สาหร่าย

สาหร่าย (algae) คือ พืชชั้นต่ำที่อาศัยอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่ แต่บางชนิดพบในดิน ก้อนหินชื้นๆ หรือในบ่อน้ำร้อน มีสารรงควัตถุหลัก 3 ชนิด คือ คลอโรฟิลล์ (chlorophyll), คาดรทีนอยด์ (carotenoid) และไฟโคบิลิน (phycobilin) สาหร่ายส่วนใหญ่จะมีสีเขียว คุณค่าทางอาหารจากสาหร่าย ได้แก่ โปรตีน คาร์โบ"ฮเดรต เกลือแร่ (โดยเน้นไอโอดีน) และวิตามิน

สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว ชื่อ Spirulina พบว่ามีปริมาณโปรตีนสูงถึง 65-70% ของน้ำหนักแห้ง ซึ่งมากกว่าโปรตีนในเนื้อสัตว์และไข่ เท่ากับ 20 และ 18% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี1, บี3, บี6, ซี, ไนอาซิน และอี รวมทั้งแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียม และเหล็ก
นอกจากนี้ สาหร่ายบางชนิดสามารถให้วุ้น ซึ่งเป็นสารประกอบของน้ำตาลหลายโมเลกุล (polysaccharide) 2 กลุ่ม คือ agarose และ agaropectin ซึ่งสกัดได้จากสาหร่ายทะเลให้วุ้น (agarophytes) อีกด้วย

แหล่งที่มา
. นวรัตน์ เหล่าชวลิตกุล (2532), สาหร่ายที่รับประทานได้ (1) และ (2), วิทยาศาสตร์เพื่อเยาวชน 2, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงานหน้า 65-66.

2. อาภารัตน์ เชษฐสุมน (2532), วุ้น, วิทยาศาสตร์เพื่อเยาวชน 2, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงานหน้า 75.



โดย : นางสาว POTJANEE KETMAI, Praatunam pra-in Post office 13180, วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2545