีเนื้อิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิลเลี่ยม (LILIUM) แหล่งกำเนิดเดิมอยู่แถบชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปอาฟริกา พันธ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงที่มีขนาดเล็กกว่า 10 c.m.

ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายเข็ม เนื้อหนา และเนื้อใบมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆ กัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์ของมัน

คำว่า "อะโล" (ALOE) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึง ว่านหางจระเข ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "ALLAL" มีความหมายว่า "ฝาดหรือขม" ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้.

ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อน ต่อมาได้นำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ่.

การใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิวมีประวัติความเป็นมานับพันปีก่อนคริสต์ศักราช 333 ปี พระเจ้าอเล็กซายเดอร์มหาราชเคยกรีธาทัพไปถึงทวัปอาฟริกา ได้พบว่านหางจระเข้เป็นจำนวนมาก และทรงรับสั่งให้ทำการปลูกขนานใหญ่ เพื่อใช้เป็นยาสำหรับกองทัพขอพระองค์ อีกทั้งนางคลีโอพัตรากเคยใช้น้ำเมือกจากว่านหางจระเข้เป็นยาบำรุงผิว ทำให้พระนางมีผิวพรรณผุดผ่องดังดรุณีแรกรุ่น ตั้งแต่นั้นมา สรรพคุณของว่านหางจระเข้จึงได้เลื่องลือกระฉ่อนไปทั่วโลก

ใน "ตำรายาสมุนไพรของกรีซ"ที่บันทึกเมื่อทศวรรษที่ 70 แห่งคริสต์ศักราช ได้กล่าวไว้ว่า "ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณในการบำรุงผิว ช่วยให้นอนหลับสบาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร" และยังสามารถใช้รักษาโรคกระเพาะลำไส้ โรคตับ อาการหืดหอบ แผลที่อวัยวะเพศ ริดสีดวงทวาร เคล็ดขัดยอกช้ำบวม โรคผิวหนัง หิด โรคโพรงปากอักเสบ เป็นต้น






การปลูกว่านในเชิงหลักวิชาการ

การปลูกว่านหางจระเข้

หากจะปลูกว่านหางจระเข้ ก่อนอื่นต้องเลืออกต้นว่านหางจระเขที่สมบูรณ์แข็งแรง ถ้าได้ปลูกว่านหางจระเข้หลายๆ กระถางพร้อมกันแล้ว ก็จะพบว่า ต้นว่านหางจระเข้ที่อวบใหญ่แข็งแรง การคัดเลือกพันธุ์ที่ดี มีข้อสนใจดังนี้คือ

ต้องมีลำต้นอวบใหญ่และใบถี่ ว่านหางจระเข้ที่มีลำต้นเรียวยาวนั้น ดูภายนอกแล้วรู้สึกสวยงามแต่จะไม่ปข็วแรงหากจะนำมาเพาะปลูกแล้ว ควรเลือกต้นที่อวบใหญ่ ขนาดรอบนอกจะใหญ่กว่า 2 c.m. ขึ้นไป และเป็นต้นที่ใบขึ้นถี่ด้วย



ว่านหางจระเข้ที่ดีต้องมีใหญ่และหนา เมื่อส้มผัสด้วยมือแล้ว จะมีความรู้สึกนุ่มนิ่ม ตรงกันข้าม ต้นที่มีใบเล็กและบาง ส่วนที่สามารถใช้เป็นประโยชน์ได้ก็จะลดน้อยลงมาก



ถ้าพบที่ปลายใบของว่านหางจระเข้มีรอยเสียกายชำรุด หรือต้นที่แก่เกินไป ไม่ควนนำมาปลูก เพราะจะทำให้โตช้า



ว่านหางจระเข้ที่ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 c.m. ขึ้นไปื จัดได้ว่าเป็นว่านหางจระเข้ที่แข็งแรงและพร้อมที่จะผลิดอกเมื่อเข้าฤดูหนาว



ปลูกในที่ที่ได้รับแสงแดดเพียงพอ

ว่านหางจระเข้เป็นพืชเขตร้อน การตั้งกระถางควรไว้ในทีที่มีแสงแดดส่องถึง และถ้าได้ระบแสงแดดส่องทางทิศใต้และทิศตะวันออกกจะดีทีเดียว

ว่านหางจระเข้เป็นพืชเนื้อหนาเช่นเดียวกับตะบองเพชร มันสามารถเก็ยสะสมน้ำไว้ได้ ฉะนั้น จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการรดน้ำ ที่สำคัญควรระวังอย่าได้รดน้ำมากเกินไป

ในฤดูที่อากาศไม่ร้อน และมีความชุ่มชื้นพอสมควร

ดดยทั่วไป 3-4 วัน จึงจะรดน้หนึ่งครั้ง และควรรกน้ำในช่วงเช้า ส่วนฝนฤดูร้อนที่อากาศร้อนจัด ควรรดน้ำทุกวัน วันละครั้ง ในตอนเย็น

ในช่วงฤดูหนาวจัด เกือบจะไม่ต้องรดน้ำเลย แต่ถ้าตั้งกระถางไว้ในห้องหรือสถานที่อบอุ่นทุก 7-10 วันยังรดน้ำให้ครั้งหนึ่ง และควรรดในตอนเช้า

นอกจากนยังต้องสนใจใส่ปุ๋ยให้ทุกๆ 3 เดือน เนื่องจากว่านหางจระเข้เป็นพืชที่ใช้รับประทาน ฉะนั้น ตึงควรใช้ปุ๋หมักไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมี

การตัดใบว่านหางจระเข้ ควรตัดจากล่างสู่บนตามลำดับ เนื่องจากใบที่อยู่ข้างล่างเป็นในที่เติบโตได้ค่อนข้างดี สิ่งบำรุงเลี้ยงอุดมสมบูรณ์เวลลาตัดใบว่านหางจระเข้ ระวังอย่าตัดถูกลำต้น

การดูแลว่านหางจระเข้ในช่วงฤดูหนาว

เมื่อเข้าฤดูหนาว ควรทำการโยกย้ายว่านหางจระเข้ไว้ในห้องที่มีแสงแดดส่องถึง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือของไทย ใในตอนกลางคืนอากาศค่อนข้างหนาว อาจใช้กล่องกระดาษครอบกระถางว่านหางจระเข้ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกความเย็นจัด ซึ่งอาจทำให้เกิดเหี่ยวเฉาได้

ควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้ง

การเปลี่ยนกระถาง ควรเปลี่ยนในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน ว่านหางจระเข้ที่ปลูกอยู่ในกระถาง แต่ละปีจะโตขึ้นเรื่อยๆ ควรเปลี่ยนกระถางที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม และยังต้องเปลี่ยนดินใหม่ด้วย เพราะดินเก่าจะขาดธาตุอาหารและความสมบูรณ์ไป โดยใช้ดินร่วนคลุกผสมกับปุ๋ยพืชหมัก นอกจากนี้ยังต้องใช้กรรไกรตัดแต่งรากที่ยาวรุงรังออก 1 ใน 3 จากนั้นจึงนำไปปลูกในกระถาง ในระยะหนึ่งเดือนแรก ควรวางกระถางไว้ในที่ร่ม และอย่ารดน้ำ เพราะว่าเป็นช่วงที่ให้ว่านหางจระเข้กำลังฟื้นตัวแตกรากใหม่

วิธีที่ขยายพันธุ์ที่ง่ายๆ

การขยายพันธุ์ว่านหางจระเข้มีวิธีการหลายอย่าง การชำ การแยกหน่อ เป็นต้น แต่วิธีแยกหน่อเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด

ว่านหางจระเข้ที่โตเป็นต้นใหญ่แล้ว ส่วนล่างของลำต้นจะมีหน่อออกมามากมาย การแยกหน่อไม่ควรทำในขณะที่หน่อยังเล็กเกินไป ควรรอให้ต้นใหญ่มีใบสัก 14-15 ใบ

วิธีแยกต้นใหญ่ ควรให้ต้นใหญ่มีความสูงประมาณ 20 c.m. ใช้มีดตัดออกจากต้นและวางไว้ในท่ร่มเย็น 7-10 วัน จนกว่ารอยตัดแห้งไปโดยธรรมชาติ แล้วจึงค่อยนำไปปลูกต้ยใหม่นั้น จะต้องเป็นที่คล้ายกับต้นเดิมของมัน ิ งดการรดน้ำหนึ่งเดือน เพื่อจะให้งอกรากใหม่ แล้วค่อยย้ายมาตั้งในที่มีแสงแดดสารในว่านหางจระเข้

เคยมีการบันทึกเกี่ยวกับสรรพคุณของว่านหางจระเข้ไว้ดังนี้ "ว่านหางจระเข้สามารถใช้เป็นยาระบาย เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง อีกทั้งเป็นยาสามัญประจำบ้านได้ด้วย" ในว่านหางจระเข้มีสารอะโลอีนิน ซึ่งเป็นสารที่มีรสขม มีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคทางเดินอาหาร และโรคอวัยวะภายในอื่นๆ

ดร.โซอิด้า โมโมอิ แห่งมหาลยโตเฮาของญี่ปุ่น ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณในการรักษาโรคของว่านหางจระเข้โดยทำการทดลองในสัตว์ต่างๆ หลายครั้งหลายหน ท่านไดให้การรอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาตร์ดังนี้ :

ใช้รักษาแผลที่เกิดจากไฟใหม้ แผลจากความเย็น (Frostbite) และแผลที่ถูกแมลงกัดต่อย

สำหรับแผลที่ถูกไฟไหม้ เนื้อเยื่อของผิวหนังจะถูกทำลายไปไม่มากก็น้อย เมื่อใช้ว่านหางจระเข้ปิดตรงบริเวณแผล ทำให้รู้สึกเย็นที่แผลและช่วยกระตุ้นการเกิดใหม่ของเนื้อเยื่อใต้ผิว สามารถระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในบริเวณแผล ป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน อีกทั้งไม่ทำให้เกิดแผลเป็นอีกด้วย.ระงับการขยายตัวของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส

ว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ สามารถสลายพิษ (Neutralization) ที่เชื้อโรคขับออกมา และยังสามารถระงับการขยายตัวของเชื้อไวรัสเพียงพอ













สารในว่านหางจระเข้

เคยมีการบันทึกเกี่ยวกับสรรพคุณของว่านหางจระเข้ไว้ดังนี้ "ว่านหางจระเข้สามารถใช้เป็นยาระบาย เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง อีกทั้งเป็นยาสามัญประจำบ้านได้ด้วย" ในว่านหางจระเข้มีสารอะโลอีนิน ซึ่งเป็นสารที่มีรสขม มีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคทางเดินอาหาร และโรคอวัยวะภายในอื่นๆ

ดร.โซอิด้า โมโมอิ แห่งมหาลยโตเฮาของญี่ปุ่น ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณในการรักษาโรคของว่านหางจระเข้โดยทำการทดลองในสัตว์ต่างๆ หลายครั้งหลายหน ท่านไดให้การรอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาตร์ดังนี้ :

ใช้รักษาแผลที่เกิดจากไฟใหม้ แผลจากความเย็น (Frostbite) และแผลที่ถูกแมลงกัดต่อย

สำหรับแผลที่ถูกไฟไหม้ เนื้อเยื่อของผิวหนังจะถูกทำลายไปไม่มากก็น้อย เมื่อใช้ว่านหางจระเข้ปิดตรงบริเวณแผล ทำให้รู้สึกเย็นที่แผลและช่วยกระตุ้นการเกิดใหม่ของเนื้อเยื่อใต้ผิว สามารถระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในบริเวณแผล ป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน อีกทั้งไม่ทำให้เกิดแผลเป็นอีกด้วย.ระงับการขยายตัวของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส

ว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ สามารถสลายพิษ (Neutralization) ที่เชื้อโรคขับออกมา และยังสามารถระงับการขยายตัวของเชื้อไวรัส



ข้อควรสนใจในการใช้ว่านหางจระเข้



เด็กและคนสูงอายุต้องสนใจปริมาณการการบริโถคว่านหางจระเข้เป็นพิเศษ

เด็กหรือคนสูงอายุที่สุขภาพอ่อนแอ เวลารับประทานว่านหางจระเข้ ต้องสนใจปริมาณการบริโภคเป็นพิเศษ อย่ารับประทานว่านหางจระเข้สด ให้รับประทานน้ำที่เขี้ยวจากใบว่านหางจระเข้ หรือชาว่านหางจระเข้ หรือน้ำวุ้นว่านหางจระเข้ที่กรองเรียบร้อยและผสมเจือจางแล้ว ซึ่งจะให้ผลอย่างค่อยเป็นค่อยไปดีกว่า





ควรเลือกรับประทานว่านหางจระเข้สด

บางคนเห็นแก่ความสะดวกในการใช้ จึงบดว่านหางจระเข้ไว้เป็นจำนวนมาก แล้วนำไปใช้ตู้เย็น แต่พอทิ้งไว้นานเข้า ของเหลวที่เก็บไว้เกิดการรเปลี่ยนสี เมื่อเป็นเช่นนี้ อย่าได้นำมารับประทานอีก

ฉะนั้นจึงอย่าบดว่านหางจระเข้ครั้งเดียวไว้มากเกินไป ทางที่ดี ควรทำไว้เผื่อรับประทาน 4-5 วันก็เพียงพอแล้ว







ผู้ที่รับประทานว่านหางจระเข้ครั้งแรก ควรเริ่มจากปริมาณที่น้อยก่อน

ไม่ว่าจะรับประทานใบว่านหางจระเข้สดหรือรับประทานน้ำว่านหางจระเข้ที่คั้นและกรองไว้เรียบร้อยก็ตาม ล้วยต้องรัยประทานในปริมาณที่พอเหมาะ แต่สำหรับคนที่รับประทานครั้งแรก ควรรับประทานในปริมาณที่น้อยกว่ากำหนด หากสุขภาพไม่มีปฏิกิริยาอะไรเกิดขึ้นจึงค่อยเพิ่มปริมาณมากขึ้น และกำหนดปริมาณการบริโภคที่เหมาะสมกับสุขภาาพของตนเอง



ข้อควรสนใจในการรับประทานว่านหางจระเข้ในช่วงที่ไม่สบาย

คนที่ไม่สบาย หรือคนที่ไม่ค่อยรับประทานว่านหางจระเข้มาก่อน เวลารับประทานต้องสนใจเป็นพิเศษ คืออย่ารับประทานในเวลาก่อนอาหาร ต้องรับประทานหลังอาหาร

สำหรับคนที่ร่างกายไม่คุ้นกับว่านหางจระเข้ เมื่อรับประทานว่านหางจระเข้แล้วจะมีอาการท้องเสียหรือคลื่นไส้อาเจียน ถ้ามีอาการดังกล่าว ต้องหยุดรับประทานว่านหางจระเข้เป็นการชั่วคราว สังเกตช่วงระยะหนึ่งแล้วค่อยลองระบประทานใหม่



ในการใช้ว่านหางจระเข้ทาแผลครั้งแรก

คนที่มีอาการภูมิแพ้ เมื่อทาแผลด้วยว่านหางจระเข้ จะเกิดอาการปวดแสบปวดร้อนหรือบวมแดง

หากมีอาการดังกล่าว ก่อนใช้ว่านหางจระเข้ ทางที่ดีควรปอกเปลือกว่านหางจระเข้ออก หรือใช้ผ้าก๊อซกรองว่านหางจระเข้ แล้วเติอมน้ำเพื่อให้เจืองจางก่อนใช้ทาแผล หากใช้ทาบริเวณใบหน้ายิ่งควรต้องสนใจเป็นพิเศษ



การรักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก

ว่านหางจระเขใช้รักษาแผล้ที่เกิดจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกได้ผลดีมาก แต่ก่อนอื่น ต้องใช้น้ำสะอาดล้างแผลเพื่อลดอุณหภูมิของแผลลงเสียก่อน แล้วค่อยรักษาด้วยว่านหางจระเข้ต่อไป

แต่ถ้าเป็นแผลที่มีอาการสาหัส ต้องรีบใช้น้ำที่สะอาดล้างแผลเพื่อลดอุณหภูมิของแผลลง แล้วนำส่งแพทย์รักษาโดยด่วน ใน กรณีเช่นนี้อย่าทำการรักษาด้วยวิธีการพื้นบ้านเด็ดขาดการใช้ว่านหางจระเข้ในระยะที่มีครรภ์ หรือมีประจำเดือน

สตรีที่อยู่ในระยะตั้งครร์หรือมีประจำเดือน จะเกิดเลือดคั่งในมดลูกได้ง่าย ฉะนั้น หากรับประทานว่านหางจระเข้ในช่วงนี้จะทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือมีอันตรายที่จะแท้งได้

แต่ทั้งนี้ยังขึ้นอขู่กับปริมาณการรับประทานว่านหางจระเข้ด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัย หากมีอาการป่วยในระยะที่ตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์และรักษาอย่างถูกต้อง

(http://www.prachuabwit.ac.th/2544/DAO/index.html)







โดย : เด็กชาย อลงกรณ์ ไร่นากิจ, โรงเรียนถิ่นโอภาสวิทยา, วันที่ 21 มีนาคม 2545