ขมิ้น

ขมิ้นชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L.

วงศ์ Zingiberaceae

ชื่อพ้อง Curcuma domestica Valeton

ชื่อสามัญ ขมิ้น* ขมิ้นแกง ขมิ้นชัน ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น ตายอ สะยอ หมิ้น

Turmeric

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เนื้อในสีเหลืองอมส้ม มีกลิ่นหอม ใบออกเป็นรัศมีติดผิวดิน รูปหอกแกมขอบขนาน ดอกออกเป็นช่อ ใบประดับสีเขียวอ่อนๆ หรือสีขาว รูปหอกเรียงซ้อนกัน ใบประดับ 1 ใบ มี 2 ดอก ใบประดับย่อยรูปขอบขนานด้านนอกมีขน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ มีขน กลีบดอกสีขาว โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว ปลายแยกเป็น 3 ส่วน เกสรผู้คล้ายกลีบดอก มีขนอับเรณูอยู่ที่ใกล้ๆ ปลาย ท่อเกสรเมียเล็ก ยาว ยอดเกสรเมียรูปaaaaaปากแตร เกลี้ยง รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 ใบ

ส่วนทีใช้ประโยชน์ :

เหง้าสด และแห้ง

สรรพคุณ :

แก้ท้องเสีย แก้แน่นจุกเสียด รักษาโรคกระเพาะอาหาร ภายนอกใช้รักษาแผลเรื้อรังและแผลสด

แหล่งกำเนิดและกระจายพันธุ์ :

ขมิ้นชัน มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับแหล่งธรรมชาติในสภาพพืชป่า มีข้อสันนิษฐานว่า ขมิ้นชันเป็นพืชปลูกที่เกิดจากกระบวนการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติและมีโครโมโซม 3 ชุด ซึ่งเป็นหมัน มีการสืบทอดพันธุ์กันต่อมาโดยวิธีการคัดเลือกพันธุ์และขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ปัจจุบันมีเขตการกระจายพันธุ์ปลูกทั่วไปในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนหรือร้อนชื้น ทั่วโลก แหล่งที่ปลูกขมิ้นชันเป็นการค้าขนาดใหญ่ของโลก คือ อินเดีย มีแหล่งอื่นบ้างแถบเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงaใต้ ซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม :

ขมิ้นชันเจริญเติบโตได้ดี ทั้งในที่โล่งแจ้งหรือมีแสงรำไรแต่ในสภาพร่มผลผลิตจะลดลง ชอบอากาศร้อนชื้น ดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี ไม่ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขัง pH ระหว่าง 5-7 ดินที่เป็นด่างจัด ดินเหนียวหรือดินลูกรังจะไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของเหง้า สามารถปลูกได้ในพื้นที่ระดับต่ำไป จนถึงพื้นที่ระดับสูง 1,200 เมตร มักปลูกกันมากที่ระดับความสูง 450-900 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง และปลูกได้ดีในพื้นที่เขตน้ำฝน โดยเฉพาะบริเวณที่มีปริมาณ น้ำฝน 1,000-2,000 มิลลิเมตรต่อปี หรือที่


โดย : นาย ภาคภูมิ ศรีอนันต์, ร.ร.สวนศรีวิทยา, วันที่ 30 มกราคม 2547