ดวงอาทิตย์

การถ่ายภาพดวงอาทิตย์

       การถ่ายภาพดวงอาทิตย์นั้น ผู้ถ่ายต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะแสงอาทิตย์มีความแรงมาก ถ้าพลาดอาจทำให้ ตาเราบอดได้ ดังนั้นก่อนทำการถ่ายภาพ หรือ ใช้กล้องส่อง ต้องใช้อุปกรณ์กรองแสงอาทิตย์ที่ได้ มาตรฐาน อย่างเช่น แผ่นอลูมิเนียมไมล่าร์ หรือ กระจกบังตาเชื่อมโลหะเบอร์ 14 ขึ้นไป หมายความว่า กล้องแบบคอมแพค หรือ กล้องปัญญาอ่อนหมดสิทธิใช้             
  Filt_Solar.jpg (2636 bytes)
ฟิลเตอร์สำหรับดวงอาทิตย์ขนาดต่างๆ   เลือกให้พอดีกับขนาดของหน้าเลนซ์

          การถ่ายรูปจุดดับบนดวงอาทิตย์ ช่วงในปี ค.ศ.2000 เป็นความโชคดีของนักดูดาวสมัครเล่นที่ได้มีโอกาส ดูจุดดับบนดวงอาทิตย์ เพราะ 11 ปี จึงจะมีครั้งหนึ่ง   เรามาถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกกันดีกว่า รายละเอียดเกี่ยวกับจุดดับบนดวงอาทิตย์
                    การเลือกใช้เลนซ์ การถ่ายรูปจากดวงอาทิตย์ด้วยเลนซ์มาตรฐาน 50 มม. อาจจะได้ภาพดวงอาทิตย์บนแผ่นฟิล์ม เล็กเกินไป คือมีขนาดเพียง 50/110 หรือ 0.45 มม. เป็นเพียงจุดเล็กๆ หากนำมาขยายให้ได้ภาพขนาดจัมโบ้ 4 คูณ 6 นิ้ว (หรือ 4.28เท่า)   ก็จะได้ดวงอาทิตย์ ใหญ่ขึ้นมาเพียง 2-3 มม.เท่านั้นซึ่ง เล็กเกินไปไม่สามารถเห็นรายละเอียดได้ จึงควรเลือกเลนซ์ที่มีทางยาวโฟกัส มากๆ เช่น 2000 มม. ขึ้นไปซึ่งจะได้ขนาดบนแผ่นฟิล์ม 18 มม.หรือ 77 มม.บนกระดาษจัมโบ้    ซึ่งอาจหาได้จาก เลนซ์เทเลกำลังขยายสูงๆ หรือ ผ่านกล้องดูดาวก็ได้
                    การเปิดรูรับแสง หรือ ค่า F number   ด้วยเหตุที่ดวงอาทิตย์มีแสงที่แรงจ้ามาก แม้เราจะใส่แผ่น กรองแสงแล้วก็ตาม ดังนั้นเรื่องรูรับแสงหรือ ค่า F number เราจึงสามารถเลือกค่าสูงๆได้ คือตั้งแต่ F/8 ขึ้นไป 
                   เวลาในการเปิดหน้ากล้อง หรือความเร็วชัตเตอร์ ในสภาพแสงจ้าของดวงอาทิตย์การเลือกฟิล์ม จึงไม่จำเป็นต้องเลือกที่มีความไวแสงมากนัก ISO100 ก็สามารถใช้ถ่ายภาพได้แล้ว สำหรับความเร็วชัตเตอร์ อยู่ที่ค่า F number เช่น F/6 จะใช้ 1/125 , F/10 จะใช้ 1/100 ถ้า F number เพิ่มขึ้น ก็ใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลง
                  sunspot

ภาพจุดดับบนดวงอาทิตย์ บันทึกไว้เมื่อวันที่ 10 พ.ค.2543 ด้วย กล้องโทรทรรศน์ความยาวโฟกัส 1000 มม. F/10.2 ติดฟิลเตอร์กรองแสงเหลือ 1 ใน ล้านส่วน  ความเร็วชัตเตอร์ 1/500 วินาที ฟิล์ม ฟูจิ ISO200
   (ภายภาพโดย คุณวิภู รุโจปการ  หอดูดาวเกิดแก้ว)


                    การถ่ายรูปสุริยุปราคาหรือ สุริยะคราส  เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 หลายท่านคงได้สัมพัสกับ ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงกัน   บางท่านก็ได้ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก   การถ่ายรูปสุริยุปราคานั้น เราจะแบ่งขั้นตอนการถ่ายรูปเป็น สามขั้นตอนคือ
                   1. ช่วงที่เริ่มเข้าคราส หรือ กำลังจะออกจากคราส   เป็นช่วงที่แสงอาทิตย์ยังแรงกล้าอยู่ การถ่ายรูปยังคงต้องอาศัย ฟิลเตอร์กรองแสงอาทิตย์ การถ่ายรูปจึงคล้ายกับการถ่ายจุดดับบนดวงอาทิตย์

                    solar4.JPG (3219 bytes)
    เป็นช่วงเวลาที่เริ่มเข้าหรือออกจากคราส และเป็นคราสบางส่วน   การถ่ายรูป ยังคงต้องใช้ฟิลเตอร์กรองแสงอยู่
    โดยเลือกใช้ F number ที่ 5.6 ถึง 8  ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 ถึง 1/125 วินาที
   

                    2. ช่วงที่เข้าคราสไม่เต็มดวง บางครั้งก็อาจจะเกิดสุริยุปราคาไม่เต็มดวงได้เหมือนกัน   การถ่ายรูปในช่วงนี้ แสงอาทิตย์ยังคงแรงกล้าอยู่เหมือนเดิม   การถ่ายรูปจะเหมือนในข้อ 1.
                
                    3.ช่วงที่เข้าคราสเต็มดวง เป็นช่วงที่แสงอาทิตย์อ่อนมาก การถ่ายรูปในช่วงนี้ไม่ต้องอาศัยฟิลเตอร์ กรองแสง ดังนั้นกล้องแบบคอมแพคสามารถนำมาใช้ถ่ายภาพในช่วงนี้ได้ แต่ขนาดของดวงอาทิตย์จะเล็กเกินไป

                                  solar1.JPG (4215 bytes)
            ภาพนี้ถ่ายจากเลนซ์เทเลโฟโต้ 500 มม. F/8 ฟิล์มโกดัก 100 ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 วินาที จะเห็นโคโรน่ารอบดวงอาทิตย์
                                
                                  solar3.JPG (5048 bytes)
           ภาพนี้เหมือนภาพบน แต่เปลื่ยนความเร็วชัตเตอร์ใช้ช้าลง เป็น 1/2 วินาที จะปรากฏเห็นโคโรน่าชั้นนอก ยาวเกือบเท่าตัว ตามแนวเส้นอิคลิปติค


                                       solar6.JPG (4064 bytes)
           เมื่อเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ เป็น 1/125 วินาที จะทำให้โคโรน่าหายไป และปรากฏเห็น พวยก๊าซของ ดวงอาทิตย์( Prominence) ชัดเจน

                                        solarring.JPG (2569 bytes)
             ปรากฏการณ์แหวนเพชร และลูกปัดของเบลีย์ จะเกิดในช่วงเวลาสั้นๆก่อน และหลังคราสเต็มดวง เล็กน้อยเท่านั้น การถ่ายรูปต้องใช้ความรวดเร็ว พอสมควร โดยใช้ค่า F number ต่ำๆ แต่ใช้ความเร็ว ชัตเตอร์สูงมากๆ คือ F/4 ถึง F/5.6 ความเร็วชัตเตอร์ 1/1000 ถึง 1/125 วินาที เพื่อจับประกายของแสง และลดโคโรน่าลง


                             solar2.JPG (2186 bytes)       solar5.JPG (1970 bytes)
            ภาพซ้ายเป็นภาพที่ได้จากกล้องเลนซ์มาตรฐาน 50 มม. ซึ่งจะเห็นดวงอาทิตย์เล็กมาก หรือถ่ายจากกล้อง compact  ก็เช่นกัน
             ภาพขวา เพิ่มความยาวโฟกัสของเลนซ์เป็นเลนซ์เทเลโฟโต้ 500 มม. จะเห็นดวงอาทิตย์โตขึ้น   หากต้องการ ให้ใหญ่เต็มภาพ ก็ต้องใช้เลนซ์โฟกัสอย่างน้อย 2000 มม. ขึ้นไป

     
หมายเหตุ: ภาพถ่ายสุริยะคลาสมาจากวารสารทางช้างเผือก ไม่ได้ระบุชื่อผู้ถ่าย

                 bar



คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ

การถ่ายภาพดวงอาทิตย์

       การถ่ายภาพดวงอาทิตย์นั้น ผู้ถ่ายต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะแสงอาทิตย์มีความแรงมาก ถ้าพลาดอาจทำให้ ตาเราบอดได้ ดังนั้นก่อนทำการถ่ายภาพ หรือ ใช้กล้องส่อง ต้องใช้อุปกรณ์กรองแสงอาทิตย์ที่ได้ มาตรฐาน อย่างเช่น แผ่นอลูมิเนียมไมล่าร์ หรือ กระจกบังตาเชื่อมโลหะเบอร์ 14 ขึ้นไป หมายความว่า กล้องแบบคอมแพค หรือ กล้องปัญญาอ่อนหมดสิทธิใช้             
  Filt_Solar.jpg (2636 bytes)
ฟิลเตอร์สำหรับดวงอาทิตย์ขนาดต่างๆ   เลือกให้พอดีกับขนาดของหน้าเลนซ์

          การถ่ายรูปจุดดับบนดวงอาทิตย์ ช่วงในปี ค.ศ.2000 เป็นความโชคดีของนักดูดาวสมัครเล่นที่ได้มีโอกาส ดูจุดดับบนดวงอาทิตย์ เพราะ 11 ปี จึงจะมีครั้งหนึ่ง   เรามาถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกกันดีกว่า รายละเอียดเกี่ยวกับจุดดับบนดวงอาทิตย์
                    การเลือกใช้เลนซ์ การถ่ายรูปจากดวงอาทิตย์ด้วยเลนซ์มาตรฐาน 50 มม. อาจจะได้ภาพดวงอาทิตย์บนแผ่นฟิล์ม เล็กเกินไป คือมีขนาดเพียง 50/110 หรือ 0.45 มม. เป็นเพียงจุดเล็กๆ หากนำมาขยายให้ได้ภาพขนาดจัมโบ้ 4 คูณ 6 นิ้ว (หรือ 4.28เท่า)   ก็จะได้ดวงอาทิตย์ ใหญ่ขึ้นมาเพียง 2-3 มม.เท่านั้นซึ่ง เล็กเกินไปไม่สามารถเห็นรายละเอียดได้ จึงควรเลือกเลนซ์ที่มีทางยาวโฟกัส มากๆ เช่น 2000 มม. ขึ้นไปซึ่งจะได้ขนาดบนแผ่นฟิล์ม 18 มม.หรือ 77 มม.บนกระดาษจัมโบ้    ซึ่งอาจหาได้จาก เลนซ์เทเลกำลังขยายสูงๆ หรือ ผ่านกล้องดูดาวก็ได้
                    การเปิดรูรับแสง หรือ ค่า F number   ด้วยเหตุที่ดวงอาทิตย์มีแสงที่แรงจ้ามาก แม้เราจะใส่แผ่น กรองแสงแล้วก็ตาม ดังนั้นเรื่องรูรับแสงหรือ ค่า F number เราจึงสามารถเลือกค่าสูงๆได้ คือตั้งแต่ F/8 ขึ้นไป 
                   เวลาในการเปิดหน้ากล้อง หรือความเร็วชัตเตอร์ ในสภาพแสงจ้าของดวงอาทิตย์การเลือกฟิล์ม จึงไม่จำเป็นต้องเลือกที่มีความไวแสงมากนัก ISO100 ก็สามารถใช้ถ่ายภาพได้แล้ว สำหรับความเร็วชัตเตอร์ อยู่ที่ค่า F number เช่น F/6 จะใช้ 1/125 , F/10 จะใช้ 1/100 ถ้า F number เพิ่มขึ้น ก็ใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลง
                  sunspot

ภาพจุดดับบนดวงอาทิตย์ บันทึกไว้เมื่อวันที่ 10 พ.ค.2543 ด้วย กล้องโทรทรรศน์ความยาวโฟกัส 1000 มม. F/10.2 ติดฟิลเตอร์กรองแสงเหลือ 1 ใน ล้านส่วน  ความเร็วชัตเตอร์ 1/500 วินาที ฟิล์ม ฟูจิ ISO200
   (ภายภาพโดย คุณวิภู รุโจปการ  หอดูดาวเกิดแก้ว)


                    การถ่ายรูปสุริยุปราคาหรือ สุริยะคราส  เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 หลายท่านคงได้สัมพัสกับ ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงกัน   บางท่านก็ได้ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก   การถ่ายรูปสุริยุปราคานั้น เราจะแบ่งขั้นตอนการถ่ายรูปเป็น สามขั้นตอนคือ
                   1. ช่วงที่เริ่มเข้าคราส หรือ กำลังจะออกจากคราส   เป็นช่วงที่แสงอาทิตย์ยังแรงกล้าอยู่ การถ่ายรูปยังคงต้องอาศัย ฟิลเตอร์กรองแสงอาทิตย์ การถ่ายรูปจึงคล้ายกับการถ่ายจุดดับบนดวงอาทิตย์

                    solar4.JPG (3219 bytes)
    เป็นช่วงเวลาที่เริ่มเข้าหรือออกจากคราส และเป็นคราสบางส่วน   การถ่ายรูป ยังคงต้องใช้ฟิลเตอร์กรองแสงอยู่
    โดยเลือกใช้ F number ที่ 5.6 ถึง 8  ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 ถึง 1/125 วินาที
   

                    2. ช่วงที่เข้าคราสไม่เต็มดวง บางครั้งก็อาจจะเกิดสุริยุปราคาไม่เต็มดวงได้เหมือนกัน   การถ่ายรูปในช่วงนี้ แสงอาทิตย์ยังคงแรงกล้าอยู่เหมือนเดิม   การถ่ายรูปจะเหมือนในข้อ 1.
                
                    3.ช่วงที่เข้าคราสเต็มดวง เป็นช่วงที่แสงอาทิตย์อ่อนมาก การถ่ายรูปในช่วงนี้ไม่ต้องอาศัยฟิลเตอร์ กรองแสง ดังนั้นกล้องแบบคอมแพคสามารถนำมาใช้ถ่ายภาพในช่วงนี้ได้ แต่ขนาดของดวงอาทิตย์จะเล็กเกินไป

                                  solar1.JPG (4215 bytes)
            ภาพนี้ถ่ายจากเลนซ์เทเลโฟโต้ 500 มม. F/8 ฟิล์มโกดัก 100 ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 วินาที จะเห็นโคโรน่ารอบดวงอาทิตย์
                                
                                  solar3.JPG (5048 bytes)
           ภาพนี้เหมือนภาพบน แต่เปลื่ยนความเร็วชัตเตอร์ใช้ช้าลง เป็น 1/2 วินาที จะปรากฏเห็นโคโรน่าชั้นนอก ยาวเกือบเท่าตัว ตามแนวเส้นอิคลิปติค


                                       solar6.JPG (4064 bytes)
           เมื่อเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ เป็น 1/125 วินาที จะทำให้โคโรน่าหายไป และปรากฏเห็น พวยก๊าซของ ดวงอาทิตย์( Prominence) ชัดเจน

                                        solarring.JPG (2569 bytes)
             ปรากฏการณ์แหวนเพชร และลูกปัดของเบลีย์ จะเกิดในช่วงเวลาสั้นๆก่อน และหลังคราสเต็มดวง เล็กน้อยเท่านั้น การถ่ายรูปต้องใช้ความรวดเร็ว พอสมควร โดยใช้ค่า F number ต่ำๆ แต่ใช้ความเร็ว ชัตเตอร์สูงมากๆ คือ F/4 ถึง F/5.6 ความเร็วชัตเตอร์ 1/1000 ถึง 1/125 วินาที เพื่อจับประกายของแสง และลดโคโรน่าลง


                             solar2.JPG (2186 bytes)       solar5.JPG (1970 bytes)
            ภาพซ้ายเป็นภาพที่ได้จากกล้องเลนซ์มาตรฐาน 50 มม. ซึ่งจะเห็นดวงอาทิตย์เล็กมาก หรือถ่ายจากกล้อง compact  ก็เช่นกัน
             ภาพขวา เพิ่มความยาวโฟกัสของเลนซ์เป็นเลนซ์เทเลโฟโต้ 500 มม. จะเห็นดวงอาทิตย์โตขึ้น   หากต้องการ ให้ใหญ่เต็มภาพ ก็ต้องใช้เลนซ์โฟกัสอย่างน้อย 2000 มม. ขึ้นไป

     
หมายเหตุ: ภาพถ่ายสุริยะคลาสมาจากวารสารทางช้างเผือก ไม่ได้ระบุชื่อผู้ถ่าย

                 bar




แหล่งอ้างอิง : www.google.com

โดย : เด็กชาย กฤษดา สุขเจริญ, โรงเรียนพนัพิทยาคาร, วันที่ 20 กันยายน 2546