ดาวต่างๆ
  • ดาราศาสตร์ คือ การศึกษาเกี่ยวกับดวงดาวและปรากฏการณ์ต่างๆ ของวัตถุในท้องฟ้า ดาราศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ดังนี้
    1. ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจธรรมชาติ วัตถุ และปรากฏการณ์ทางท้องฟ้า
    2. สามารถเอาชนะธรรมชาติบางอย่างได้ ทำให้ไม่หลงงมงายและมีความเชื่อผิดๆ

    14.1 วัตถุในท้องฟ้ามีอะไรบ้าง

  • ดาวต่างๆ ที่มองเห็นบนท้องฟ้า เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเอกภพหรือจักรวาล ดาวต่างๆ ในเอกภพจะรวมกันอยู่เป็นกลุ่มๆ เรียกว่า กาแล็กซี หรือ ดาราจักร
  • โลก อยู่ในเอกภพ และอยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก
  • ดาวทุกดวงที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าอยู่ใน กาแล็กซีทางช้างเผือก เราไม่สามารถมองเห็นดาวในกาแล็กซีอื่นๆ
  • เอกภพหรือจักรวาล คือ ระบบที่กว้างใหญ่ไพศาลประกอบด้วยกาแล็กซีกระจัดกระจายกันอยู่ประมาณ 1 แสน ล้านกาแล็กซี และที่ว่างระหว่างกาแล็กซี ระยะทางระหว่างกาแล็กซีไกลกันมากนับเป็นล้านปีแสง
  • ๑ ปีแสง คือ ระยะทางที่แสงเดินทางในอวกาศเป็นเวลานาน 1 ปี คิดเป็นระยะทาง ประมาณ 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร ปีแสงจึงเป็นหน่วยวัดระยะทาง
    * แสงมีความเร็วประมาณ ๓ x ๑๐ กิโลเมตรต่อวินาที หรือ ๓ x ๑๐ เมตรต่อวินาที
  • กาแล็กซีหรือดาราจักร คือ ระบบที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์ รวมทั้งดาวเคราะห์ ดาวหาง อุกกาบาต ฝุ่นผง และก๊าซในอวกาศ
  • เนบิวลา คือ กลุ่มก๊าซและฝุ่นผงในอวกาศที่จับกลุ่มกันค่อนข้างหนาแน่นอยู่ในที่ว่างระหว่าง ดาวฤกษ์ เนบิวลามีทั้งประเภทเรืองแสงและไม่เรืองแสง
  • กาแล็กซีทางช้างเผือก ประกอบด้วยดาวฤกษ์ประมาณ 100,000 ล้านดวง ถ้ามองจากด้านข้างมีรูปร่างคล้ายเลนส์นูน มีความหนาประมาณ 20,000 ปีแสง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง ดวงอาทิตย์อยู่ที่แขนของกาแล็กซี ห่างจากใจกลางกาแล็กซีประมาณ 30,000 ปีแสง
  • ดาวที่เห็นบนท้องฟ้า แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
    1. ดาวฤกษ์          มีแสงสว่างในตัวเอง
    2. ดาวเคราะห์     ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง
  • เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินว่า ดาวที่เห็นบนท้องฟ้าเป็นดาวฤกษ์หรือดาวเคราะห์ มีดังนี้
    1. ลักษณะการส่องแสงของดาว ถ้ากะพริบแสงเห็นดาวฤกษ์ ถ้าแสงนวลนิ่งเป็นดาวเคราะห์
    2. การเคลื่อนที่ของดาว เปรียบเทียบกับดาวส่วนใหญ่บนท้องฟ้า ถ้าไม่เคลื่อนที่ เกาะกลุ่มกับดาวอื่น ในตำแหน่งเดิมเป็นดาวฤกษ์ ถ้าเคลื่อนที่ไม่เกาะกลุ่มกับดาวอื่นในตำแหน่งเดิมเป็นดาวเคราะห์
  • ระบบสุริยะ ประกอบด้วย ดาวเคราะห์ 9 ดวง ดาววเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาตที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ที่โคจรรอบดาวเคราะห์ต่างๆ

    ตารางที่ 14.1 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์และจำนวนดวงจันทร์บริวารที่พบ
    ดาวเคราะห์
    ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (km)
    ระยะทางเฉลี่ยจาก
    ดวงอาทิตย์ (ล้านกิโลเมตร)
    จำนวนดวงจันทร์บริวารที่พบ (ดวง)
       ดาวพุธ
       ดาวศุกร์
       โลก
       ดาวอังคาร
       ดาวพฤหัส
       ดาวเสาร์
       ดาวยูเรนัส
       ดาวเนปจูน
       ดาวพลูโต
    4,850
    12,032
    12,739
    6,755
    141,968
    119,296
    52,096
    48,600
    2,284
    57.6
    107.52
    148.8
    225.6
    772.8
    1,417.6
    2,852.8
    4,496.6
    5,865.6
    -
    -
    1
    2
    16
    20
    15
    8
    1

  • ดาวเคราะห์น้อย คือของแข็งขนาดต่างๆ จำนวนมากที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่าง วงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัส
  • ดาวเคราะห์วงใน คือ ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธและดาวศุกร์
  • ดาวเคราะห์วงนอก คือ ดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต
  • ดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์เป็นบริวารมากที่สุด คือ ดาวเสาร์
  • ดาวเคราะห์ที่ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร คือ ดาวพุธและดาวศุกร์
  • ดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ ดาวพลูโต
  • ดาวเคราะห์ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลก คือ ดาวพูธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส และดาวเสาร์

    14.2 มองท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์

  • การศึกษาวัตถุในท้องฟ้า ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ กล้องโทรทรรศน์ที่มีส่วนประกอบไม่ซับซ้อน สามารถทำได้เองหรือซื้อหาได้ง่าย คือ กล้องโทรทรรศน์ประเภทหักเหแสง
  • ส่วนประกอบที่สำคัญ ของกล้องโทรทรรศน์ประเภทหักเหแสงคือ เลนส์นูน
  • เลนส์นูนทำจาก แก้วหรือพลาสติก เลนส์นูนมีส่วนตรงกลางหนากว่าขอบปลาย
  • เลนส์นูนทำหน้าที่ รวมแสง เมื่อแสงตกกระทบเลนส์นูน แนวลำแสงที่ผ่านเลนส์จะหักเหไปรวมกันที่จุดๆ หนึ่งจุดนี้เรียกว่า จุดโฟกัส

ที่มา : www.google.co.th

โดย : เด็กหญิง ธนิษฐา แก้วขวาน้อย, ร.รสูงเนิน, วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2547