การโคลนนิ่ง
๓ รูปแบบของการ 'โคลนนิ่ง' (๖ ม.ค. ๔๕)
วัน Tuesday 07 Jan 03@ Central Standard Time
หัวข้อ: ไลฟ์สไตล์


การโคลนนิ่ง หลังจากที่มีข่าวเกี่ยวกับการโคลนนิ่งมนุษย์สำเร็จในช่วงปลายปี ๔๕ ที่ผ่านมา (ตามการแถลงข่าวของบริษัทโคลนเนด, Clonaid ซึ่งยังไม่มีการยืนยันว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงหรือหลอกลวง) ก็เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากว่าเป็นเรื่องควรหรือไม่ควร ถูกหรือผิด ที่จะโคลนนิ่งมนุษย์ พอดีเจอบทความเกี่ยวกับการโคลนนิ่ง จึงจดเก็บไว้เป็นข้อมูล...

    ๓ รูปแบบของการ 'โคลนนิ่ง'
  • เอ็มบริโอ โคลนนิ่ง เป็นการสร้างแฝดเหมือนจากไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว โดยเริ่มการโคลนนิ่งโดยการกระตุ้นไข่ที่ผสมแล้วให้แบ่งเป็นตัวอ่อน เป็น ๒, ๓, ... ตัว โดยทั้งหมดจำมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันทั้งหมด วิธีการนี้ มีการใช้กับสัตว์หลายพันธุ์ หลายชนิดมาแล้วหลายปี แต่กับคน ยังอยู่มีการทดลองในวงแคบๆ
  • ดีเอ็นเอ โคลนนิ่ง เป็นการจำลองพันธุกรรมจากสัตว์หรือมนุษย์ที่โตเต็มวัย เพื่อสร้างให้เหมือนกับต้นแบบ โดยการแยกนิวเคลียสออกจากไข่ กระจุ้นด้วยไฟฟ้าเพื่อประสานนิวเคลียสจากเซลล์ต้นแบบเข้าแทนที่ และนำไข่ที่ประสานนิวเคลียสแล้วถูกกระตุ้นให้แบ่งตัวเป็นตัวอ่อน และนำตัวอ่อนกลับไปไว้ที่ 'แม่' สิ่งที่ได้ออกมาจะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับ 'ต้นแบบ' แกะดอลลี่ ใช้วิธีการโคลนนิ่งแบบนี้
  • การโคลนเพื่อสร้างอวัยวะ ใช้วิธีการแบบ ดีเอ็นเอ โคลนนิ่ง แต่จะทำเฉพาะอวัยวะเป็นส่วนๆ เพื่อนำอวัยวะมาทดแทนส่วนที่เสื่อมสภาพของเจ้าของเซลล์
อ้างอิง

ที่มา : บทความ

โดย : นาย ณัฐวุฒิ พุทธรักษา, ร.ร.สวนศรีวิทยา, วันที่ 18 พฤศจิกายน 2547