ผีเสื้อ(ตอนที่ 3)

ผีเสื้อในป่าบาลา-ฮาลา

บทนำ

 ผีเสื้อ  แมลงที่มีลักษณะเด่นตรงที่ปีกสวยงาม   เป็นสัตว์ในไฟลัมอาร์โทร์โปดา (Phylum Arthopoda) เช่นเดียวกับ แมลงทั่วไป ๆ อยู่ในอันดับเลพิดอปเทอรา (Order Lepidoptera) ของชั้นอินเซกตา (Class Insecta) ในอดีตการอนุรักษ์ ผีเสื้อในประเทศไทย ยังไม่เคย มีรูปแบบที่ชัดเจน เนื่องจากพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 มิได้กำหนดให้ แมลง และแมง เป็นสัตว์ป่า ทำให้มีการดักจับผีเสื้อ เพื่อนำไปขายเป็น ของที่ระลึกอย่างไม่มีขอบเขต จนทำให้ผีเสื้อบางชนิดได้สูญพันธุ์ จากประเทศไทย ไปแล้ว ตัวอย่างเช่น  ผีเสื้อสมิงเชียงดาว  (Bhutanitis  lidderdalei)  และอีกหลายชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น ผีเสื้อไกเซอร์   (Teinopalpus  imperialis) เป็นต้น  แม้ว่าคนทั่วไปจะเข้าใจว่า ผีเสื้อเป็นแมลงที่ไม่มี ความสำคัญกับระบบนิเวศน์ ของสิ่งมีชีวิตมากนัก  คงมีแต่ความสวยงาม เพียงอย่างเดียว  แต่แท้ที่จริงแล้ว ผีเสื้อมีหน้าที่สำคัญในการผสมเกษรให้แก่พืชต่างๆ  ทำให้พรรณพืชสามารถดำรงพันธุ์และกระจายพันธุ์ ให้คงอยู่ต่อไปได้ ประกอบกับสภาพป่าธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัยของผีเสื้อได้ถูก ทำลายลง จึงทำให้ชนิดและปริมาณ ของผิเสื้อ ลดลงอย่างรวดเร็ว  ผีเสื้อบางชนิดอาจจะสูญพันธุ์ ไปก่อนที่จะถูกค้นพบ  ดังนั้น  ในพระราชบ ัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535  จึงกำหนดไว้ว่า “สัตว์ป่าทุกชนิดไม่ว่า สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลง และแมง  ซึ่งโดยสภาพธรรมชาติย่อมเกิด และดำรง ชีวิตอยู่ ในป่าหรือในน้ำ และให้หมายความ รวมถึง ไข่ของ สัตว์ป่า เหล่านั้นทุกชนิดด้วย…”  ทำให้ผีเสื้อ ได้รับ การคุ้มครองตามพระราชบัญญัติฉบับนี้  โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า สวนป่าพระนามาภิไธย ภาคใต้ พื้นที่ส่วนที่ 2 จังหวัดยะลา และนราธิวาส  เล็งเห็นว่าผีเสื้อ ซึ่งเป็น สัตว์ป่าชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมาย  และเป็นการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ อย่างหนึ่ง  แต่ในทาง ปฏิบัติแล้ว  การอนุรักษ์ผีเสื้อ ให้คงอยู่กับป่าบาลา-ฮาลา นั้น   จำเป็นจะต้องศึกษา เกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้  เพื่อนำความรู้ ที่ได้มาเป็นข้อมูล พื้นฐาน ของระบบฐานข้อมูลโครงการอันจะนำไป สู่การวางแผน เพื่อมาตรการและแนวทางการอนุรักษ์  ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่นักเรียน เยาวชน และประชาชน เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ความร่วมมือ อนุรักษ์ผีเสื้อ ให้คงความงามคู่กับป่าบาลา-ฮาลา แห่งนี้ตลอดไป

วัตถุประสงค์

 1. เพื่อศึกษาความหลากชนิดและจำนวนที่พบ ของผีเสื้อในป่าบาลา-ฮาลา
 2.  เพื่อศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับ การดำรงชีวิตผีเสื้อในแปลงตัวอย่าง
 2. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ความรู้เกี่ยวกับผีเสื้อในป่าบาลา-ฮาลา
 3. เพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดระบบฐาน ข้อมูล  ของโครงการฯ ต่อไป

สถานที่ดำเนินการ

 พื้นที่ป่าธรรมชาติ บริเวณเรือนเพาะชำ โครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 7  ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต  จังหวัดยะลา  ซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการ อนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า สวนป่าพระนามาภิไธย ภาคใต้  พื้นที่ส่วนที่ 2 จังหวัดยะลา และนราธิวาส  อยู่ในเขตป่าฮาลา


อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ

 1. อุปกรณ์  สวิงจับผีเสื้อ  ขวดฆ่าแมลง   ชุดเครื่องมือ จัดลักษณะผีเสื้อ กล้องถ่ายภาพ       เทปวัดระยะทาง   กล้องส่อง ทางไกล
 2. วิธีการดำเนินการ

  2.1 คัดเลือกพื้นที่เพื่อวางแปลง ตัวอย่าง โดยใช้ลำธารเป็นแนวเส้นแปลงตัวอย่าง (LINE)  จำนวน 4 แนว  ซึ่งแต่แนวมีระยะทาง 2,000 เมตร และดำเนินการเก็บ ข้อมูลทุกเดือนรวม 6 เดือน
  2.2  สวิงจับผีเสื้อในแปลงตัวอย่าง  โดยบันทึกชนิด  เวลา และระยะทาง ในแปลงตัวอย่าง ที่จับผีเสื้อได้
  2.3  ถ่ายภาพผีเสื้อที่จับได้ และ เก็บตัวอย่าง ผีเสื้อ แต่ละชนิดไว้


ประเภทของผีเสื้อ

  ผีเสื้อ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ  ผีเสื้อกลางวัน และผีเสื้อกลางคืน    ในทางอนุกรมวิธาน ได้จัดผีเสื้อกลางวัน และผีเสื้อกลางคืนอยู่ในอันดับย่อย (Suborder) ต่างกัน คือ อันดับย่อยผีเสื้อกลางวัน (Butterfly) และอันดับย่อยผีเสื้อ กลางคืน (Moth)  ผีเสื้อในโลกนี้ มีมากนับเป็นแสนชนิด  แต่ส่วนใหญ่ เป็นผีเสื้อกลางคืน หรือมอท ผีเสื้อกลางวัน จะมีประมาณ 10 % ของผีเสื้อทั้งหมด  แต่เนื่องจากผีเสื้อ กลางวันมีสีสรรสวยงามสะดุดตา และโอกาสที่ พบเห็นได้ง่าย ผีเสื้อกลางวันจึงเป็นที่รู้จัก มากกว่า


วงจรชีวิต

 ผีเสื้อมีการเจริญเติบโตแบบ โฮโลเมตาโบลัส (Holometabolous)  คือ การเจริญเติบโตที่มีการ เปลี่ยนแปลง รูปร่างแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis)  แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

ไข่  --> หนอน --> ดักแด้  --> ตัวเต็มวัย


แหล่งอ้างอิง : www.google.com

โดย : เด็กหญิง ด.ญ.รุจิรา เชาว์สุโข, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 20 กันยายน 2546