"หมีเหม็น"กับภูมิปัญญไทย

นายเกษตร “หมีเหม็น” กับภูมิปัญญาไทย . ไทยรัฐ 9 ก. ค. 2544 น. 13

การทำแชมพูด้วยพืชสมุนไพรเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในยุคปัจจุบัน ซึ่งต้น “หมีเหม็น” เป็นพันธ์ไม้ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านในจังหวัดอุดรธานีและแถบอีสานตอนบนรู้จักนำไปใช้ปรัะโยชน์ทำเป็นแชมพูรักษาโรคดกี่ยวกับหนังศีษระและเส้นผมได้ผลเด็ดขาดนัก โดยใช้ใบ 4-5 ใบ ขยี้ในน้ำซาวข้าวหมักกับเปลือกมะกรูดทิ้งไว้ 1 คืน หรือไม่หมักก็ได้ น้ำที่ได้จาการขยี้จะเป็นเมือกสีเขียวอ่อน ลื่น นำไปสระผมเป็นแชมพูสมุนไพรจะเป็นฟองขณะสระเหมือนสระแชมพูทั่วไป สามารถรักษาโรครังแค ชันนะตุ และแผลบนแถบศีรษะขาดหายได้ ที่สำคัญน้ำแชมพูนี้จะ ทำให้ ผมดำ เป็นมันอ่อนสลวยมีน้ำหนักอีกด้วย ชาวบ้านเรียกว่า “ใบหมี”
ส่วนรายงานการวิจัยของ กรมป่าไม้ รากเป็นยาฝายสมานและบำรุง ต้นมียางเป็นยาฝายสมาน แก้บิดท้องเสีย กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ( ต้มน้ำกิน) ทาแก้พิษแมลงกัดต่อย แก้ปวด บดเป็นผงผสมน้ำหรือน้ำนมคนทาแก้อักเสบและเป็นยาห้ามเลือด ใบมีเยื่อเมือกมาก ใช้เป็นยาฝายสมาน แก้อาการระคายเองของผิวหนัง ตำเป็นยาพอกแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ ผลกินได้และให้นำมัน ปรักอบด้วย LAUROSTARIN และ OLEIN ใชทำสบู่ได้ ตำเป็นยาพอกฝี เปลือกต้นพบ ALKALOID LAUROTETANINE
ตำรายสาไทย ใช้รากแก้ปวดกล้ามเนื้อ เปลือกต้น แก้บิด แก้ปวดมดลูก ใบและเมล็ดตำพอกฝีแก้ปวด ยาพื้นบ้านใช้เปลือกต้นหรือรากผสมกับเมล็ดหรือผลน้อยหน่าที่แห้งคาต้น ฝนทารอบฝีให้รัดหนองออกมา
หมีเหม็นอยู่ในวงศ์ LAURACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 5 –15 เมตร ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปรีแกมขอบขนาน ผิวใบด้านล่างมีขน ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบรวมหรือมี 1-3 กลีบ สีเหลืองนวล มีเกสรจำนวนมาก ผลเป็นผลสด รูปทรงกลม เมื่อสุกเป็นสีม่วงเข้ม กินได้ รสหวานอมเปรี้ยว มีชื่อเรียกอีกเยอะคือ ดอกจุ๋ม , ตังสีไพร , ทังบวน , มะเย้อ , ยุบเหยา , มัน , หมี , หมูทลวง , หมูเหม็น และ อีเหม็น ปลูกได้ในดินทั่วไปเหมาะจะปลูกเป็นทั้งไม้ประดับและสมุนไพร




โดย : นางสาว nattaya muenrad, ripw คลองหลวง ปทุมธานี 13180, วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2545