เมทานอล

เมทานอล

เมทานอล หรือ เมทิล แอลกอฮอล์ (methyl alcohol, wood alcohol) เป็นสารที่ได้จากการกลั่นแยกเนื้อไม้ มีคุณสมบัติมากมาย เช่น ใช้เป็นตัวละลายสีน้ำยาขัดเงา ยาลอกสี ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดตะเกียง เป็นต้น เมทานอลสามารดูดซึมได้ทางผิวหนัง ลมหายใจ และดูดซึมได้เร็วในทางเดินอาหาร แล้วจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือด เนื่องจากเมทานอลมีลักษณะคล้ายคลึงกับเอทานอลมาก ทั้งกลิ่น และสี แต่ปรากฏว่าเมนาทอลมีพิษสูงกว่าเอทานอลมาก

การขจัดเมทานอลในร่างกายจะเกิดโดยการออกซิไดส์เมทานอลให้กลายเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldhyde) และสลายต่อเป็นกรดฟอร์มิก (formic acid) ซึ่งจะให้คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำในที่สุด ถ้าได้รับเพียงเล็กน้อยจะถูกขับได้ทางลมหายใจ เหงื่อและทางปัสสาวะ หรืออาจจะกระตุ้นให้เกิดการอาเจียนออกมา

พิษของเมทานอล

เกิดจากกรดฟอร์มิกที่เกิดขึ้นไปลด alkaline reserve ทำให้เกิดภาวะความเป็นกรด (metabolic acidosis) สูงขึ้น จนกระทั่งทำให้เป็นเนื้อเยื่อตับอ่อนกลายเป็นเนื้อตาย (necrosis) นอกจากนี้ ฟอร์มาลดีไฮด์ยังมีผลไปทำลายประสาทตาจนอาจเกิดอาการตาบอดชั่วคราวหรือถาวร ในกรณีที่ผู้มีอาการรุนแรงจะได้กลิ่นของฟอร์มาลดีฟฮด์ทางลมหายใจ และปัสสาวะของผู้ป่วย หัวใจเต้นช้า ชัก และเข้าขั้นโคม่า

ขนาดการเกิดพิษของเมทานอล คือ 10 มิลลิลิตร ละขนาดที่มีพิษถึงขั้นเสียชีวิต คือ มีระดับเมทานอลในเลือดสูงกว่า 90 มิลิกรัม/เดซิลิตร

วิธีการรักษา มี 2 ขั้นตอน คือ

ขั้นแรกจะทำการรักษาภาวะความเป็นกรด (acidosis) โดยให้โซเดียมไปคาร์บอเนต (sodium bicarbonate)

ขั้นที่สองป้องกันเมทานอลไม่ให้ถูกออกซิไดส์เป็นสารพิษ โดยการให้เอทานอลกับผู้ป่วยมาก ๆ เพื่อยังยั้งเอ็นไซม์แอลกอฮอล์ ดีไฮโดรจีนเนส (alcohol dehydrogenase)
เนื่องจากพิษของเมทานอลรุนแรงกว่าพิษของเอทานอลมาก ดังนั้นก่อนที่จะนำแอลกอฮอล์มาใช้เพื่อการใดก็ตาม ควรดูฉลากข้างขวดให้แน่ชัดเสียก่อนเพื่อความปลอดภัย



แหล่งอ้างอิง : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2544. เกราะป้องกันชีวิต1. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี. 94 หน้า.

โดย : เด็กหญิง อรวรรณ จันทร์แก้ว, โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา, วันที่ 10 กันยายน 2546