header


เอกสารประกอบการเรียน
เรื่อง การกำเนิดของสิ่งมีชีวิต
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตได้
2. อธิบายสมมติฐานเกี่ยวกับการเกิดสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มบนโลกได้
3. สรุปได้ว่าสิ่งมีชีวิตต้องมีกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตได้
สาระสำคัญ
สิ่งมีชีวิตมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มเกิดขึ้นได้เองจากปฏิกิริยาทางเคมีของก๊าซที่มีอยู่ในบรรยากาศของโลกขณะนั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มไม่สารมารถเกิดขึ้นได้อีก สิ่งมีชีวิตรุ่นต่อมาจึงเกิดจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นบรรพบุรุษเท่านั้น โดยอาศัยกระบวนการสืบพันธุ์
การกำเนิดของสิ่งมีชีวิต
ชีวิตคืออะไร เป็นคำถามที่หลายคนคงต้องใช้ความคิดและไม่สามารถหาคำตอบที่แน่ชัดได้ เพราะคำว่า ชีวิต มีความหมายในเชิงนามธรรม แต่ถ้าถามว่า สิ่งมีชีวิตคืออะไร เราทุกคนสามารถตอบและแยกแยะสิ่งมีชีวิตได้โดยไม่ยากนัก เนื่องจากว่าสิ่งมีชีวิตมีความหมายในเชิงรูปธรรม ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีโครงสร้างประกอบด้วยกรดนิวคลีอิก ซึ่งเป็นตัวควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม และมีกระบวนการทางชีววิทยา อันได้แก่ กระบวนการเมทาบอลิซึม การสืบพันธุ์ การเจริญเติบโต การปรับตัว และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
สิ่งมีชีวิตบนโลกมีจำนวนมากมาย จากรายงานพบว่ามีไม่ต่ำกว่า 1.7 ล้านชนิด จึงได้มีการจัดสิ่งมีชีวิตให้เป็นพวกๆได้หลายจำพวก เช่น พืช สัตว์ ยีสต์ รา แบคทีเรีย เป็นต้น ถ้าแบ่งสิ่งมีชีวิตตามวิธีการได้มาซึ่งอาหารและการดำรงชีวิตแล้ว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพืชหรือกลุ่มผู้ผลิต กลุ่มสัตว์หรือกลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มจุลลินทรีย์หรือกลุ่มผู้ย่อยสลาย ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้จะดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลในธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะสามารถตอบและแยกแยะได้ว่า สิ่งมีชีวิตคืออะไร และอะไรเป็นสิ่งมีชีวิตแต่ก็มีคำถามตามมาว่า สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มในโลกถือกำเนิดมาได้อย่างไร อะไรคือสิ่งมี



-2-
ชีวิตแรกเริ่ม ซึ่งคำถามดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาค้นคว้า และตั้งสมมติฐานกันไปต่างๆนานา
การศึกษาสิ่งมีชีวิตสามารถศึกษาได้หลายแนวทาง คืออาจศึกษาจากโครงสร้างทั่วไปของสิ่งมีชีวิตหรือศึกษาส่วนประกอบของเซลล์ เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบอวัยวะ หรืออาจศึกษาได้จากระบบนิเวศ ตั้งแต่องค์ประกอบย่อยของระบบนิเวศคอประชากร จนถึงโกของสิ่งมีชีวิต
ลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิต
การที่เรามองดูสิ่งต่างๆที่อยู่ที่อยู่รอบตัวเราแล้วสามารถตอบได้ทันทีว่าสิ่งใดเป็นสิ่งมีชีวิตนั้น เป็นเพราะสิ่งมีชีวิตมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งแตกต่างจากสิ่งไม่มีชีวิต กระบวนการทางชีววิทยาเป็นลักษณะเฉพาะประการหนึ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการแยกสิ่งมีชีวิตออกจากสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งได้แก่
1. เมตาบอลิซึม หมายถึง กระบวนการทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยกระบวนการแยกสลายสารและกระบวนการสังเคราะห์สาร เพื่อเอาพลังงานมาใช้ประโยชน์ในการทำหน้าที่ต่างๆเช่นการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์และการเคลื่อนไหว การขับถ่ายของสิ่งมีชีวิต
2. การตอบสนองต่อสิ่งเร้า สิ่งเร้ามีทั้งภายในและภายนอก สิ่งเร้าภายใน เช่น ฮอร์โมน สิ่งเร้าภายนอก เช่น อุณหภูมิ แสงสว่าง อาหาร เป็นต้น การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิตมองเห็นได้ไม่ยากนัก เช่น ดอกพุดตานจะเปลี่ยนเป็นสีขาวในตอนเช้าและเป็นสีชมพูในตอนเย็น สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็คือ แสง นอกจากนี้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าในแล่ของการเคลื่อนไหวก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งของสิ่งมีชีวิต เช่น ต้นก้ามปูจะหุบใบหมดทั้งต้นเมื่อไม่ได้รับแสง พลูด่างจะเอียงลำต้นเข้าหาแสงเมื่ออยู่ใกล้แสง ต้นไมยราบจะหุบใบเมื่อได้รับการสัมผัส เป็นต้น อย่างไรก็ดีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในลักษณะนี้ต้องเกิดจากแรงที่กระทำภายในเท่านั้น ถ้าการเคลื่อนไหวเกิดจากแรงกระทำจากภายนอก เช่นลมพัดใบไม้ไหว กระดาษปลิวไปตามลม เป็นต้น ไม่ถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิต
3. การเจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีการเจริญเติบโต ลักษณะของการเจริญเติบโตจะเกิดขึ้นจากภายในออกสู่ภายนอก ทำให้สิ่งมีชีวิตมีขนาดเพิ่มขึ้นและมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปให้เหมาะสมกับต้นแบบของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด เช่นเมล็ดงอกเป็นต้นแล้วเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่เป็นต้น ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต แม้จะมีความสามารถในการเพิ่มขนาดและน้ำหนักได้แต่ไม่จัดอยู่ในลักษณะของการเจริญเติบโต เพราะเกิดจากการเพิ่มพูนจากภายนอก เช่น การเพิ่มพูนขนาดของผลึกสารส้มและผลึกจุนสี เมื่อทดลองเลี้ยงผลึกดังกล่าวในสารละลายอิ่มตัวของสารส้มและจุนสีตามลำดับ เป็นต้น

-3-
4. สืบพันธุ์ เป็นกระบวนการทางชีววิทยาที่สำคัญที่สุดที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้ โดยทั่วไปการสืบพันธุ์ไม่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต เพราะเราสามารถตัดอวัยวะสืบพันธุ์ทิ้งได้โดยไม่ตาย แต่จำเป็นสำหรับการดำรงเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ เพราะหากไม่มีการสืบพันธุ์ สิ่งมีชีวิตนั้นก็ไม่อาสืบลูกหลานต่อไป และจะสูบพันธุ์ไปในที่สุด
การสืบพันธุ์เป็นการเกิดสิ่งมีชีวิตตัวใหม่จากสิ่งมีชีวิตตัวเดิม เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรของตนเองการสืบพันธุ์มี 2 แบบ คือ
4.1 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการรวมตัวกันของเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่ คือสเปิร์มกับไข่ ลูกที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึง หรือแตกต่างจากพ่อแม่ก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม
4.2 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ การสืบพันธุ์แบบนี้มีหลายแบบ ได้แก่การแตกหน่อ การแบ่งออกเป็นสองส่วน และการแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตัวอย่างการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่น การแตกหน่อของต้นกล้วย การแตกหน่อของยีสต์ การงอกใหม่ของใบคว่ำตายหงายเป็น เป็นต้น ลูกหลานที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบนี้จะไม่มีความแตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตเดิม ดังนั้น ถ้าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเกิดขึ้น สิ่งมีชีวิตอาจตายพร้อมๆกันและสูญพันธุ์ไปในที่สุด
5. การปรับตัว สิ่งมีชีวิตต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่นตั๊กแตนกิ่งไม้ปรับตัวให้เข้ากับกิ่งไม้ที่เกาะอยู่ ปลาหมอเทศปรับตัวให้ทนทานต่อน้ำที่เปลี่ยนแปลงความเค็มได้ตลอดเวลา เป็นต้น การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตนั้นอาจปรับตัวทางด้านรูปร่าง สรีระ หรือด้านพฤติกรรมก็ได้ ความสามารถในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีวิตอยู่และแพร่พันธุ์ต่อไปในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปนี้เองที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตขึ้นมา
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะต้องมีลักษณะเฉพาะทุกประการที่กล่าวมา ยกเว้นลักษณะที่เป็นความสามารถในการปรับตัว ซึ่งสิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจจะไม่มี สิ่งมีชีวิตบางชนิดดำรงชีวิตอบู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งในขณะที่สิ่งแวดล้อมยังมีความเหมาะสม แต่เมื่อใดสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเท่านั้นที่จะดำรงชีวิตอยู่และสืบลูกหลานต่อไป

กิจกรรม
ตอนที่1
คำสั่ง จงตอบคำถามหรือเติมช่องว่างด้วยคำหรือข้อความสั้นๆ
1. คำถาม สิ่งมีชีวิตถ้าแบ่งตามการได้มาซึ่งอาหารและการดำรงชีวิตแบ่งได้เป็น…….กลุ่ม คือ
คำตอบ แบ่งได้เป็น………กลุ่ม คือ
…………………………………………………………………………………………………
-4-
2. คำถาม กระบวนการทางชีววิทยา หมายถึง
คำตอบ ……………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………….
3. คำถาม กระบวนการทางชีววิทยาที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงเผ่าพันธุ์มาได้จนถึงทุกวันนี้ คือ
คำตอบ ……………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………….
4. คำถาม หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต คือ
คำตอบ ……………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………….
5. คำถาม ดอกพุดตานเปลี่ยนจากสีขาวในตอนเช้าและเป็นสีชมพูในตอนเย็น เป็นลักษณะของสิ่งมีชีวิตทางด้าน
คำตอบ ……………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………….
6. คำถาม ต้นอ้อโอนเอนไปมาเพราะถูกแรงลม ไม่จัดเป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิต เพราะ
คำตอบ ……………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………….
7. คำถาม การเกิดสิ่งมีชีวิตใหม่จากสิ่งมีชีวิตเดิม เรียกว่า
คำตอบ ……………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………….
8. คำถาม การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตมี 2 แบบ คือ
คำตอบ 1. …………………………………
2. …………………………………
9. คำถาม ลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจจะไม่มี คือ
คำตอบ ……………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………….
10. คำถาม ลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่และสืบพันธุ์ต่อไปได้ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป คือ
คำตอบ ……………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………….

-5-
แนวคำตอบกิจกรรม ตอนที่1
1. แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มพืชหรือกลุ่มผู้ผลิต
2. กลุ่มสัตว์หรือกลุ่มผู้บริโภค
3. กลุ่มจุลลินทรีย์หรือกลุ่มผู้ย่อยสลาย
2. เป็นกระบวนการที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตที่สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการแยกสิ่งมีชีวิตออกจากสิ่งไม่มีชีวิต
3. กระบวนการสืบพันธุ์
4. เซลล์
5. การตอบสนองต่อสิ่งเร้า
6. ไม่เกิดจากแรงที่กระทำภายใน
7. กระบวนการสืบพันธุ์
8. 1. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
2. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
9. การปรับตัว
10. การปรับตัว

แนวความคิดเกี่ยวกับกำเนิดของสิ่งมีชีวิต
ในอดีต เมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการค้นคว้าอย่างกว้างขวาง และตั้งสมมติฐานกันไปต่างๆนานาเกี่ยวกับการกำเนิดของสิ่งมีชีวิต โดยนักวิทยา-ศาสตร์ในสมัยนั้นได้มีแนวความคิดเกี่ยวกับกำเนิดของสิ่งมีชีวิตเป็น 2 แนวทาง คือนักวิทยา-ศาสตร์กลุ่มหนึ่งเชื่อว่า สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้เองจากสิ่งไม่มีชีวิต (Spontaneous generation theory) และอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า สิ่งมีชีวิตเกิดจากอำนาจลึกลับ (Special creation theory) ซึ่งแนวความคิดหรือทฤษฎีหลังนี้ไม่ค่อยจะได้รับการสนับสนุนเพราะขัดแย้งกับหลักการทางวิทยาศาสตร์
ส่วนแนวความคิดที่ว่า สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้เองจากสิ่งไม่มีชีวิตนั้นได้รับการสนับสนุนจาก อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก โดยเขาให้ความเห็นว่า โลกมีธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีพลังชีวิตซึ่งเป็นพลังธรรมชาติสามารถเปลี่ยนสิ่งไม่มีชีวิตให้เป็นสิ่งมีชีวิตได้ เช่น กบเกิดจากน้ำ แมลงวันเกิดจากอาหารเน่าบูด เป็นต้นแต่ความคิดของอริสโตเติลได้ถูกปฏิเสธโดยนักวิทยาศาสตร์ในยุคต่อมา ใน ค.ศ. 1860 หลุยส์ ปลาสเตอร์ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ด้วยการทดลองโดยใช้น้ำซุปที่ฆ่าเชื้อแล้วใส่ขวดแก้ว 2 ใบตั้งทิ้งไว้ ขวดใบที่ปลายปิดจะไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น ส่วนขวดที่ปลายเปิดมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น

-6-



รูปหน้า 7 วพ





แม้หลุยส์ ปลาสเตอร์ และนักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นจะทำการทดลองและพิสูจน์ได้ว่า สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นเองไม่ได้ ต้องเกิดมาจากสิ่งมีชีวิตด้วยกัน แต่ก็ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มบนโลกถือกำเนิดมาได้อย่างไรเมื่อโลกยังไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่เลย จึงทำให้เกิดแนวความคิดขึ้นมาใหม่ว่า สิ่งมีชีวิตมาจากภายนอกโลก โดยติดมาจากดาวตกหรืออุกกาบาต แล้วมาเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์อยู่บนโลก
ใน ค.ศ. 1924 อเล็กซานเดอร์ โอปาริน นักชีวเคมีชาวรัสเซีย และ ฮัลเดน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตไว้ว่า เมื่อประมาณ 2,000 ล้านปีผ่านมาแล้วในขณะ นั้นบรรยากาศของโลกปราศจากก๊าซอิสระ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซไฮโดรเจน(H2) หรือก๊าซออกซิเจน(O2) แต่จะอยู่ในรูปของสารประกอบเช่น น้ำ(H2O) มีเทน(CH4) แอมโมเนีย(NH3) ฯลฯ ซึ่งเมื่อได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ เช่น รังสีอัลตร้าไวโอเลต รังสีคอสมิก พลังงานจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี ประกอบกับฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ทำให้สารประกอบที่มีอยู่เกิดปฏิกิริยาเคมีรวมกันเป็นสารอินทรีย์ละลายอยู่ในทะเล สารอินทรีย์หลายโมเลกุลจะรวมตัวเพิ่มความสลับซับซ้อนมากขึ้น จนเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตพวกใด
ใน ค.ศ. 1953 สแตนลีย์ มิลเลอร์ นักเคมีชาวอังกฤษได้ทำการพิสูจน์แนวคิดดังกล่าวโดยสร้างเครื่องมืออย่างหนึ่งเป็นภาชนะบรรจุสารเคมี 4 ชนิด คือ มีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน และน้ำ ให้หมุนเวียนผ่านน้ำเดือดและไอน้ำพร้อมกับผ่านกระแสไฟฟ้าแรงสูงเข้าไปในภาชนะสุญญากาศนั้น ทำการทดลองอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง จึงนำสารภายในภาชนะมาวิเคราะห์ ปรากฏว่าสามารถตรวจพบกรดอะมิโนและสารอินทรีย์อื่นๆที่มีอยู่ในกระบวนการเมตาบอลิซึมของสิ่งมีชีวิต

-7-




รูป สสวท.










แสดงแผนภาพเครื่องมือการทดลองของมิลเลอร์

ในเวลาต่อมามีการทดลองในทำนองเดียวกันนี้ โดยใช้แหล่งพลังงานต่างๆกันไป ปรากฏว่าได้ผลคล้ายคลึงกัน ทำให้คาดว่าครั้งหนึ่งนานมาแล้วในโลกเรานี้มีสารเคมีที่ซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้เองจากสารเคมีที่มีอยู่ในบรรยากาศขณะนั้น ซึ่งเหมือนกับที่นักวิทยาศาสตร์ได้ทำให้เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ แต่ในสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันสภาพบรรยากาศเต็มไปด้วยก๊าซอิสระมากมาย สารอินทรีย์สามารถทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนจนเกิดการสลายตัว และสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป การเกิดสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีก สิ่งมีชีวิตรุ่นต่อมาจึงกำเนิดจากสิ่งมีชีวิตที่กำเนิดมาก่อน หรือกล่าวว่า “ สิ่งมีชีวิตต้องเกิดจากสิ่งมีชีวิตด้วยกัน” ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าในสภาวะแวดล้อมปัจจุบัน สิ่งมีชีวิตไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง แต่จะเกิดจากการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเดิม โดยลูกหลานที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับพ่อแม่ แต่บางครั้งอาจพบว่ามีบางชีวิตที่แตกต่างจากพ่อแม่ ทั้งนี้เนื่องจากสิ่งมีชีวิตนั้นมีการปรับตัวเพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
การปรับตัวเป็นสาเหตุสำคัญต่อวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตใดปรับตัวได้ดีก็สามารถดำรงชีวิตและสืบพันธุ์ต่อไปได้




กิจกรรม
ตอนที่ 2
คำสั่ง จงตอบคำถามหรือเติมช่องว่างด้วยคำหรือข้อความสั้นๆ
1. คำถาม เมื่อประมาณ 600 ปี ก่อนคริสต์ศักราช นักวิทยาศาสตร์มีแนวความคิดเกี่ยวกับกำเนิดของสิ่งมีชีวิตเป็น……………แนวทาง คือ ?
คำตอบ เป็น……………แนวทาง
คือ ……………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………..
2. คำถาม นักวิทยาศาสตร์ที่ตั้งสมมติฐานว่า สิ่งมีชีวิตจะต้องมาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น คือ?
คำตอบ ……………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
3. คำถาม สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มในโลกเกิดขึ้นได้จาก?
คำตอบ ……………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
4. คำถาม นักวิทยาศาสตร์ที่เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการกำเนิดของสิ่งแรกเริ่มเอาไว้เป็นคนแรกคือ?
คำตอบ ……………………………………………………………………………
5. คำถาม ก๊าซ 4 ชนิดที่มิลเลอร์ใส่เข้าไปในภาชนะสุญญากาศเพื่อทดลองเรื่องการเกิดสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม คือ?
คำตอบ ……………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
6. คำถาม สารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ที่มิลเลอร์ตรวจพบในการทดลอง ได้แก่?
คำตอบ ……………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
7. คำถาม ลักษณะของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มของโลกคือ?
คำตอบ ……………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
8. คำถาม สาเหตุที่สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มเกิดขึ้นอีกไม่ได้ในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน เพราะ?
คำตอบ ……………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………


แนวคำตอบกิจกรรม ตอนที่2
1. คำตอบ เป็น 2 แนวทาง คือ 1. สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้เองจากสิ่งไม่มีชีวิต (Spontaneous generation theory) และ 2. สิ่งมีชีวิตเกิดจากอำนาจลึกลับ (Special creation theory)
2. หลุยส์ ปลาสเตอร์
3. สิ่งมีชีวิตมาจากภายนอกโลก โดยติดมาจากดาวตกหรืออุกกาบาต แล้วมาเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์อยู่บนโลก
4. อเล็กซานเดอร์ โอปาริน
5. มีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน และไอน้ำ
6. กรดอะมิโน
7. เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไม่สามารถสังเคราะห์อาหารเองได้
8. ในปัจจุบันสภาพบรรยากาศเต็มไปด้วยก๊าซอิสระมากมาย สารอินทรีย์สามารถทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนจนเกิดการสลายตัว และสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป การเกิดสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีก สิ่งมีชีวิตรุ่นต่อมาจึงกำเนิดจากสิ่งมีชีวิตที่กำเนิดมาก่อน หรือกล่าวว่า “ สิ่งมีชีวิตต้องเกิดจากสิ่งมีชีวิตด้วยกัน” ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าในสภาวะแวดล้อมปัจจุบัน สิ่งมีชีวิตไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง แต่จะเกิดจากการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเดิม โดยลูกหลานที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับพ่อแม่ แต่บางครั้งอาจพบว่ามีบางชีวิตที่แตกต่างจากพ่อแม่ ทั้งนี้เนื่องจากสิ่งมีชีวิตนั้นมีการปรับตัวเพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม










โดย : นาย ใจชาย ปัณนะพงษ์, โรงเรียนวังเหนือวิทยา, วันที่ 6 พฤศจิกายน 2544