อุกกาบาต (Meteor)

อุกกาบาต (Meteor)

อุกกาบาต nakhlite

การศึกษาอุกกาบาตช่วยให้
มนุษย์ได้สืบค้นถึงประวัติความเป็นมาของโลก
ดาวเคราะห์ดวงพิเศษสุดที่เราถือกำเนิด
และอาศัยกันอยู่ทุกวันนี้ได้ดีขึ้น

ในบางคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส เราอาจเห็นแสงวูบวาบตกลงมาจากฟากฟ้า เรียกกันว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งไต้ แต่ความจริงดาวตกเป็นวัตถุแข็งจำพวกหินหรือเหล็ก ตกเข้าสู่เขต บรรยากาศโลกด้วยความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง แรงเสียดสีกับบรรยากาศทำให้ร้อนจัด หลอมตัวเป็นลูกไฟสว่าง มีควันเป็นทางยาว หากวัตถุชิ้นเล็กจะลุกไหม้สว่างกลายเป็นไอสลายไป หมด แต่บางก้อนที่มีขนาดใหญ่จะมีเสียงดังคล้ายเสียงยิงปืนหรือเสียงฟ้าผ่าเมื่อวิ่งผ่านอากาศ
ตกลงมา และหากสลายตัวไม่หมด มักเหลือซากตกลงถึงพื้นโลก เรียกว่า ลูกอุกกาบาต มีขนาด เล็กใหญ่แตกต่างกัน ตั้งแต่น้ำหนักเพียงไม่กี่กรัมจนถึงก้อนหนึ่งหนักหลาย ๆ ตัน

อุกกาบาตแบ่งตามลักษณะเนื้อในเป็น 3 แบบ คือ อุกกาบาต ชนิด หิน เหล็ก และ เหล็กปนหิน ส่วนใหญ่ ที่พบเป็นอุกกาบาต ชนิดหิน ก้อนใหญ่ที่สุดในโลก ชื่อ จีหลิง (Jiling) ตกที่อำเภอจีหลิง ประเทศจีน เมื่อ 8 มีนาคม 2519 หนักเกือบ 2,000 กิโลกรัม ส่วนอุกกาบาตชนิดเหล็ก ก้อนใหญ่สุดที่ค้นพบคือ โฮบา เวสท์ (Hoba West) ปริมาตรราว 9 ลูกบาศก์เมตร หนักประมาณ 66 ตัน
ตกกลางป่า ในอัฟริกาตะวันออกเฉียงใต้

อุกกาบาตเหล็กอานิกฮิโต หนัก 34 ตัน
ตกที่เกาะกรีนแลนด์ เมื่อปี 2440 ตั้งแสดงที่
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา นิวยอร์ก
อุกกาบาตชนิดหินส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนหินบนโลก และมักสลายตัวเพราะลมฟ้าอากาศ ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่จะบอกได้ว่าเป็นลูกอุกกาบาต การวิเคราะห์ทำได้โดยตัดผิวอุกกาบาตให้เรียบ ขัดมันแล้วใช้กรดอย่างอ่อนกัด พบโครงสร้างรูปผลึกปรากฏเห็นชัดบนผิวเรียบนั้น ซึ่งเป็นลักษณะ เฉพาะตัวของอุกกาบาต

อุกกาบาตขนาดใหญ่ที่พุ่งชนโลกอย่างแรง ทำให้เกิดหลุมลึกบนพื้นโลกเรียกว่า เครเตอร์ หลุมอุกกาบาตใหญ่ที่สุดบนโลก คือ หลุมแบริงเยอร์ ในรัฐอะริโซนา สหรัฐอเมริกา คาดว่า เกิดจากอุกกาบาตชนิดเหล็กหนักถึง 1 ล้านตัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 เมตร ตกกระแทก พื้นโลกเป็นหลุมมหึมา ปากหลุมกว้าง 1,200 เมตร ลึก 170 เมตร ความลึกเท่ากับตึกสูง 40 ชั้นทีเดียว หลุมแบริงเยอร์อายุประมาณ 22,000 ปี


ฝนดาวตกลีโอนิดส์


อุกกาบาต nakhlite


โครงสร้างภายในของอุกกาบาต
จากดาวอังคาร

อุกกาบาตตกในประเทศไทย
ลูกอุกกาบาตนครปฐม ตกที่ตำบลดอนยายหอม เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2466 แตกเป็น 2ก้อนใหญ่ น้ำหนักรวม 32 กิโลกรัม เป็นอุกกาบาตชนิดเนื้อหิน ตั้งแสดงอยู่ที่ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ

ลูกอุกกาบาตเชียงคาน ตกที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2524 เป็นอุกกาบาตชนิดเนื้อหิน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัตถุจากกระแสธารอุกกาบาต ที่เป็นซากเหลือ
จาก ดาวหางเทมเพล (Tempel ) ที่โลกโคจรตัดผ่านธารอุกกาบาตในช่วงนั้น เป็นประจำทุกปี จึงทำให้เกิดเป็น ฝนดาวตก หรือ ฝนอุกกาบาต ให้เห็นในระยะนั้น มีสมมุติฐานอธิบายกำเนิดของอุกกาบาต ว่าน่าจะมาจากแถบของดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ระหว่าง วงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี หรืออาจ มาจากดาวหางที่โคจรอยู่ในระบบสุริยะ นอกจากนั้นยังพบอุกกาบาตบางก้อนมีองค์ประกอบ เช่นเดียวกับหินจากดวงจันทร์และหินจาก ดาวอังคารด้วย

อุกกาบาตเป็นวัตถุฟากฟ้าที่สำคัญยิ่งในทางดาราศาสตร์
เพราะนอกจากโลกของเราแล้ว อุกกาบาตเป็นสมาชิกในระบบ สุริยะที่ตกผ่านเข้ามาบนโลกให้มนุษย์ได้มีโอกาสจับต้อง และศึกษาค้นคว้าได้โดยตรง


การตรวจสอบพบว่าลูกอุกกาบาตส่วนใหญ่ประกอบด้วยเหล็ก นิเกิล และแร่ธาตุที่ตรวจพบได้
บนโลก จึงสรุปได้ว่าสมาชิก ของระบบสุริยะทั้งปวงประกอบขึ้นจากวัตถุชนิดเดียวกัน
และเมื่อสืบค้นถึงอายุของลูกอุกกาบาต โดยการตรวจสารกัมมันตรังสี พบว่าลูกอุกกาบาต มีอายุเก่าแก่พอ ๆ กับอายุของโลก

การศึกษาลูกอุกกาบาตจึงจะช่วยให้มนุษย์ได้สืบค้นถึงประวัติความเป็นมาของโลก ดาวเคราะห์ ดวงพิเศษสุดที่เราถือกำเนิดและอาศัยกันอยู่ทุกวันนี้ได้ดีขึ้น

ค้นข้อมูลเพิ่มเติม :
http://www.seds.org/nineplanets/nineplanets/nineplanets.html
http://solarviews.com/eng/homepage.htm
http://www.planetscapes.com/solar/eng/history.htm
http://nssdc.gsfc.nasa.gov/planetary/chronology.html




แหล่งอ้างอิง : http://www.sci-educ.nfe.go.th/astronomy/SolarSystem/meteor.html

โดย : เด็กชาย ณัฐกร อำพินธ์, ร.ร. พนัสพิทยาคาร, วันที่ 13 กันยายน 2546