ไดโนเสาร์
ไดโนเสาร์. 2544 (ออนไลน์) . เข้าถึงได้จาก : http://www.thai.net/dino_s/
ซีลูโรซอร์เป็นไดโนเสาร์ ในกลุ่มเทอโรพอด ซอริสเซียน มีสะโพกเป็น แบบสัตว์ เลื้อยคลาน เดิน 2 ขา กินเนื้อ เป็นอาหาร มีขนาดเล็ก เมื่อค้นพบใหม่ๆ ส่วนปลายของ กระดูก แตกออก ทำให้ได้ พบกับ สิ่งประหลาด คือ กระดูก มีรูกลวง ซึ่งคงจะ ทำให้ตัวมัน มีน้ำหนักเบา เพื่อทำให้ เคลื่อนไหว ได้รวดเร็ว ซีลูโรซอร์ แยกมาจาก พวกไดโนเสาร์ เทอโรพอด อื่นๆ ก็ตรง ที่มี ขนาดเล็ก รูปร่าง เพรียว และ ว่องไว สำหรับ ลักษณะทั่วๆ ไป มีขา และแขน เรียวยาว มือมีเล็บ ที่แหลมคม สำหรับคีบจับ คอค่อนข้าง ยาว หัวมีขนาด เล็ก กรามเรียงราย ด้วยฟันคมๆ ขนาดเล็ก ถ้าเรา เปรียบเทียบ ไดโนเสาร์ พวกนี้ กับสัตว์ ที่มีชีวิต อยู่ใน ปัจจุบัน พวกที่ใกล้เคียง ที่สุด น่าจะเป็น แมว และสุนัข ซึ่งเป็นสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนม เดิน 4 ขา มีวิถีชีวิต ที่คล้ายกัน คือ มีขนาดเล็ก ปราดเปรียว ว่องไว เป็นผู้ล่าที่ดุร้าย ต่อสัตว์ ที่เล็กกว่า
ไดโนเสาร์ พวกนี้ มีอยู่ค่อนข้างมาก ในตลอดยุค สมัยของ ไดโนเสาร์ ซึ่งยาวนานถึง 140ล้านปี แต่เรา รู้เรื่องราว ของมัน จากฟอสซิล ไม่มากนัก เนื่องจาก มันมีขนาดเล็ก โครงสร้าง ของร่างกาย ค่อน ข้าง บอบบาง ทำให้โอกาส ที่โครงกระดูก ของมัน จะกลายเป็นฟอสซิล เป็นไปได้ยาก ซากของมันที่มี ขนาดเล็ก จะเน่าสลาย ไปเร็วมาก โครงกระดูก ก็จะกระจาย หรือถูก ทำลายไปหมด ด้วยเหตุนี้ ฟอสซิล ของพวกนี้ จึงเหลืออยู่ เพียงบางส่วน ส่วนใหญ่ จะพบแค่ชิ้นส่วน กระดูกบางชิ้น หรือฟันเท่านั้น ซึ่ง ทำให้ เกิดปัญหา ในการที่จะ ศึกษา ถึงชีววิทยา หรือความสัมพันธ์อื่นๆ
ไดโนเสาร์ ในตระกูลนี้ ได้มีการพบ ซากฟอสซิล ของมันในสภาพ ค่อนข้างสมบูรณ์ แล้ว 3 ชนิด คือ
1. ซีโลฟิซิส (Coelophysis) เป็น ไดโนเสาร์ ที่รู้จักกันดี ในทวีป อเมริการเหนือ พบครั้งแรก ที่รัฐ นิวเม็กซิโก เมื่อ พ.ศ. 2423 โดยนัก สะสมสมัครเล่น ในบริเวณที่ เป็นหิน ยุคไทรแอสสิก ส่วนของ กระดูก ที่พบไม่สมบูรณ์นัก แต่ก็ พอจะบอกได้ว่า เป็นไดโนเสาร์ ตระกูลนี้ จนกระทั่ง พ.ศ. 2483 จึงได้มี การกลับไป ยังบริเวณเดิม ที่เคยพบ เจ้าซีโลฟิซิส ในครั้งแรก ในปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกันในนาม ทุ่งปีศาจ (Ghost Ranch) คณะสำรวจ ขุดพบกระดูก เป็นจำนวนมาก แต่ไม่พบ โครงกระดูก ที่สมบูรณ์เลย จึง ตัดสินใจ ขุดเปิดเนินเขา ออกเป็น บริเวณกว้าง จนกระทั่งถึงชั้นหิน ชั้นหนึ่ง สิ่งอัศจรรย์ ก็ปรากฏขึ้น โครงกระดูก ของไดโนเสาร์ หลายสิบตัว วางช้อนทับ กัน ระเกะ ระกะ ดูเหมือนว่า เกิดเหตุอะไรสักอย่าง บางที อาจจะเกิดจาก น้ำท่วม อย่างกระทันหัน และพัดพา ซากเหล่านี้ ไปทับถมกัน ที่ หาดทรายปาก แม่น้ำ แต่ไม่ว่า จะด้วย เหตุใดก็ตาม เราก็ได้ หลักฐาน ที่ดีที่สุด สำหรับ ไดโนเสาร์ ยุคไทรแอสสิก นี้ และ ในกลุ่ม โครงกระดูก เหล่านี้ มี ไดโนเสาร์ ตั้งแต่ตัว เล็กๆ ไปจน กระทั่ง ตัวโตเต็มที่
2. คัมพ์ซักนาธัส (Compsongnathus) ขุดพบ จากชั้นหิน ยุคจูแรสสิก ตอนปลาย ทางตอนใต้ ของเยอรมันนี และฝรั่งเศส ตัวมีขนาดเล็ก กว่า ซีโลไฟซิล โครงกระดูกที่ สมบูรณ์ โครงหนึ่งมีขนาดเพียง 28 นิ้วเท่านั้น รูปร่าง มีขนาดเล็ก และเพียว หางเรียวยาว คล้ายแส้ ลักษณะเด่น อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ แขนมีขนาดสั้นมาก ไว้สำหรับ จับสัตว์เป็นอาหาร มือเล็กๆ มีเพียง 2 นิ้วที่ใช้งานได้ นิ้วที่ 3 เล็กมาก ไม่สามารถ ใช้งานได้ ไดโนเสาร์ พวกนี้ จะกินแมลง และสัตว์เลื้อยคลาน เล็กๆ เป็นอาหาร เราพบ หลักฐาน จากโครง กระดูก ยืนยัน จากโครงกระดูก ซึ่ง มีซากสัตว์ เลื้อยคลาน เหลืออยู่ ในส่วนที่ เป็นกระเพาะ เป็นกระ ดูก ขนาดเล็ก 2 ชิ้นที่อำเภอ ภูเวียง จ.ขอนแก่น ซึ่งนับ เป็นครั้งแรก ที่มี การพบร่องรอย ของ ไดโนเสาร์ ขนาดเล็ก ในเมืองไทย
3. ออนิโธเลสทิส (Ornitholestes) แปลว่า ไดโนเสาร์ นักจับนก พบใน ชั้นหิน ยุคจูแรสสิก ที่รัฐ ไวโอมิง อเมริกาเหนือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2443 ถึงแม้ว่า โครงกระดูก ที่พบ จะไม่สมบูรณ์ เท่ากับ สองชนิดแรก แต่ก็เพียงพอ ที่จะ บอกเราได้ ถึงสิ่งที่พบ เห็นอย่างถูกต้อง แน่นอน หัวมีขนาดค่อนข้างสั้น ฟันใหญ่ และคม ซึ่งบอก เราได้ว่า มันมีกำลัง กัดเคี้ยว รุนแรงมาก และน่าจะ เป็นนักวิ่ง ที่รวดเร็ว มีมือที่ แข็งแรง มีนิ้ว 3 นิ้ว นิ้วแรกสั้น และสามารถ ขยับเข้ามา ในระหว่าง อีก 2 นิ้วที่เหลือได้ ทำให้มี กำลังในการจับมากขึ้น
โดย :
นาย ปริญญา หงษ์ทอง, Rhajabhat Institue Petchburiwittayalongkorn phahonyothin Road,Kw 48 Klong Luang, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545