มะละกอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carica papaya Linn.
วงศ์ Caricaceae
ชื่อท้องถิ่น มะก๊วยเต็ด ก๊วยเทด (ภาคเนือ เชียงใหม่)
ลอกอ (ภาคใต้) แตงต้น (สตูล) หมักหุ่ง (นครพมน เลย อีสาน)
ลักษณะของพืช มะละกอเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน สูงราว 5-7 เมตร
ใบออกเป็นกลุ่มที่ยอดของลำต้น อาจจะพยแขนงย่อยบ้าง 1-2 กิ่ง ทุกส่วน
ของพืชมียางสีขาว ใบมะละกอมีสีเขียวใบไม้ มีลักษณะเป็นหยักลึกเข้าหากลางใบ 7-11 หยัก
ด้วยกัน ก้านใบกลวงและค่อนข้างยาว ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น มีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลและขนาดมีความแตกต่างกันแต่ละชนิดสายพันธุ์ โดยทั่วไปจะมีลักษณะกลมป้อม
ถึงเรียวยาวเมื่อสุกเนื้อในจะมีสีส้มหรือแดง มีเมล็ดสีดำเป็นจำนวนมาก
การปลูก มะละกอเป็นพืชที่ต้องใช้เมล็ดปลูก สามารถขึ้นได้ทั่วไปของ
ประเทศไทยชอบดินร่วนซุยอุดมสมบูรณ์ น้ำไม่ขัง ต้องการแสงแดดจัด เขตที่มีฝนตกชุกมีความชุ่มชื้น
จะให้ดอกและผลดกและโตกว่าที่แห้งแล้ง การปลูกใช้เมล็ดเพาะเป็นกล้าสูงประมาณ 4-5 นิ้ว ย้าย
มาปลูกที่เขตที่เตรียมไว้ ก่อนปลูกให้ตัดใบออกไปบ้างเพื่อลดระยะระหว่างแถวและการสูญเสียน้ำ ระยะ
ระหว่างต้นประมาณ 2 เมตร ในระยะแรกควรปลูกให้หนาแน่นไว้ก่อนเพื่อเลือกเพศ เมื่อ
เลือกเพศได้แล้วจึงตัดต้นไม้ที่ไม่ต้องการไปให้เหลือต้นตัวผู้ 1 ต้นต่อต้นตัวเมียทุกๆ 9 ต้น
คุณค่าทางอาหาร มะละกอสุกนับว่าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน มีวิตามิน
เอมาก ช่วยบำรุงสายตา และยังประกอไปด้วยน้ำตาล วิตามิน บีหนึ่งและบีสอง วิตามิน ซี
เกลือแร่ต่างๆ อีกไม่น้อย เป็นต้นว่า แคลเซียม ฟอสฟอรัส รวมทั้งมีกากหรือเส้นใสอาหารมาก
มะละกอดิบมีน้ำย่อย "พาเพน" ช่วยย่อยอาหารประเภทเนื้อได้ดี นิยมใช้ทำเป็นอาหารมาก เช่น ส้มตำ
แกงส้ม ผัดกับไข่ก็ได้ผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำ รับประทานมะละกอสุกทุกวันจะทำให้การขับถ่ายสะดวก คล่อง
เพราะอุจจาระจะมีลักษณะอ่อนนิ่มอยู่เสมอนั้นเอง
|