โลมาและวาฬในน่านน้ำไทย

สุพจน์ จันทราภรณ์ศิลป์ กาญจนา อดุลยานุโกศล และ ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์
กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเลจังหวัดภูเก็ต

ในอดีตที่ผ่านมามีการล่าจับโลมาและวาฬกันมากเพื่อใช้บริโภค และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ปัจจุบันประชากรโลมากำลังประสบปัญหาการคุกคามจากมนุษย์ ซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ และจัดให้เป็นสัตว์คุ้มครองตามบัญชี Appendix I และ II ในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ) ประเทศไทยเป็นสมาชิกในอนุสัญญาฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อมูลและการศึกษาเกี่ยวกับโลมาและวาฬยังมีน้อยมาก ประกอบกับการมีอุตสาหกรรมการประมงในปริมาณที่สูง และกำลังถูกวิจารณืเป็นอย่างมากในเรื่องของการประมงและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดผลกระทบต่อประชากรสัตว์ทะเลซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเป็นจะต้องมีการศึกษาสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมเหล่านี้อย่างจริงจังเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง

ในการศึกษาโลมาและวาฬในน่านน้ำไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นการรายงานถึงชนิดที่พบ ซึ่งมีมากขึ้นตามลำดับ เริ่มจาก Suvatti (1950) และ Menasveta (1980) ได้รายงานโลมาและวาฬในประเทศไทยไว้เพียง 3 ชนิด Pelleri (1973) ได้บันทึกไว้ว่าพบ 7 ชนิด ต่อมา Lekagul and McNeely (1977) ได้รวบรวมข้อมูลและสำรวจใหม่ ดดยรายงานจำนวนทั้งหมดไว้ 12 ชนิด Yenbutra (1988) ได้ทบทวนผลงานของ Lekagul and McNeely (1977) ใหม่ โดยจำแนกชื่อวิทยาศาสตร์ของโลมาและวาฬบางชนิดให้ถูกต้องและทันสมัยขึ้น Hamphrey and Bain (1990) รายงานชนิดของโลมาและวาฬในประเทศไทยไว้ 12 ชนิด แต่ที่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนมีเพียง 8 ชนิดเท่านั้น จากการสำรวจของ Pelliri และคณะ (1989) พบว่าโลมากระโดด (Spiner dolphin ; Stenella longirostris) ของประเทศไทยเป็นชนิดพันธุ์แคระเทื่อเทียบกับชนิดเดียวกันที่พบที่อื่น โดยขนาดโตเต็มที่และขนาดเจริญพันธุ์มีขนาดเล็กกว่าที่พบที่อื่นอย่างชัดเจน

http://www.move.to/coral



โดย : นาย rangsun sodsaithong, 4/3 Klonglaung Prathumtanee 13180, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545