พลังงานความร้อน

แหล่งกำเนิดพลังงานความร้อน มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์ , ความร้อนใต้พื้นผิวโลก , การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง , พลังงานไฟฟ้า , พลังงานนิวเคลียร์ ฯลฯ
ผลของความร้อน ความร้อนทำสารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะ
ไปและนอกจากนี้แล้วพลังงานความร้อน ยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย
หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน ในการวัดปริมาณความร้อน ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แคลอรี่มิเตอร์

ระบบเมตริก ระบบเอสไอ ระบบอังกฤษ
แคลอรี่ (Cal) จูล (J) บีทียู (Btu)
กิโลแคลอรี่ (Kcal) กิโลจูล (KJ)

ปริมาณความร้อน 1 แคลอรี่ (1 Cal) คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำมวล 1 กรัมมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส
ปริมาณความร้อน 1 กิโลแคลอรี่ (1 Kcal) คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำมวล 1 กิโลกรัม มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส
ปริมาณความร้อน 1 กิโลแคลอรี่ = 1000 แคลอรี่
ปริมาณความร้อน 1 บีทียู (1 Btu) คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำมวล 1 ปอนด์มีอุณหภูมิสูงขึ้น
1 องศาฟาเรนไฮด์
ปริมาณความร้อน 1 Btu = 252 Cal
ปริมาณความร้อน 1 จูล (1 J) คือ ปริมาณความร้อนที่มีขนาดเท่ากับงานที่เกิดจากแรง 1 นิวตัน (N)
กระทำต่อวัตถุแล้วมีผลให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของแรงกระทำเป็นระยะทาง 1 เมตร (m)
เจมส์จูล นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษพบว่า พลังงานความร้อน 1 แคลอรี่เกิดจากการทำงาน 4.2 จูล ดังนั้นเราจึงใช้ตัวเลขค่านี้คำนวณพลังงานความร้อนจากแคลอรี่เป็นจูลได้ นั่นคือ


1 Cal = 4.2 J
1 Kcal = 4200 J












โดย : นาย kraengkai kamonwech, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัม, วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2545