ดาวเคราะห์น้อย

ดาวเคราะห์น้อย (Asteroids)
ดาวเคราะห์น้อยเป็นวัตถุจำพวกหินหรือโลหะ
ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่มีขนาดเล็ก
เกินกว่าจะเป็นดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่สุด คือ ซีเรส (Ceres) ค้นพบโดย เพียซซี (Giuseppi Piazzi ) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2344 มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 1,000 กิโลเมตร จนถึงขนาดเล็กเท่าเม็ดกรวด คำนวณว่าคงมี ดาวเคราะห์น้อยจำนวนทั้งหมดราว 45,000 ดวง ซึ่งนักดาราศาสตร์ค้นพบและ จัดทำบัญชีไว้ราวหนึ่งหมื่นดวงแล้ว ส่วนใหญ่โคจรอยู่บริเวณแถบหนึ่งที่อยู่ระหว่างดาวอังคาร กับดาวพฤหัสบดี แต่มีบางดวงที่โคจรเข้ามาใกล้โลก และเชื่อว่าอาจมีบางดวงที่เคยพุ่งชนโลก มาแล้วในอดีตกาล หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือ หลุมอุกกาบาตแบริงเยอร์ ในรัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา

นักดาราศาสตร์สนใจว่าดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะแท้จริงอย่างไร เพื่อสืบค้นถึงประวัติดั้งเดิม ของกำเนิดระบบสุริยะ การค้นพบดาวเคราะห์น้อยในช่วงแรก ๆ พบโดยการส่องกล้องโทรทรรศน์ จากโลก จนในปี พ.ศ.2434 เริ่มนำเทคนิคการถ่ายภาพท้องฟ้ามาใช้ ช่วยให้ตรวจค้นพบ ดาวเคราะห์น้อยเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

สันนิษฐานว่าดาวเคราะห์น้อยเป็นซากเหลือจากการก่อเกิด
ระบบสุริยะในอดีต หรือไม่ก็อาจเกิดจาก ดาวเคราะห์ ดวงหนึ่งถูกชนแตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เมื่อคำนวณมวลรวม ของดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด เข้าด้วยกันเป็นก้อนเดียว พบว่าวัตถุนั้นอาจมีขนาดเล็ก กว่าครึ่งหนึ่งของดวงจันทร์เท่านั้น

ความรู้เกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่ได้มาจากการศึกษาวัตถุนอกโลกที่ตกผ่านเข้าสู่เขตบรรยา กาศโลกด้วยความเร็วสูง แรงเสียดสีทำให้วัตถุลุกไหม้เป็นลูกไฟสว่าง หากวัตถุนั้นมีขนาดใหญ่ จนเผาไหม้ไม่หมด จึงเหลือซากตกลงบนผิวโลกเรียกว่า ลูกอุกกาบาต

อุกกาบาตที่พบบนโลก พบว่า 92.8 % เป็นชนิดหิน ส่วนอุกกาบาตชนิดโลหะผสมของเหล็กและนิเกิล
มีเพียง 5.7 % และที่เหลือเป็นอุกกาบาตชนิดหินผสมโลหะ อุกกาบาตชนิดหินสังเกตได้ยาก เนื่องจากมีลักษณะคล้ายหินบนโลก

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2534 ยานกาลิเลโอเดินทางมุ่งหน้าไปสำรวจดาวพฤหัสบดี ในระหว่างทาง ยานโคจร ผ่านเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อย แกสปรา (Gaspra) และถ่ายภาพระยะใกล้ได้เป็นครั้งแรก แกสปรามีรูปร่าง คล้ายมันฝรั่ง ขนาดประมาณ 19 x12 x11 กิโลเมตร เป็นดาวเคราะห์น้อย ชนิดหินผสมโลหะ แกสปราจึงเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถ่ายภาพโดยยานอวกาศ
และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2536 ยานกาลิเลโอเคลื่อน เข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อย
ไอดา (Ida) พบว่าเป็น ดาวเคราะห์น้อยชนิดหินผสมโลหะ มีรูปร่างคล้ายมันฝรั่ง ขนาดประมาณ 52 x 23 กิโลเมตร พื้นผิวมี หลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ และพบว่าไอดามีบริวารเล็ก ๆ 1 ดวง ชื่อ แดกทิล (Dactyl) ขนาดกว้างประมาณ 1.5 กิโลมตร จึงเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ค้นพบว่ามี ดวงจันทร์บริวาร

วัตถุที่เข้ามาใกล้โลกมาก ( NEO – Near Earth Objects ) นอกจากดาวเคราะห์น้อยที่โคจรเป็นแถบใหญ่อยู่ระหว่างวงโคจร
ของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดีแล้ว ยังมีดาวเคราะห์น้อย บางดวงที่โคจรเข้าใกล้โลก สันนิษฐานว่าคงเป็นดาวหางที่หมด สภาพแล้วหรืออาจเป็นซากเศษจากการชนกันของดาวเคราะห์ น้อย หรืออาจ ถูกแรงโน้มถ่วงสูงของดาวพฤหัสบดี ดีดกระเด็นวิ่งเข้ามาในเขต
ระบบสุริยะชั้นใน
ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุที่เข้ามาใกล้โลกจำนวนหลายร้อยดวง แล้ว คาดว่าวัตถุเหล่านี้ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า
1 กิโลเมตร ขึ้นไป คงมีจำนวนราว 1,000 ดวง

คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ


แหล่งอ้างอิง : http://www.sci-educ.nfe.go.th/astronomy/SolarSystem/asteroid.html

โดย : เด็กหญิง ธันย์ชนก สรรพาณิชย์, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 11 กันยายน 2546