ปรากฏการณ์ธรรมชาติของดวงดาว

 

www.cui.chala.ac.th

ปรากฏการณ์ธรรมชาติของดวงดาว

ฝนดาวตก (Meteor showr )

ฝนดาวตกก็คือดาวตกที่กล่าวไปแล้วนั้นเอง แต่มีปริมาณการตกมากกว่าหรือถี่กว่าในทิศทาง(Radiant)และช่วงเวลาที่แน่นอนเมื่อมีจำนวนมากๆจะมีลักษณะคล้ายกับฝนตกนั่นเองจึงเรียกว่า ฝนดาวตกดาวตกเกิดขึ้นจากการที่วงโคจรของโลกได้เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในแนวเส้นทางที่ดาวหางเคยผ่านมาก่อนซึ่งจะทิ้งเศษซากก้อนหินและฝุ่นผงไว้มากมายในอวกาศแล้วโลกก็ดูดฝุ่นผงเหล่านั้นตกลงมาในชั้นบรรยากาศของโลกอีกซึ่งจะทำให้เกิดดาวตกมากเป็นพิเศษ

ในอดีตเมื่อ 65 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีอุกกาบาตหรือดาวหาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ไมล์ชนโลก ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธ์ ซึ่งการชนครั้งนั้นอันตรายไม่ได้เกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาตเพียงอย่างเดียวแต่เกิดจากฝุ่นที่ฟุ้งกระจ่ายปกคุ้มโลกนานนับเดือนทำให้แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องผ่านมาถึงพื้นโลกได้ อากาศเย็นจัดเกิดยุคน้ำแข็งพืชพันธุ์ไม่มีการปรุงอาหารล้มตายมทำให้ไดโนเสาร์ไม่มีอาหารและอดตายในที่สุด

ดาวตก (Meteor)

หรือคนไทยเรียกว่าผีพุ่งใต้นั้นเกิดจากก้อนหินหรือฝุ่นผงขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอวกาศ แล้วถูกแรงดึงดูดของโลกดูดเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลกด้วยความเร็วสูงทำให้เสียดสีกับชั้นบรรยากาศแล้วลุกไหม้เป็นแสงวาบชั่วขณะ ถ้าการลุกไหม้นั้นไม่หมดก็จเหลือเป็นก้อนหินร้อนๆตกลงบนพื้นโลกเราเรียกว่าอุกกาบาต(Meteorite)หากใหญ่มากๆก็สร้างความเสียหายได้เหมือนกัน ดาวตกนั้นเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยและไม่มีสถานที่หรือช่วงเวลาแน่นอน ทำให้คนโบราณเชื่อว่าคนที่ได้เห็นดาวตกหรือผีพุ่งใต้นั้น เป็นคนโชคดีให้อธิฐานขอพรสิ่งที่ดีก็จะได้สมดังหวัง



แหล่งอ้างอิง : www.cui.chala.ac.th

โดย : เด็กหญิง วิภาวรรณ ดาวพระเกตุ, พนัสพิทยาคาร, วันที่ 12 กันยายน 2546