โรคหัวใจ

        โรคหัวใจ
                 หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ  มีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย   โดยมีอัตราการเต้นของหัวใจ    70-80   ครั้งต่อนาที     ถ้าหัวใจผิดปกติ    หรือมีโรคเกิดขึ้นจะทำให้การทำงานของหัวใจหยุดชะงัก   หรือไม่สามารถทำงานตามปกติ   โรคหัวใจเป็นโรคที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้
                   โรคหัวใจบางอย่างสามารถป้องกันได้   เช่น    โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด  เป็นต้น   หรือเมื่อเป็นโรคแล้วสามารถรักษาให้หายขาดและป้องกันดูแลให้ปลอดภัยจากโรคหัวใจได้   เช่น   โรคหัวใจรูห์มาติค   เป็นต้น
                   อาการของโรคหัวใจ    อาจมีเพียงอาการอ่อนเพลีย   เหนื่อยง่าย   จนกระทั่งเหนื่อยหอบเจ็บหน้าอก    หมดสติ    ดังนั้นการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องนอกจากจะป้องกันการเป็นโรคหัวใจบางชนิดแล้วยังทำให้สามารถป้องกันดูแลตนเองและครอบครัว      จากอันตรายที่เกิดขึ้นจากโรคหัวใจได้
                    ชนิดของโรคหัวใจ      โรคหัวใจที่เราพบบ่อยได้แก่
                     ๑.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
                     ๒.โรคหัวใจรูห์มาติค     หรือโรคหัวใจที่เกิดจากเชื้อโรค
                     ๓.โรหัวใจที่เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน


แหล่งอ้างอิง : ธงชัย ทวิชาชาติ และวิรัช วรรณรัตน์. 2533. หนังสือวิชาพาลานามัย พ 013. วัฒนาพานิช : กรุงเทพฯ. 87 หน้า.

โดย : เด็กหญิง ฑิฆัมพร เกื้อกูล, โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา, วันที่ 15 กันยายน 2546