ดาวอังคาร

ดาวอังคาร ดาวเคราะห์ที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจมากที่สุด มีการส่งยานอวกาศไปสำรวจมากที่สุด ซึ่งในปี พ.ศ.2546 นี้ ประวัติศาสตร์วงการดาราศาสตร์จะมีบันทึกหน้าสำคัญอีกหน้าหนึ่ง เกี่ยวกับดาวอังคารที่จะมาใกล้โลกมากที่สุด ในวันที่ 27 สิงหาคม 2546 ซึ่งจัดว่าเป็นครั้งที่ดีที่สุด เมื่อย้อนกลับไป 59,540 ปีนับจากปัจจุบัน

 

 

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 4 ซึ่งมีวงโคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์โดยเฉลี่ย 228 ล้านกิโลเมตร หรือ 1.524 au. เมื่อเทียบกับโลกที่มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์โดยเฉลี่ย 149 ล้านกิโลเมตร ผลต่างโดยเฉลี่ย 79 ล้านกิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบกินเวลา 687 วัน ตามเวลาบนโลก ซึ่งทุกๆ 2 ปี 2 เดือน โลกและดาวอังคารจะมาอยู่ในตำแหน่ง opposition ที่ทำให้ระยะทางระหว่างโลกและดาวอังคารใกล้กันมากๆ สำหรับในปี 2546 นี้ โลกพึ่งจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา และอีก 2 เดือนข้างหน้าในวันที่ 30 สิงหาคม ดาวอังคารก็จะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด และวันที่ 28 สิงหาคม ดาวอังคารก็มาอยู่ที่ตำแหน่ง Opposition อีก ทำให้ตำแหน่ง Opposition ในปีนี้เป็นตำแหน่งที่โลกและดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดใกล้ที่สุดอีกครั้งหนึ่ง

ในยุดของดาราศาสตร์สมัยใหม่ศตวรรษที่ 19 ถึงศตวรรษที่ 20 ที่มีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ขึ้นมา มีเพียงไม่กี่ครั้งที่ดาวอังคารและโลกอยู่ใกล้กันมากๆ เช่นใน ปี ค.ศ.1939 ที่ระยะ 56.648 ล้านกิโลเมตร ปี ค.ศ.1956 ที่ระยะ 56.47 ล้านกิโลเมตร หรือในปี ค.ศ. 1971(พ.ศ.2514) ที่ระยะ 56.0 ล้านกิโลเมตร ในปี ค.ศ.1988 (พ.ศ.2531) ที่ระยะ 59.2 ล้านกิโลเมตร และอีกครั้งในปีนี้ ค.ศ.2003 คือวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2546 โลกและดาวอังคารก็มาอยู่ใกล้กันอีกครั้งที่ระยะ 55.80 ล้านกิโลเมตร ซึ่งจะเห็นว่า ในทุกๆรอบ 15 ถึง 17 ปี ดาวอังคารจะใกล้โลกที่สุดซักครั้งหนึ่ง และหากผ่านวันนี้ไปอีก 2 ปี 2 เดือนข้างหน้าในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 ดาวอังคารก็จะมาอยู่ใกล้โลกอีกแต่ไม่ดีเท่าปีนี้ที่ระยะ 69.8 ล้านกิโลเมตร ซึ่งอย่างน้อยที่สุดที่จะทำให้ดาวอังคารอยู่ใกล้มากๆก็ต้องรออีก 15 ปี ในปีคศ.2018 (พ.ศ.2561) ที่ระยะ 57.30 ล้านกิโลเมตร หรือถ้าจะหาโอกาสที่ดาวอังคารจะมาอยู่ใกล้โลกแบบปีนี้ คงต้องรอกันไปอีก 284 ปี ในปี พ.ศ.2830

นับตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม ถึงปลายเดือนธันวาคม ปี พ.ศ 2546 เปรียบเทียบให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเชิงมุม หน่วยเป็น arcsecond กราฟสีน้ำตาล กับความสว่างหน่วยเป็นแมกนิจูด ด้วยกราฟสีฟ้า จะเห็นว่าในวันที่ 27 สิงหาคม 2546 จะเป็นวันที่ขนาดเชิงมุมและความสว่าง Peak ถึงจุดสุงสุด แล้วจะเริ่มลดขนาดและความสว่างลงเป็นกราฟที่สมมาตร ประมาณวันที่ 27-28 ก.ค. ขนาดเชิงมุมของดาวอังคารจะกว้างใกล้เคียงกับขนาดเชิงมุมที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อนคือประมาณ 20.9 arcsec แม้ปีนี้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิมอีกเพียง 4 arcsec ดูเล็กน้อยก็ตามแต่โอกาสที่จะมีขนาดกว้างแบบนี้หายากประกอบกับปีนี้ดาวอังคารหันขั้วใต้หาโลกเต็มๆทำให้เรามีโอกาสเห็น Ice Cap ได้ดีขึ้น ขณะที่เมื่อ 2 ปีก่อนดาวอังคารหันด้านข้างของแกนเอียงเข้าหาโลกทำให้ปีนั้นเราไม่ค่อยได้เห็น Ice cap มากเท่าไหร่นัก

บริวาร 2 ดวงของดาวอังคาร Phobos และ Deimos มีขนาดโดยเฉลี่ย 22 กิโลเมตรและ 12 กิโลเมตรตามลำดับ จะมีโอกาสเห็นได้ช่วงระหว่างที่ ดาวอังคารใกล้โลกในปีนี้ ด้วยความสว่าง 10.4 และ 11.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับความสว่างที่ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดตั้งแต่ 8 นิ้วขึ้นไปถึงจะสามารถมองเห็นได้
แต่ยังไม่ง่ายถึงขนาดนั้นเพราะมีอุปสรรคในการมองหาอยู่บ้าง เนื่องจากดาวบริวารทั้งสองดวงค่อนข้างอยู่ใกล้ดาวอังคารมาก Phobos อยู่ห่างจากขอบดาวอังคารสูงสุด 22 arcsec หรือประมาณเท่าตัวของดาวอังคาร ส่วน Deimos อยู่ห่างจากขอบดาวอังคาร 74 arcsec หรือราว 3 เท่าตัวของดาวอังคาร ซึ่งจะทำให้ความสว่างของดาวอังคารรบกวนการสังเกต ซึ่งมีวิธีหลีกเลี่ยงสองวิธีคือ
1.ทำให้ดาวอังคารอยู่นอกฟิล์ดกล้องแต่ก็ไม่เป็นการสะดวกนักหาก Phobos และ Deimos อยู่คนละฟากกับดาวอังคาร
2.สร้างวัตถุทึบแสงบังส่วนของดาวอังคารไว้ ดังรูปด้านซ้ายมือ เราจะใช้วัตถุทึบแสงกว้างพอสมควรบังแนวศูนย์กลางของเลนซ์ตาที่จะใช้ ระยะห่างเท่ากับระยะความยาวโฟกัสของเลนซ์ตานั้น เราก็จะได้แถบทึบแสงบังความสว่างของดาวอังคารบริเวณกลางฟิล์ดได้ ต้องรู้เวลาที่ Phobos และ Deimos อยู่ในตำแหน่ง elongation หรือปีกด้านตะวันตกและตะวันออกของดาวอังคารสูงสุด เพราะดาวบริวารทั้งสองมีการเปลี่ยนตำแหน่งเร็วมาก โดยที่ Phobos โคจรรอบดาวอังคาร 1 รอบกินเวลา 7 ชั่วโมง 40 นาที ขณะที่ Deimos จะใช้เวลา 1 วัน 6 ชั่วโมง 17 นาที



แหล่งอ้างอิง : www.darasart.com

โดย : เด็กชาย ประกิต แซ่ล้อ, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 9 กันยายน 2546