นกปรอทหัวโขน

นกปรอทหัวโขน . 2544 (ออนไลน์) . เข้าถึงได้จาก :
http://pet.sundayplaza.com/fish/story/discus.htm
นกปรอทหัวโขน(Pycnonotidac)
ถิ่นที่อยู่อาศัย
นกปรอทหัวโขนเป็นนกที่กระจายพันธุ์อยู่เฉพาะทางตอนใต้ของทวีป เอเซีย โดยพบได้ตั้งแต่ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย และอิน โดจีน และเนื่องด้วยนกชนิดนี้เป็นนกที่มีสีสวยงามและเสียงไพเราะ จึงมีผู้นำไปเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ถิ่นอาศัยของนกชนิดนี้จะพบว่ามัก อาศัยอยู่ตามชายป่า ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตรกรรม และตามแหล่งชุมชน ในชนบท โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน เรียกได้ว่าเป็น นกของสองภูมิภาคก็ว่าได้
นกปรอทหัวโขนเป็นนกในวงศ์นกปรอท (Pycnonotidac) ซึ่งนกในวงศ์ นี้พบอาศัยอยู่ตั้งแต่ละแวกบ้านจนไปถึงบนยอดดอยสูงและตามป่าที่ราบ ต่ำ มีอยู่ด้วยกัน 36ชนิด โดยนกปรอทหัวโขนจัดอยู่ในสกุลPycnonotus ซึ่งเป็นสกุลของนกปรอทสวนเพราะนกในสกุลนี้หลายชนิด มักพบอาศัย ใกล้ชุมชนหรือตามพื้นที่เกษตรกรรม
ลักษณะทั่วไปของนกปรอทหัวโขนก็คล้ายนกปรอทอื่น ๆ คือ มีความยาวประมาณ 20ซม. มีปากเรียวแหลม ปลายปากโค้งเล็กน้อย และ มีขนสั้นแข็งบริเวณโคนปาก คอสั้น ลำตัวเพรียว ปีกสั้น หางยาวนกปรอท หัวโขนมีหงอนยาวสีดำตั้งชันขึ้นมาบนหน้าผากเป็นลักษณะเด่น มองดู คล้ายกับคนที่สวมหัวโขนหรือสวมชฎาที่มียอดแหลมขึ้นมา นกชนิดนี้จึงได้ รับฉายา "นกปรอทหัวโขน"
นอกจากนี้ลักษณะพิเศษของนกปรอทหัวโขนมีปากดำกระหม่อม ก็มีสีดำเช่นเดียวกับหงอน แก้มสีขาวและมีเส้นสีดำลากจากโคนปากลงมาต่อ กับแถบสีดำข้างคอ ใต้ตามีแต้มสีแดง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่าง สีขาว โคนหางด้านล่างสีแดง ปลายขอบหางสีขาว ขาสีดำ นกปรอทหัวโขน ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกันสำหรับนกที่ยังโตไม่เต็มวัยบริเวณหน้า ผากและหงอนมีสีน้ำตาลอมดำแต้มสีแดงใต้ตายังไม่ปรากฏ เห็นเพียงแก้ม สีขาวใต้โคนหางก็เป็นสีชมพูจาง ๆ หรือสีส้มอ่อน ๆ ยังไม่แดงเข้มเท่ากับ พ่อแม่ สำหรับแต้มสีแดงใต้ตาเป็นลักษณะเด่นของนกปรอทหัวโขนและเป็น ที่มาของชื่อชนิดทางวิทยาศาสตร์ jocosus ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน Locosus หมายถึง ครึกครื้นหรือขบขัน ทั้งนี้คงเป็นเพราะแต้มสีแดงของ นกมองดูคล้ายตลกของฝรั่งที่ชอบทาวงกลมสีแดงไว้ตรงแก้มทั้งสองข้าง ส่วนชื่อสกุล Pycnonotus มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก Puknos หมายถึง หนา หรือแน่น ส่วน noton หมายถึงหลัง เอามารวมกันจึงมีความหมายว่า นกที่มี "หลังหนาแน่น" นอกจากนี้สีแดงสดบริเวณโคนหางด้านล่าง ทำให้คนบางคน ตั้งชื่อนกชนิดยาวออกไปตามลักษณะว่า "นกปรอทหัวโขนแก้มแดง"
วิถีชีวิตนกปรอทหัวโชน
นกปรอทหัวโขนเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยตามทุ่งโล่ง ป่าละเมาะ พื้นที่ เกษตรกรรม และรอบ ๆ บ้านเรือนอาศัย เป็นนกที่ชอบอาศัยจากพื้นที่ราบไป จนถึงระดับความสูง 1,800เมตร เป็นนกที่พบเห็นได้ทั่วประเทศ แต่มันไม่ ค่อยชอบถิ่นอาศัยที่ค่อนข้างแห้งแล้ง จึงไม่ค่อยพบในพื้นที่ส่วนใหญ่ของ ภาคอีสาน ถ้าหากจะมีและพอบันทึกได้ไว้ว่า ได้พบนกนี้ทางตอนบนแถว จังหวัดหนองคายและจังหวัดเลย ซึ่งพบได้บ่อยมากตามชุมชนในเมือง ทางตอนล่างของภาคอีสานบริเวณชายแดนติดกับประเทศลาวและเขมร ในบันทึกดังกล่าวยังได้ระบุอีกว่า สามารถพบนกปรอทหัวโขนได้ตามทุ่งหญ้า ทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นทุ่งหญ้าบนบริเวณอุทยานเขาใหญ่ หนองผักชี มอสิงโต หรือบริเวณสนามกอล์ฟเก่า
สำหรับทางภาคเหนือ นกปรอทหัวโขนเป็นนกที่ผู้คนแถบนั้นรู้จัก กันดีพบเห็นได้ทั่วไปทั้งในเมืองและชนบท เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง เป็นนกที่ชอบมาอาศัยอยู่ในบริเวณรอบ ๆบ้านเรือนจนกลายเป็นสัญลักษณ์ ของนกทางภาคเหนือ ที่พบได้ทั้งในรั้วบ้าน ริมถนน หรือตามสวนผลไม้ดุจ เดียวกับนกกระจอกบ้าน หรือนกกางเขนบ้าน
นอกจากนี้ชาวเหนือยังเรียกนกปรอทหัวโขนด้วยความคุ้นเคย และเอ็นดูว่า "นกพิดชะหลิว" บางคนเรียก
"พิชลิว" หรือ"ปิ๊ดจะหลิว" ตาม แต่โสติประสาทหูจะได้ยินแตกต่างกันออกไป
แหล่งอาหารและการผสมพันธุ์
นกปรอทหัวโขนมีชีวิตคล้ายคลึงกับนกสวนทั่ว ๆไปอย่างเช่น นกกางเขน คือหากินผลไม้สุก ยอดใบอ่อน แมลงและหนอน ซึ่งแหล่งอาหารเหล่านี้ก็ อยู่ตามสวนผลไม้ทั่วไป ซึ่งนกดำรงชีวิตได้อย่างเสรีในธรรมชาติ และมัน มักชอบกระโดดบินหากินอยู่บนต้นไม้หรือบินไปตามทุ่งหญ้า เป็นนกเที่ยว จิกกินผลไม้ไปเรื่อย ๆไม่ว่าจะเป็นกล้วย มะละกิ หรือมะม่วงสุก รวมไปถึง ยอดตะขบและตำลึง ผู้เขียนเคยนั่งเฝ้ามองนกปรอทหัวโขนจิกกินแมลง ตามกิ่งไม้และใบไม้ รวมทั้งใช้วิธีบินออกไปโฉบจับกินแมลงอากาศด้วยดัง นั้นนกชนิดนี้จึงมีส่วนช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชอีกทางหนึ่งด้วย
เรามักจะพบเห็นนกปรอทหัวโขนหากินเป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆไม่ ค่อยตื่นกลัวผู้คนเว้นเสียว่าถูกมนุษย์รบกวนอยู่บ่อย ๆ ก็จะย้านถิ่นฐาน ด้วยเหตุนี้ในบางท้องถิ่นที่มักจับนกป่า (ธรรมชาติ) มาฝึกฝนส่งเสียงร้อง ทำให้ถูกดักจับได้ง่ายและคราวละหลาย ๆตัว สำหรับฤดูผสมพันธุ์ของ นกปรอทหัวโขนจะอยู่ในราวเดือนเมษายนจนถึงเดือนกรกฎาคม ถึงช่วงนี้ นกปรอทหัวโขนจะจับคู่และพากันแยกออกจากฝูงเพื่อไปสร้างรังและวาง ไข่ ตัวเมียจะสร้างรังอยู่ตามง่ามไม้มีทั้งบนต้นไม้และตามพุ่มไม้ โดยนำกิ่งไม้เล็ก ๆ พร้อมใบไม้และใบไม้ไผ่มาสานกันเป็นรังรูปถ้วย นกที่อาศัยอยู่ใกล้บ้านคนบางตัวยังรู้จักนำเศษวัสดุมาสานรังด้วยหลังจากสร้างรังเสร็จจึงมีการวางไข่ครั้งละ 2-3ฟอง เปลือกไข่มีสีน้ำตาลอ่อน และมีจุดสีน้ำตาลอมม่วงกระจายอยู่ทั่ว แม่นกจะกกไข่อยู่ประมาณ 15วัน ไข่จึงฟักออกมาเป็นตัว แล้ว ใช้เวลาอีกประมาณ 15-20วัน ที่พ่อแม่ฟูมฟักเลี้ยงจนโตพอจะเริ่มหัด บินได้




โดย : นาย ปริญญา หงษ์ทอง, Rhajabhat Institue Petchburiwittayalongkorn phahonyothin Road,Kw 48 Klong Luang, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545